จมูกไม่ได้กลิ่น อาการผิดปกติที่ตอนนี้ต้องระวังที่สุด
อาการผิดปกติที่ตอนนี้ต้องระวังที่สุดก็คงหนีไม่พ้นอาการจมูกไม่ได้รับกลิ่น เนื่องจากเกิดจากการสูญเสียการรับกลิ่นแบบปลายประสาทเสื่อมหรือการอุดตันของช่องจมูกบริเวณรับกลิ่นในโพรงจมูก ซึ่งการที่จมูกไม่ได้กลิ่นจึงไม่ได้เกิดจากโรคโควิด-19 เพียงโรคเดียวเพียงแต่เป็นจุดเด่นของโรคนี้และยังเป็นโรคที่กำลังระบาดที่ยังควบคุมการระบาดได้ยาก
การรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสจำเป็นในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการหาอาหาร ป้องกันอันตราย หรือแม้แต่การสืบเผ่าพันธุ์ เนื่องจากมนุษย์เราจะจมูกไม่ได้กลิ่น เฉียบพลัน นำการรับกลิ่นไปร่วมแปลเป็นความรู้สึกของการรับรสด้วย เช่น เมื่อเราเป็นหวัดจมูกไม่ค่อยได้กลิ่น ก็จะรู้สึกว่ารสชาติอาหารไม่อร่อยทั้งที่การรับรสของรายังปกติดี
Table of Contents
สาเหตุที่ทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น
จมูกไม่ได้กลิ่น หรือได้กลิ่นน้อยลงเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ
1.การอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกโพรงไซนัส ทำให้กลิ่นขึ้นไม่ถึงปลายประสาทรับกลิ่น
2.ปลายประสาทอักเสบโดยเฉพาะอุบัติเหตุบริเวณศีรษะบริเวณหน้าผาก ท้ายทอย การสูญเสียการรับกลิ่นจากอุบัติเหตุทางศีรษะ มักเกิดจากการกระแทกที่รุนแรงทางด้านหน้าหรือท้ายทอย หรือมีการแตกหักของกระดูกบริเวณรอบ ๆ ประสาทรับกลิ่น ทำให้ปลายประสาทขาดทำ ส่งผลให้การรับกลิ่นมีความผิดปกติ
3.การสูดดมสารเคมีบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น สารฟอร์มาลีน อาจทำให้ปลายประสาทบางส่วนอักเสบ ส่งผลให้ความสามารถในการรับกลิ่นลดลงหรือสูญเสียไป
4.อายุที่เพิ่มขึ้น หรือโรคทางสมองบางชนิด เช่น โรคพาร์กินสันโรคอัลไซเมอร์ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของการรับกลิ่นลดลง
5.ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือผิดปกติทางพันธุกรรม ไม่มีปลายประสาทรับกลิ่นหรือมีความผิดปกติที่ปลายประสาทรับกลิ่น
6.การติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อไวรัสส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการรับกลิ่น เช่น การติดเชื้อไวรัสจากการเป็นหวัด โดยอาจเป็นจากการเป็นหวัดที่รุนแรงหรือเป็นมานาน ทำให้เส้นประสาทรับกลิ่นถูกทำลาย ซึ่งในระหว่างที่เป็นหวัดนั้นผู้ป่วยจะไม่ได้กลิ่นและเมื่ออาการหวัดหายไปผู้ป่วยก็ยังคงไม่ได้กลิ่นอยู่เช่นเดิม
7.เนื้องอกอุดกลั้น บังเซลล์ประสาทรับกลิ่นอากาศที่หายใจเข้าไปเดินทางไปสู่เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่อยู่บนเพดานของโพรงจมูกได้น้อย ทำให้กลิ่นขึ้นไม่ถึงปลายประสาทรับกลิ่น
8.การได้รับการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็ง ซึ่งเป็นการฉายรังสีที่บริเวณโพรงจมูก ศีรษะ หรือลำคอ
9.ผลข้างเคียงจากยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น ยาพ่นจมูก ยาปฏิชีวนะ เช่น Neomycin ยาต้านการอักเสบ ยาต้านซึมเศร้า ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เช่น Amiodarone ยาฆ่าแมลง น้ำหอม สารเคมีจากโลหะแคดเมียม
ลักษณะอาการจมูกไม่ได้รับกลิ่น
1.แบบมีอาการเฉียบพลัน มักเกิดจากอุบัติเหตุ บางรายเกิดทันทีหลังผ่าตัด
2.แบบเรื้อรัง มักเกิดจากการอักเสบที่เยื่อบุโพรงจมูก เนื้องอก การได้รับสารเคมี อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อาการค่อย ๆ ดำเนินไป
วิธีการรักษาจมูกไม่ได้กลิ่น
การรับกลิ่นเป็นเรื่องสำคัญ หากเมื่อใดเริ่มมีความผิดปกติของการดมกลิ่นเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ
1.การรักษาที่สาเหตุ ในการรักษาจะต้องดูก่อนว่าเป็นสาเหตุที่รักษาได้หรือไม่ ด้วยการตรวจภายในโพรงจมูกและไซนัส
