HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

คาร์บอน แก้ท้องเสีย มีฤทธิ์ในการดูดซับสารพิษ หรือสารเคมีไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย

อาหารไทยมีหลากหลายชนิด ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก แต่เวลารับประทานก็ต้องระวังดูแลเรื่องความสะอาดด้วย เพราะอากาศที่ร้อนอบอ้าวสามารถพบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษได้ และยังมีความเสี่ยงได้ตั้งแต่ร้านอาหารข้างทาง ไปจนถึงร้านมีชื่อขึ้นห้าง หรือโรงแรมดัง เมื่อมีอาการถ่ายท้อง ท้องเสีย โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้ผู้ที่เป็นค่อย ๆ จิบสารละลายเกลือแร่ (Oral Rehydration Salts, ORS) เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป และมักจะนึกถึงยาคาร์บอน แก้ท้องเสีย ที่มีส่วนประกอบของผงถ่าน (activated charcoal) คาร์บอน แก้ท้องเสีย 7-11 ราคา มีฤทธิ์ในการดูดซับสารพิษ หรือสารเคมีไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย หรืออาจนำไปบรรเทาอาการอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ แต่ไม่ได้มีผลฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และไม่สามารถใช้เป็นยาหยุดถ่าย

คาร์บอน แก้ท้องเสีย ไม่ใช่ยาหยุดถ่ายเป็นเพียงยาที่เข้าไปช่วยดูดซับสารเคมี สารพิษ และเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษออกมาผ่านอุจจาระ อาจช่วยลดอาการถ่ายท้องในรายที่ป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้

สรรพคุณของยาถ่านคาร์บอน แก้ท้องเสีย

1.ช่วยในการช่วยดูดซับสารพิษหรือยาบางชนิดจากการรับประทานสารพิษหรือยานั้น ๆ เกินขนาด

2.ช่วยรักษาอาการท้องเสียหรือถ่ายเหลวจากภาวะอาหารเป็นพิษ

3.ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหาร

วิธีรับประทานยาคาร์บอน แก้ท้องเสีย อย่างถูกวิธี

1.รับประทานยานี้ตอนท้องว่าง โดยรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

2.ควรอ่านฉลากให้ดีก่อนรับประทาน หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนรบประทานทุกครั้ง

3.รับประทานยาตามขนาด และความถี่ที่ระบุไว้บนฉลาก (เนื่องจากยาแต่ละชื่อการค้าอาจมีปริมาณตัวยาที่แตกต่าง) โดยทั่วไปอาจรับประทานยาคาร์บอนได้ครั้งละ 3-4 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง 

4.เมื่อลืมรับประทานยาถ่านกัมมันต์ ให้รับประทานยาในทันทีเมื่อนึกขึ้นได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

5.หากรับประทานยาแล้วอาเจียนออกมา ให้รับประทานยาทันทีที่อาการอาเจียนหยุดแล้ว แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

6.หลังรับประทานยาแล้ว ถ้าอาการท้องเสียยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรปรึกษาแพทย์

7.หากต้องการดื่มนมหรือรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ให้รับประทานห่างจากยาคาร์บอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ข้อควรระวังของยาคาร์บอน แก้ท้องเสีย

1.รับประทานแล้วอาจมีอุจจาระสีดำ เพราะยาคาร์บอนไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แต่เข้าไปจับสารพิษ และแบคทีเรียในลำไส้ แล้วขับออกมาพร้อมอุจจาระ

2.ห้ามใช้เป็นประจำ

3.รับประทานยาอื่น ๆ ห่างจากยาคาร์บอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

4.อาหารบางอย่าง เช่น นม ไอศกรีม สามารถลดประสิทธิภาพในการรักษาได้ จึงไม่รับประทานร่วมกัน

5.ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะไปทำปฏิกิริยากับยาได้

6.สตรีมีครรภ์ กำลังวางแผนจะมีบุตร หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบล่วงหน้าก่อนการใช้ยา เพราะยาหลายชนิดสามารถผ่านทางรกหรือน้ำนมและเข้าสู่ทารกจนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้

7.ห้ามใช้กับผู้ที่มีภาวะลำไส้อุดตัน มีแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ อยู่ในภาวะขาดน้ำ เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดบริเวณช่องท้อง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร

8.ห้ามใช้ยานี้ในการรักษากับผู้ป่วยที่กลืนสารพิษจำพวกไซยาไนด์ กรดแก่หรือกรดที่มีฤทธิ์ทำลายสูง ด่างแก่หรือด่างที่มีฤทธิ์ทำลายสูง สารหนู โลหะหนัก 

9.ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาถ่ายหรือยาแก้ท้องผูกที่มีน้ำตาลซอร์บิทอล (Sorbital) เป็นส่วนประกอบ

10.ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ

11.ไม่ควรรับประทานหลังอาหาร เพราะทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง จนทำให้เกิดการย่อยอาหารผิดปกติได้

ผลข้างเคียงคาร์บอน แก้ท้องเสีย

1.ฟันและปากมีสีคล้ำ

 2.ถ่ายอุจจาระมีสีดำ ท้องผูก ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ลำไส้อุดตัน

3.คลื่นไส้ อาเจียน

4.มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก เป็นลม ตัวเย็น

5.ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เป็นลม

6.เลือดออกง่าย

7.ปริมาณแคลเซียมในเลือดลดลง อาจจะเกิดอาการชัก

8.เกลือโพแทสเซียมในร่างกายลดต่ำลง รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก 

การเก็บรักษายาคาร์บอน แก้ท้องเสีย

1.ควรเก็บในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดให้สนิท และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

2.ควรเก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้อง เก็บยาให้พ้นแสงแดด ไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส (เช่น ในรถยนต์ บริเวณใกล้หน้าต่าง) และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น (เช่น ในห้องน้ำ)

3.ให้ทิ้งยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุแล้ว

เมื่อมีอาการท้องเสีย ตัวยาที่ใช้เป็นตัวแรก ๆ เลย ก็คือ ยาคาร์บอน (Activated Carbon) ซึ่ง คาร์บอน แก้ท้องเสีย เป็นยาที่อาจใช้ดูดซับสารพิษเพื่อบรรเทาอาการท้องเสียได้ และส่งผลต่อระดับยาอื่น ๆ ที่รับประทาน ดังนั้นการใช้ยาคาร์บอนร่วมกับการรับประทานยาอื่น ๆ คาร์บอน แก้ท้องเสีย 7-11 ราคา จะต้องปรับระยะเวลาของการรับประทานยาอย่างน้อยก่อนหรือหลังการรับประทายานั้น ๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง เพราะหากไม่เว้นระยะห่าง ยาถ่านคาร์บอน แก้ท้องเสีย อาจไปรบกวนการดูดซึมยาตัวอื่น ทำให้ยาตัวอื่นที่รับประทานเข้าไปออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ หรือไม่มีผลในการรักษาเลยก็เป็นได้ เพราะฤทธิ์ของถ่านสามารถรบกวนการดูดซึมของยารับประทานอื่น ๆ ได้ทุกชนิด เช่น กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ เช่น แอสไพริน (Aspirin) พาราเซตามอล (Paracetamol), กลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น เตตราไซคลีน (Tetracycline) ดอกซีไซคลีน (Doxycycline), กลุ่มยารักษาโรคหัวใจ เช่น ไดจอกซิน (Digoxin), กลุ่มยาขยายหลอดลม เช่น ทีโอฟิลลีน (Theophylline) เพราะฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์ healthdoo.today ก่อนใช้ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่า