HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคเบาหวาน เสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากครอบครัวมีประวัติเคยเป็น

โรคเบาหวาน

สุขภาพดีไม่มีขายอยากได้ต้องทำเอง เป็นคำกล่าวที่ทุกคนรู้ดีว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุกคนเริ่มหนมาดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น เลือกอาหารการกิน ออกกำลังกาย พักผ่อนและผ่อนคลายความเครียดมากขึ้น แต่บางคนก็มีโรคติดตัวหรือที่เรียกกันว่า โรคประจำตัว เช่นโรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน ที่มักจะเจอควบคู่กัน ซึ่ง โรคเบาหวาน เป็นโรคที่รู้กันว่าสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน หรือรสจัดมากเกินไป รวมไปถึงแป้งต่าง ๆ และมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากครอบครัวมีประวัติเคยเป็น โรคเบาหวาน อาการแสดง มาก่อน

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างและหลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่พาน้ำตากลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญและเป็นพลังงานที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาดอินซูลิน หรืออินซูลินนั้นออกฤทธิ์ประสิทธิภาพลดลง จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติเมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ 

สาเหตุของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน แบ่งเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค  

1.โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย หรือผลิตได้น้อยมากทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก

2.โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากที่ตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลินได้แต่ปริมาณไม่เพียงพอ และอินซูลินที่ผลิตออกมาไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่  เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย

3.โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM) เป็น โรคเบาหวาน ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์

4.โรคเบาหวาน ที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes) มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

อาการของโรคเบาหวาน

1.ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน

2.คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก

3.หิวบ่อย รับประทานจุแต่น้ำหนักลดลง 

4.เมื่อเกิดบาดแผลที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกายมักหายช้าและหายยากกว่าปกติ มีการติดเชื้อตามผิวหนังบ่อย โดยเฉพาะแผลที่เกิดกับบริเวณเท้า

5.ติดเชื้อรา โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด

6.การมองเห็นไม่ชัดเจน สายตาพร่ามัวจนต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ ตาแห้ง

7.ชาปลายมือ ปลายเท้า รู้สึกเจ็บแปลบ ๆ ที่ปลายเท้า หรือที่เท้า เนื่องมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงนาน ส่งผลให้เส้นประสาทเกิดการเสื่อมสภาพ

8.ซึม จนกระทั่งหมดสติ อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย

9.ชักกระตุกเฉพาะที่

10.ผิวแห้ง เกิดอาการคันบริเวณผิวหนัง

11.เหนื่อย อ่อนเพลีย ทั้ง ๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ป่วยไข้

12.เป็นฝีตามตัวบ่อย ๆ

โรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการเป็นโรคและระดับการควบคุมเบาหวาน 

1.การตีบแคบของหลอดเลือด ทำให้เกิดอุดตันได้ง่าย ทำให้เกิดอาการตามแต่ที่หลอดเลือดผิดปกติ

2.โรคหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

3.อัมพฤกษ์และอัมพาตจากหลอดเลือดสมองอุดตัน

4.โรคความดันโลหิตสูง

5.โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดฝอย ปวดน่องเวลาเดินนาน ๆ จากหลอดเลือดที่ขาตีบ หรือเกิดแผลจากขาดเลือด

6.อาการตามัว เบาหวานขึ้นตา (retinopathy)

7.ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย

8.อาการชาตามเท้าและมือ หรืออาจมีอาการปวดก็ได้​

บุคคลที่สี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

1.ผู้มีอาการของโรคเบาหวาน

2.ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่อายุเกิน 40 ปี (ถ้าตรวจแล้วปกติให้ตรวจซ้ำทุก 3 ปี) 

3.ผู้ที่มีน้ำเกิน หรือเรียกว่า อ้วน น้ำหนักตัวมาก ดัชนีมวลกาย ≥ 25 กก./ตารางฟุต

4.มีประวัติความทนต่อกูลโคสผิดปกติ มีภาวะสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลิน : Polycystic ovarian syndrome, acanthosis nigricans

5.มีโรคของหลอดเลือด ระดับไขมัน HDL-cholesterol  ≤ 35 กก.ดล. และ/หรือระดับไตรกลีเซอไรด์ ≥ 250 มก.ดล.ในเลือด

6.คลอดบุตรที่มีน้ำหนักเกิน 4 กก. หรือเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

7.โรคเบาหวาน สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่มีญาตสายตรง อย่าง พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็น โรคเบาหวาน ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น รุ่นลูกจะมีความเสี่ยงถึงร้อยละ 50

8.ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากว่าการออกกำลังกายนั้นจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ และเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีอีกด้วย

9.ผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นเบาหวานก็มีมากขึ้น เพราะระบบการทำงานของเซลล์ตับอ่อนเสื่อมถอย หรือขาดการออกกำลังกาย

การดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน

1.เรียนรู้เรื่องเบาหวาน

2.ควบคุมอาหาร เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง

3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

4.วัดผลการควบคุม ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ

5.พบแพทย์ตามนัด และใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น

การป้องกันโรคเบาหวาน

1.รับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลาและจำกัดปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป

2.ฉีดยา และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณและให้ตรงตามเวลาที่ควรได้รับ

3.ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องรับประทานยาสำหรับโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยเพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

4.ควรมีน้ำผลไม้ ลูกกวาด น้ำตาลก้อนติดตัวไว้กรณีฉุกเฉิน

5.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

6.สตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อวางแผนการดูแลแต่เนิ่น ๆ 

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

ทำได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 4 วิธี ดังต่อไปนี้

          👉 มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ร่วมกับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่า ≥200 มก./ดล.

          👉 ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) ≥ 126 มก./ดล. 

          👉 การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมง ถ้ามีค่า ≥ 200 มก./ดล.

          👉 การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) ≥ 6.5% โดยวิธีการตรวจและห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด 

เมื่อได้รับการวินิจฉัย โรคเบาหวาน ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากเบาหวาน ทำได้โดยการควบคุมระดับน้ำตาล 

การควบคุม โรคเบาหวาน ที่ดี่สุด คือ อย่าปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทที่สามารถทำให้สูญเสียอวัยะบางส่วน สตรีมีครรภ์ที่เป็น โรคเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตรได้ ดังนั้นต้องดูแลในเรื่องการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ healthdoo.today หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำตาล ไปพบแพทย์ โรคเบาหวาน อาการแสดง ตามนัดเท่านี้ก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