HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ตาปลา โรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป

ตาปลา

ตาปลา เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นบนของผิวหนังมีการหนาตัวและนูนขึ้นมาเป็นตุ่มเล็ก ๆ เกิดจากแรงกดหรือแรงเสียดสีของผิวหนังชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ ซึ่งมีสารเชื่อมให้ทั้งสองชั้นเกาะติดกัน เมื่อถูกเสียดสีอย่างรุนแรง จะทำให้ผิวหนังกำพร้าแยกออกมาเป็นตุ่มพอง ๆ และถ้ายิ่งเสียดสีไปนาน ๆ เข้า จะยิ่งไปกระตุ้นให้ผิวหนังกำพร้าสร้างหนังขี้ไคลหนาขึ้นจนมีลักษณะแข็ง ๆ เป็นก้อนแหลม ๆ คล้ายลิ่ม พอกดเข้าไปตรงบริเวณตุ่มน้ำใส ๆ ก็จะรู้สึกเจ็บ ใส่รองเท้าก็เดินลำบาก 

ตาปลา ไม่ได้เกิดเฉพาะที่ฝ่าเท้าเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดได้ระหว่างซอกนิ้วเท้า ที่กระดูกนิ้วเสียดสีกัน หรือด้านบนของหลังเท้า ที่เกิดจากการสวมรองเท้าหัวแบนบ่อย ๆ ทำให้ผิวหนังส่วนนั้นเสียดสีกับรองเท้า 

ตาปลา มี 2 ชนิด คือ ตาปลาชนิดขอบแข็ง จะเกิดตามข้อพับ ส้นเท้า ฝ่าเท้า ซึ่งบริเวณที่ถูกกระแทกหรือเสียดสีบ่อย ๆ กับ ตาปลาชนิดอ่อน ที่เกิดตามง่ามนิ้วเท้า ตาปลา เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัย ตาปลา รักษา ง่ายๆ แต่จะพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น

อาการของตาปลา

ตุ่มที่เป็นตาปลาจะแห้งเป็นขุยหรือมีผิวคล้ายกับขี้ผึ้ง ลักษณะของตุ่มที่เกิดขึ้นอาจมีวงสีเหลืองอยู่รอบ ๆ ตรงกลางที่มึความแข็งและเป็นสีเทา กดแล้วเจ็บ ซึ่งบีบด้านข้างจะไม่เจ็บ จะเจ็บก็ต่อเมื่อกดลงไปในตุ่ม เห็นเป็นตุ่มแข็ง ๆ เม็ดเล็ก ก็ทำให้เจ็บจี๊ดได้ โดยเฉพาะถ้าตาปลามีขนาดใหญ่ในตุ่มนั้นจะไม่มีเลือด แต่อาจมีการอักเสบแดงของผิวหนังโดยรอบ หากต้องไปทำกิจกรรมที่ต้องใช้ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก ๆ  เช่น วิ่ง เดินนาน ๆ ยืนนาน ๆ หรือคนที่เป็นตาปลามีน้ำหนักมาก ก็ยิ่งทำให้เจ็บมากขึ้น เพราะก้อนแข็ง ๆ นี้จะยิ่งถูกกดให้ลึกเข้าไปในผิวหนัง บางทีไปกดทับกระดูกหรือเส้นประสาทเข้าอีก 

สาเหตุของตาปลา

ตาปลาเกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีหรือถูกกดทับบ่อย ๆ และเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดได้จากการกระทำของหรือเกิดจากความผิดปกติของร่างกายก็ได้ ดังนี้

1.สาเหตุภายนอก หรือ สาเหตุจากการกระทำ (Extrinsic factor) ได้แก่ การสวมใส่รองเท้าที่คับแน่นหรือหลวมไม่เหมาะกับเท้า การสวมใส่รองเท้าส้นสูง การเดินลงน้ำหนักที่ไม่เหมาะสม การใช้มือหรือเท้าทำงานบางอย่างบ่อย ๆ เป็นเวลานาน เช่น ร้อยพวงมาลัย การเขียนหนังสือมาก ๆ เป็นนักกีฬายิมนาสติก เป็นช่างตีเหล็ก ช่างขุด ช่างเจาะ ฯลฯ เป็นเหตุทำให้มีแรงกดตรงบริเวณดังกล่าวเป็นเวลานาน จึงเกิดการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดแข็ง ๆ ขึ้นมารองรับจุดนั้นแทนเนื้อธรรมดา

2.สาเหตุจากภายใน หรือ สาเหตุจากความผิดปกติของร่างกาย (Intrinsic factor) ได้แก่ ผู้ที่มีเท้าผิดรูปหรือผิดปกติ เช่น นิ้วเท้างุ้ม (Hammer toe) ซึ่งเกิดจากการใส่รองเท้าไม่เหมาะสมกับเท้าเป็นเวลานาน 

