ยาแก้อักเสบ บรรเทาอาการอักเสบและบวม
ในทุกวันนี้จะเห็นได้ว่า ทุกคนให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น สังเกตได้จากเมื่อการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเกิดขึ้น การไปตรวจและทำการรักษากับแพทย์เพื่อจะได้รับการแก้ไขที่ถูกวิธี ไม่ว่าจะไปคลินิก โรงพยาบาลคิวจะยาวและเสียเวลานานเป็นที่รู้กัน แต่ทุกคนก็เต็มใจที่จะรอ เมื่อได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยแล้วแพทย์จะสั่งยาให้ตามอาการและดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งจะใช้ข้อมูลหลายด้านพร้อมทั้งอาการที่แสดงออกมาประกอบการพิจารณา หากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บนั้นมีการติดเชื้อและอักเสบเกิดขึ้น แพทย์ก็จะสั่งยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ มีอะไรบ้าง ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดให้กลับมารับประทานต่อที่บ้าน จึงทำให้หลายคนเกิดความสับสนในการเรียกชื่อและการใช้ยาแก้อักเสบสลับกับยาปฏิชีวนะอยู่บ่อยครั้ง
คนทั่วไปมักเรียกชื่อผิดและเข้าใจว่ายาแก้อักเสบเป็นยาขายยา เป็นยาต้านจุลชีพ ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ ซึ่งยาแก้อักเสบเป็นยาบรรเทาอาการอักเสบและบวม สามารถหาซื้อได้ตามร้านยาทั่วไป ซึ่งหลายคนก็ซื้อยามารับประทานเองทั้งที่ไม่ทราบวิธีใช้อย่างถูกต้อง ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาดหรือใช้ยาอย่างผิดวัตถุประสงค์
โดยทั่วไปปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย มีสาเหตุได้มากมาย ทั้งที่มาจากการติดเชื้อ และไม่ใช่การติดเชื้อ การใช้ยาเพื่อรักษาการอักเสบ จึงต้องพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใด
ในกรณีการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เจ็บคอ, ท้องเสีย, ปัสสาวะแสบขัด, แผลอักเสบ ยาที่ได้รับจะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเรียกอีกชื่อว่า “ยาปฏิชีวนะ” (Antibiotics) ตัวอย่างเช่น เพนิซิลลิน, เตตราซัยคลิน, ซัลฟา, คลอแรมเฟนิคอล, กานามัยซิน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานตามแพทย์สั่งจนครบชุด เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดและป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อต่อยา
ส่วนการอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ ยาที่ใช้รักษาจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ เช่น กรณีกล้ามเนื้อ-เอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาที่ให้ผลต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) และมีฤทธิ์ระงับปวด โดยไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อใดๆ ยากลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็นกลุ่มสเตียรอยด์ (steroid) และไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยทั่วไปจะเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งเรารู้จักกันย่อๆว่า เอ็นเสด (NSAIDs: non-steroid anti-inflammatory drugs) ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Ibuprofen (ชื่อการค้า Brufen®, Gofen®), Diclofenac (ชื่อการค้า Voltaren®), Mefenamic acid (ชื่อการค้า Ponstan®) ที่ผู้หญิงมักคุ้นเคยกันดีเวลาปวดประจำเดือน หรือดั้งเดิมที่สุด คือ ทัมใจแอสไพริน (aspirin) ยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ
จะเห็นได้ว่า “ยาแก้อักเสบ” บางครั้งอาจหมายถึงยาปฏิชีวนะ แต่ในบางครั้งก็ไม่ใช่ การที่ใช้คำว่า ยาแก้อักเสบ จึงอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ และเนื่องจากยาทั้ง 2 กลุ่มสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป อาจมีผู้ป่วยบางส่วนซื้อยาแก้อักเสบมาใช้เองอย่างผิดวัตถุประสงค์ สลับกันระหว่างยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบ ซึ่งนอกจากจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยานั้นๆอีกด้วย หรือในกรณีของข้อบ่งใช้และวิธีการใช้ ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และได้รับยาแก้อักเสบ ซึ่งในกรณีนี้เป็นยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปจะให้รับประทานจนอาการหายดีแล้วหยุดยาได้ การรับประทานยานี้ต่อเนื่องกันนานๆ นอกจากจะระคายเคืองทางเดินอาหารแล้ว อาจทำให้ความดันโลหิตสูง บวมน้ำ หรือเกิดภาวะไตวายได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีความเข้าใจผิดว่า ยาแก้อักเสบ ทุกตัวต้องรับประทานต่อเนื่องจนยาหมด จึงรับประทานยาลดการอักเสบกล้ามเนื้อต่อเนื่องจนยาหมด แม้ว่าอาการอักเสบปวดกล้ามเนื้อจะหายไปก่อนที่ยาจะหมดแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นการได้รับยาเกินความจำเป็น
ยาแก้อักเสบ หรือยาต้านการอักเสบ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง ส่วนใหญ่g ตัวอย่างยาแก้อักเสบ
