HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

กระเทียม สรรพคุณ มากมาย ส่งผลดีต่อสุขภาพ

กระเทียม

สมุนไพรไทยสรรพคุณมากมายจริง ๆ อีกทั้งยังปลอดภัยเพราะเป็นธรรมชาติล้วน แต่ต้องรับประทานอย่างถูกวิธีสมุนไพรบางตัวเป็นที่นิยมมาใช้และมีอยู่ประจำครัวเรือนกันเลย อย่างเช่น กระเทียม (Garlic) กระเทียม เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวลักษณะเป็นทรงกระเปาะอยู่ใต้ดิน ซึ่งแต่ละหัวจะประกอบด้วย 6-10 กลีบมีลักษณะกลมแป้นเป็นกลีบ ๆ ที่ห่อหุ้มด้วยเปลือกสีขาว เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มักถูกจัดอยู่ในประเภทเครื่องเทศ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด กระเทียม ลดไขมัน และยังเป็นพืชที่ธาตุซีลีเนียมสูงกว่าพืชชนิดอื่น ๆ อีกมีสารอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกที่เป็นตัวสร้าง DNA และ RNA ของเซลล์ในร่างกาย นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร เพราะช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติ ประโยชน์ของ กระเทียม มีมากมาย โดยเฉพาะสรรพคุณทางยาที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ถือเป็นสมุนไพรคู่ครัวสารพัดประโยชน์จริง ๆ 

สรรพคุณของกระเทียม 

สารอัลลิซิน (Allicin) ใน กระเทียม เป็นสารที่ให้กลิ่นฉุน ออกฤทธิ์ให้สรรพคุณทางยาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานกระเทียมสด หรือรับประทานผ่านการปรุงอาหาร ก็ได้รับประโยชน์และส่งผลดีต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน

1.ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ขับเสมหะ ป้องกันหวัด รักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ รักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบและไซนัส แก้อาการหอบ หืด โรคหลอดลม ช่วยยับยั้งเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น สารต้านอนุมูลอิสระใน กระเทียม ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปรับสมดุลในร่างกาย ดังนั้นเมื่อเป็นหวัดก็สามารถฝานกระเทียมไปแช่น้ำร้อน แล้วกรองน้ำออกมาดื่ม เป็นชากระเทียมอุ่น ๆ ทำให้หวัดหายเร็วขึ้น

2.ลดระดับไขมันในเลือด การรับปรทาน กระเทียม เป็นประจำจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด ซึ่งมีผลช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตมีส่วนช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบที่เรียงตัวในหลอดเลือดและส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวและทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลง

3.ลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง กระเทียม อาจมีคุณสมบัติต้านโรคมะเร็ง เนื่องจากสารใน กระเทียม ออกฤทธิ์ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกช่วยต่อต้านเนื้องอก

4.แก้โรคผิวหนังอักเสบ หากผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้จนเป็นผื่นแดงหรือคันจากโรคสะเก็ดเงิน กลาก เกลื้อน ช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ ให้ทาน้ำมัน กระเทียม บริเวณผิวหนัง จะช่วยลดอาการอักเสบและรักษาอาการคันให้หายได้ ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง เสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย

5.แก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ยาวช้า มีสีเทา สารอัลลิซินและสารซัลเฟอร์ที่อยู่ในกระเทียม สามารถช่วยลดปัญหาผมขาดหลุดร่วงได้ เพียงฝานกระเทียมบาง ๆ ผสมน้ำมันออยล์ แล้วนำไปนวดบำรุงศีรษะ ทำให้หนังศีรษะแข็งแรงขึ้นด้วย

6.ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อาการเคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง พราะมีสารที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่นวดยา มีสารต้านอาการไขข้ออักเสบ โรคข้อรูมาติสซั่ม

7.กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี ป้องกันแมลงกัดต่อย เพราะกลิ่นของ กระเทียม จะทำให้ไม่มีแมลงมารบกวน ให้หั่นกระเทียมผสมกับขี้ผึ้ง ทาตามแขนขาเมื่อต้องเดินทางในป่า 

8.ถอนเสี้ยนหนาม ให้ฝานกระเทียมแผ่นบาง ๆ วางลงบนเสี้ยน แล้วใช้ผ้าพันแผลกดทับลงไป ไม่นานเสี้ยนก็จะหลุดออกเอง

9.รักษาสิว สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้จึงใช้ กระเทียม ในการรักษาสิว ด้วยการฝานกระเทียมสด แปะลงบริเวณที่มีสิว 

10.กำจัดกลิ่นเท้า ใครที่มีกลิ่นเท้าไม่พึงประสงค์ ให้นำ กระเทียม ไปบด แล้วแช่ในน้ำอุ่น หลังจากนั้นให้แช่เท้าเพื่อกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเชื้อราที่เท้า น้ำกัดเท้า หรือเท้าอับชื้น 

11.ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ

12.ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง

13.ช่วยในการขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด กำจัดพิษจากสารตะกั่ว ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ละลายลิ่มเลือด ป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก ป้องกันการเกิดและรักษาโรคโลหิตจาง

14.ช่วยในการขับเหงื่อ 

15.ควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร 

16.ป้องกันโรคท้องผูก รักษาโรคบิด ช่วยในการขับลม รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ

17.การขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น

18.รักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้

โทษของกระเทียม 

กระเทียม มีประโยชน์ กระเทียม ลดไขมัน และสรรพคุณมากก็จริง หากรับประทานกมากเกินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ทำให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัวช้าเพราะสารในกระเทียมจะยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เมื่อบาดแผลเลือดจะไหลไม่หยุด

บุคคลที่ไม่ควรรับประทานกระเทียม

1.สตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร ควรงดกิน กระเทียม ในรูปแบบยาเสริมอาหาร เนื่องจากอาจทำให้รสชาติน้ำนมเปลี่ยนไป 

2.ผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งต้องกินยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด และยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ ไม่ควรกิน กระเทียม ในปริมาณที่มากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง 

3.ผู้ที่แพ้กระเทียมบางราย อาจมีอาการปวดท้อง อาเจียน และวิงเวียนศีรษะควบคู่กัน 

4.เด็ก การรับประทานกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสมและในระยะสั้น ๆ การทาบริเวณผิวหนังอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคือง

5.ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือการย่อยอาหาร อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารได้

6.ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ การรับประทานกระเทียมอาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลงมากกว่าปกติ

7.ผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทาน กระเทียม ก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพราะอาจทำให้เลือดออกมากและส่งผลต่อความดันโลหิตในระหว่างการผ่าตัด 

8.ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติไม่ควรรับประทานกระเทียม โดยเฉพาะกระเทียมสด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น

9.ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรับประทานยารักษาโรค เช่น ไอโซไนอะซิด เพราะกระเทียมอาจลดการดูดซึมของยาในร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของยา

การรับประทาน กระเทียม ค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และยิ่งสดเท่าไหร่ก็ยิ่งมีสรรพคุณที่ดีมากขึ้นเท่านั้น แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปากเหม็น มีกลิ่นตัว รู้สึกแสบร้อนที่บริเวณปากหรือที่กระเพาะอาหาร กระเทียม ลดไขมัน  แสบร้อนกลางอก ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย และสำหรับผู้ที่อยู่ในครัวหรือผู้ต้องใช้มือสัมผัสกับ กระเทียม เป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ มีตุ่มน้ำได้ ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส กระเทียม โดยตรงควรสวมถึงมือทุกครั้งที่จะใช้กระเทียม กระเทียมแม้ว่าจะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษเช่นกัน healthdoo เพราะฉะนั้นควรใช้อย่างระมัดระวัง