วิธีรักษาตาปลาที่เท้า  

การรักษา ตาปลา ให้ได้ผลนั้นมีอยู่หลายวิธีที่ขอนำเสนอก็คือ

1.ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิก 40% ปิดส่วนที่เป็นตาปลาทิ้งไว้ 2-3 วัน จากนั้นค่อยแกะพลาสเตอร์ออก แล้วแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อให้ผิวหนังตรงฝ่าเท้านิ่มลง จะช่วยทำให้ตาปลาหลุดลอกออกไปได้ง่ายขึ้น 

2.ใช้ยาแอสไพริน แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าตัวเองไม่แพ้ยาแอสไพริน วิธีใช้ก็คือ นำแอสไพริน 5 เม็ดมาบดเป็นผง แล้วผสมกับน้ำมะนาว 12 ช้อนชา และน้ำเปล่าอีก 12 ช้อนชา จากนั้นนำมาป้ายตรงตาปลา แล้วใช้พลาสติกมาห่อไว้ แล้วพันผ้าขนหนูอุ่น ๆ ทับอีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วถอดออก แล้วใช้หินมาขัดเบา ๆ จะช่วยให้ตาปลาลอกออกมา

3.ทายากัดตาปลาหรือหูด วันละ 1-2 ครั้ง หรือจนกว่าตาปลาจะหลุดออกไปหมด ก่อนทายาให้แช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนสัก 15-20 นาที เพื่อให้ผิวหนังนิ่มขึ้น แล้วใช้ผ้าขนหนูมาถูตรงตาปลาเพื่อลอกขุยออก จากนั้นอาจใช้วาสลินหรือน้ำมันมะกอกมาทาผิวรอบ ๆ ตาปลา เพื่อที่ผิวบริเวณนั้นจะได้ไม่ถูกตัวยาไปกัดผิวหนัง แล้วค่อยแต้มยาลงบนตาปลา

4.ผ่าตัดหรือใช้เลเซอร์จี้ตาปลาออก เป็นอีกวิธีที่สะดวกรวดเร็ว อาจมีค่ารักษาแพงกว่าวิธีอื่น ๆ 

5.สวมใส่ถุงเท้าหนา ๆ เพื่อช่วยลดแรงกดของเท้า แต่ถุงเท้าที่สวมใส่ควรพอดีกับขนาดของเท้าและรองเท้า ที่สำคัญต้องไม่มีตะเข็บที่จะไปขูดกับตาปลาหรือบริเวณที่อาจเกิดตาปลา

6.ผู้ที่เป็นตาปลาที่มือ ควรสวมใส่ถุงมือในขณะทำงานด้วย เพื่อช่วยลดการเสียดสีของผิวหนัง

7.ผู้ที่เป็นตาปลาบนนิ้วเท้าควรหาซื้อซิลิโคนป้องกันตาปลามาใช้ เพราะจะช่วยลดการเสียดสีและแรงกระแทกระหว่างนิ้วเท้าได้

8.ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากและมีตาปลาที่เท้า ควรลดน้ำหนักตัวเพื่อลดแรงกดของเท้ากับพื้น

9.การใช้สมุนไพรกำจัดตาปลา เป็นวิธีธรรมชาติที่สามารถลองทำเองได้ 

     9.1.กระเทียม ให้ฝานกระเทียมสดเป็นชิ้นหนา ๆ นำมาถูบริเวณที่เป็นตาปลา แล้วพอกตรงตาปลา พันทับด้วยผ้าพันแผล ปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วจึงค่อยแกะออก โดยให้ทำซ้ำกันทุกคืนติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์

     9.2.มะนาวหรือเลมอน ใช้สำลีชุบน้ำมะนาวนำมาเช็ดถูบริเวณที่เป็นตาปลา จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 

     9.3.มะละกอดิบ นำมะละกอดิบมาคั้นเอาแต่น้ำ ใช้สำลีชุบน้ำมะละกอดิบทาบนตาปลาแล้วปิดทับด้วยปลาสเตอร์ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วล้างด้วยน้ำอุ่น ให้ทำซ้ำทุกวัน

     9.4. เปลือกสับปะรด นำมาหั่นเป็นชิ้นพอกลงตรงตาปลาและปิดทับด้วยปลาสเตอร์ทิ้งไว้ 1 คืน ล้างให้สะอาด และทาน้ำมันมะพร้าว 

     9.5.ผงขมิ้น ให้นำผงขมิ้นไปผสมกับน้ำผึ้งให้เป็นเนื้อครีม ใช้ทาบริเวณที่เป็นตาปลา แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ให้ทำซ้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ 

     9.6.น้ำมันสน ใช้น้ำแข็งมาประคบก่อนประมาณ 2 นาทีแล้วเช็ดให้แห้ง แล้วทาด้วยน้ำมันสน ปิดปลาสเตอร์ทับไว้ 1 คืน 

10.น้ำส้มสายชูกลั่น นำมาผสมกับน้ำ 3 ส่วน แล้วนำสำลีชุบน้ำส้มสายชูทาลงบนตาปลา ปิดทับด้วยผ้าพันแผลทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นให้บำรุงด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว 