ยาแก้อักเสบ เป็นยาในกลุ่มช่วยลดการอักเสบ ซึ่งมักช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมจากการอักเสบได้ด้วย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นการอักเสบไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น คออักเสบจากเชื้อไวรัส ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก โดยยาแก้อักเสบที่ใช้กันบ่อยจะเป็นแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือที่เรียกกันว่าเอ็นเสด มีทั้งชนิดที่หาซื้อได้เองหรือต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์ เช่น แอสไพริน ไดโคลฟิแนค ไอบรูโพรเฟน พอนสแตน อาร์คอกเซีย จาโปรลอค โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาค่อนข้างเร็วและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแก้อักเสบชนิดมีสเตียรอยด์ จึงถูกนำมาใช้รักษาการอักเสบอย่างแพร่หลาย
นิยมใช้ ยาแก้อักเสบ มาบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นจากภาวะต่าง ๆ เช่น ลดไข้ ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน บรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อหรือเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือน และปวดหลังการผ่าตัด เป็นต้น อีกกรณีหนึ่ง คือ ใช้ ยาแก้อักเสบ เพื่อลดการอักเสบโดยตรง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์กว่าจะเห็นผล ซึ่งยาแต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้และมีสรรพคุณรักษาโรคแตกต่างกันออกไป ก่อนใช้ยาควรอ่านฉลากยาและปฏิบัติตามคำแนะนำเสมอ หากพบข้อสงสัยใด ๆ ควรสอบถามแพทย์และเภสัชกร
Table of Contents
คำแนะนำในการใช้ยาแก้อักเสบ
1.แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว การแพ้ยาโดยเฉพาะถ้าแพ้แอสไพริน รวมถึงการรับประทาน วิตามิน สมุนไพร หรืออาหารเสริมใด ๆ อยู่ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา
2.สตรีและเด็กควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ผู้ที่วางแผนจะมีบุตร สตรีมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยานี้ เพราะยาแก้อักเสบบางชนิดอาจมีผลกระทบต่อทารก ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน เพราะอาจส่งผลเสียต่อตับหรือสมอง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
3.รับประทานยาให้ตรงตามจุดประสงค์ ก่อนรับประทานยาควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ยาเป็นหลัก เพราะยาแต่ละชนิดอาจมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ช่วยแนะนำยาอย่างเหมาะสม
4.อ่านฉลากยาทุกครั้ง ยาบางชนิดอาจมีส่วนผสมของตัวยาหลายประเภท ซึ่งยาแก้อักเสบบางชนิดอาจพบอยู่ในยาแก้หวัด เป็นต้น
5.รับประทานยาตามปริมาณและระยะเวลาอันเหมาะสม จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น หากบางรายอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานก็ควรเปรียบเทียบผลดีผลเสียก่อนใช้ยา และใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์เสมอ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้สูงจากการใช้ยาติดต่อกันนานเกินไปหรือการใช้ยาในปริมาณมากเกินไป
6.เก็บรักษายาอย่างเหมาะสม การเก็บยาในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงก่อนวันหมดอายุ เช่น ตู้ยาในห้องน้ำเพราะมีความชื้นสูงและค่อนข้างอบอ้าว ทางที่ดีควรเก็บยาในสถานที่ที่แห้งและเย็น
7.ติดตามผลการรักษา หลังการรับประทานยาแก้อักเสบ ควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นตามมา แต่หากพบความผิดปกติใด ๆ ควรไปแพทย์
ผลข้างเคียงจากยาแก้อักเสบ
ผลข้างเคียงของยาแก้อักเสบที่พบได้บ่อย จะเป็น
1.การระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้
2.ครั่นเนื้อครั่นตัวเหมือนไม่สบาย
3.ปวดท้อง ท้องเสีย
4.มีเลือดออกหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เกิดแผลตรงส่วนใดส่วนหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร
5.ค่าเอนไซม์ตับสูงขึ้น
6.วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว
7.อาการบวมน้ำ บวมตามใบหน้าและลำคอ
8.หายใจลำบาก
9.มีอุจจาระสีดำ
10.อาเจียนออกมาเป็นเลือด เป็นสีดำ หรือสีคล้ายกาแฟ
11.แน่นหน้าอก
12.กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด
13.ดวงตาและผิวหนังดูเหลืองผิดปกติ
14.ผื่นหรือแผลตามผิวหนัง
อย่างไรก็ตาม ยาแก้อักเสบ มีอะไรบ้าง ยังมีคนจำนวนมากเข้าใจผิดว่า ยาแก้อักเสบ คือยาปฏิชีวนะเนื่องจากมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยาปฏิชีวนะจะช่วยกำจัดเชื้อโรค ทำให้อาการบวมแดงจากการติดเชื้อดีขึ้นได้ ส่วนยาแก้อักเสบจะออกฤทธิ์ยับยั้งสารที่ถูกสร้างขึ้นในบริเวณที่บาดเจ็บจนเกิดภาวะอักเสบ healthdoo จึงอาจช่วยระงับอาการปวดและอักเสบได้ ดังนั้นแนะนำว่าก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะทำให้ใช้ยาอย่างถูกวิธี ปลอดภัย และได้ผลตามต้องการที่สุด