1.1.จากการติดเชื้อไวรัส (หวัด) ส่วนใหญ่จะรอเวลาเพื่อให้เส้นประสาทดีขึ้นมาเอง เมื่อเวลาผ่านไปโอกาสการกลับมาของการรับกลิ่นจะมีมากขึ้นอย่างค่อย ๆ เป็น ๆ ค่อย ๆ ไป
1.2.จากโพรงจมูกอุดตันจากเยื่อบุโพรงจมูกบวมหรืออักเสบเรื้อรัง (เช่น จากโรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบ) หรือจากริดสีดวงจมูก หรือจากเนื้องอกของช่องจมูกและโพรงไซนัส ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ยาและการผ่าตัด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เป็นสาเหตุนั้น ๆ
2.การรักษาตามอาการ การรักษาจะได้แค่เพียงรักษาไปตามอาการ แล้วรอให้อาการดีขึ้นเอง
3.การรักษาทางยา ในปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดที่มีคุณสมบัติในการรักษาเรื่องการกลิ่นในจมูกโดยตรง มีแต่เพียงการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์แบบรับประทานในกรณีที่เกิดจากการบวมหรืออักเสบของเส้นประสาทรับกลิ่น ส่วนยาอื่น ๆ ที่อาจนำมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เช่น ยากินลดบวม ยาหยอดลดบวม ยาแก้แพ้ หรือยาพ่น
4.การฝึกดมกลิ่นที่คุ้นเคยบ่อย ๆ (Olfactory trainin) อาจช่วยให้เส้นประสาทการรับกลิ่นที่เสียไปกลับมาทำงานได้ ถ้าฝึกดมกลิ่นที่คุ้ยเคยบ่อย ๆ จะมีโอกาสที่จะกลับมาได้กลิ่น หรือได้กลิ่นมากขึ้นในกรณีที่พยาธิสภาพนั้นทำให้จมูกได้กลิ่นน้อยลง
5.ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสได้ดี เช่น การวิ่ง การเดินเร็ว การเดินขึ้นลงบันได การว่ายน้ำ การขี่จักรยานแบบปรับน้ำหนักความฝืดได้ เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
6.การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่อาจไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูกและ/หรือไซนัสเพิ่มมากขึ้นและอาจทำให้เยื่อบุจมูกบวมมาก เพราะจะส่งผลทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปในโพรงจมูกและไปสู่เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่อยู่บนเพดานของโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นน้อยลง เช่น
6.1.หลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัส โดยการหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแย่ลง เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด การสัมผัสอากาศที่เย็นมาก ๆ
6.2.หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่มากระทบที่ศีรษะ เพราะอาจทำให้มีการบาดเจ็บของเส้นประสาทรับกลิ่นได้มากยิ่งขึ้น
6.3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับยา สารเคมี สารพิษ หรือกลิ่นฉุน ที่เมื่อสูดเข้าไปในโพรงจมูกหรือรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทรับกลิ่นมากยิ่งขึ้น
7.บางครั้งบางสาเหตุก็ไม่สามารถรักษาได้ คงทำได้เพียงแค่ทำใจยอมรับและเรียนรู้ที่จะอยู่กับการสูญเสียการรับกลิ่นนั้นให้ได้
ผลเสียเมื่อจมูกไม่ได้กลิ่น/ได้กลิ่นน้อยลง
1.ทำให้ขาดสัญญาณเตือนภัยอันตรายต่าง ๆ เช่น ควันไฟ แก๊ซรั่ว อาหารบูดและเน่าเสีย เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ป็นอันตรายถึงแก้ชีวิตได้
2.คุณภาพชีวิตลดลงในการได้กลิ่นหอมหรือกลิ่นอาหารรอบตัว ทำให้เสียความเพลิดเพลินเจริญใจหรือการเจริญอาหาร
3.ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะมีโรคร้ายแรงในสมองหรือโพรงจมูกซ่อนอยู่ เกิดความเครียด
การรับกลิ่นมีความสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิต เช่น ช่วยรับกลิ่นของอาหารที่รับประทาน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในรสชาติอาหาร ช่วยเตือนภัยในการดำรงชีวิตต่าง ๆ และยังมีความสำคัญกับบางอาชีพอีกด้วย เช่น คนปรุงอาหาร นักชิมไวน์ นักชิมกาแฟ healthdoo.today หากจมูกไม่สามารถรับกลิ่นได้หรือรับกลิ่นได้น้อยลง ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุจมูกไม่ได้กลิ่น และรับการรักษาจมูกไม่ได้กลิ่น เฉียบพลัน อย่างถูกต้องต่อไป