11.เบกกิ้งโซดา ให้ใช้ผงเบกกิ้งโซดา 3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำแล้วแช่ส่วนที่เป็นรอยโรคหรือตาปลาลงไปประมาณ 10-15 นาที จากนั้นขัดบริเวณที่เป็นตาปลาด้วยหินขัดหรือแปรงนุ่ม ๆ 

การป้องกันตาปลา

การป้องกันไม่ให้เกิดตาปลาสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการดูแลตัวเองอย่างการเลือกรองเท้าที่พอดี ก่อนจะเป็นตาปลาที่เท้า หรือรักษาตาปลาหายไปแล้วไม่อยากกลับมาเป็นซ้ำอีกรอบ ก็ต้องรู้จักเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับตัวเอง ตามนี้เลย

1.เลือกใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่คับเกินไป หรือหลวมเกินไป ควรลดแรงกดและแรงเสียดสีของเท้าและนิ้วเท้า เพราะไม่ว่ารองเท้าจะคับหรือหลวมก็ทำให้นิ้วเท้าเสียดสีกัน ควรเลือกซื้อรองเท้าในช่วงเวลาบ่าย เพราะเท้ากำลังขยายตัวเต็มที่

2.หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง รองเท้าหัวแหลม บีบรัดทำให้การเรียงตัวของกระดูกผิดทิศทาง และทำให้เกิดการเสียดสีมากขึ้น ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างกระดูกเท้า หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็เลือกรองเท้าส้นสูงที่มีแผ่นหนุนด้านหน้า เพื่อลดแรงกดที่นิ้วเท้า และไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงยืนเดินนานจนเกินไป ควรหารองเท้าสบาย ๆ ไปเปลี่ยนระหว่างวันด้วย

3.หาฟองน้ำหรือแผ่นรองเท้ามาใส่เพิ่มในรองเท้า เพื่อลดการเสียดสีระหว่างรองเท้ากับผิวหนังบริเวณเท้าที่สัมผัสรองเท้า

4.เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะกับกิจกรรมที่ทำ เช่น รองเท้าเทนนิสไม่ควรใส่มาวิ่ง

5.ถ้าตาปลาเกิดระหว่างง่ามนิ้วเท้าบ่อย ๆ อาจใช้สำลีหรือฟองน้ำบุระหว่างง่ามนิ้วเท้าไว้ เพื่อป้องกันการเสียดสี

6.หากตาปลาเกิดจากเท้าที่ผิดรูป หรือการลงน้ำหนักของเท้ามีความผิดปกติ อาจเลือกใช้รองเท้าที่ออกแบบเป็นพิเศษที่เหมาะสมกับความผิดปกติ เพื่อลดการเสียดสี

7.ใช้ครีมบำรุงสำหรับเท้าโดยทาครีมหลังจากที่อาบน้ำเสร็จหรือหลังล้างเท้า

8.ถ้าตาปลาขึ้นที่มือ ก็ควรใส่ถุงมือหนา ๆ เวลาต้องทำงานที่รับแรงเสียดสี 

9.ใช้หินภูเขาไฟหรือที่ขัดเท้าเป็นประจำเพื่อกำจัดผิวที่แห้งแตกออก

ภาวะแทรกซ้อนของตาปลา

ตาปลา เป็นโรคที่ไม่รุนแรงและไม่ทำให้เสียชีวิต เพียงแต่จะก่อให้เกิดอาการเจ็บและเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้

1.ตาปลาที่มีอาการเจ็บ จะทำให้เดินไม่คล่องตัว ทำงานได้ไม่สะดวก

2.การตัดตาปลาออกเองอาจจะเอาผิวหนังปกติออกไปด้วยจนมีเลือดออกและกลายเป็นแผล ทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียตามมาได้

3.ตาปลาที่ผิวหนังมีการลอกตัว อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราแทรกซ้อนได้ 

ตาปลา เกิดจากแรงเสียดสีของผิวหนังนั่นเอง ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อใด ๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่ตาปลาทำให้เกิดความรำคาญและความเจ็บปวดเวลาที่ต้องเดินหรือใส่รองเท้า นอกจากนั้นยังมีรูปลักษณ์ที่ไม่น่ามองเท่าไหร่นัก ตาปลา รักษา ง่ายๆ โดยปกติถ้าอยู่เฉย ๆ แล้วตาปลาจะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่จะเกิดความเจ็บปวดขึ้นเมื่อถูกกด เช่น เวลาที่ต้องเดินหรือเวลาที่สวมใส่รองเท้า และจะเจ็บเมื่อกดลงไป นอกจากนั้นอาจจะทำให้ใส่รองเท้าให้พอดีได้ลำบาก ตาปลามักเกิดขึ้นบริเวณด้านบนเท้าและด้านข้างนิ้วเท้า หรืออยู่ระหว่างนิ้วเท้า เนื่องจากใช้งานบ่อย เสียดสีและถูกกดทับอยู่บ่อยครั้ง จึงมักทำให้พบตาปลาในตำแหน่งนี้กันมาก หากอาการของตาปลาเริ่มเพิ่มความรุนแรงจนมีความเจ็บปวดมากหรือเกิดการอักเสบ healthdoo.today ควรไปพบแพทย์