HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ปวดท้องข้างซ้ายล่าง อันตรายถึงชีวิต

ปวดท้องข้างซ้ายล่าง

การเจ็บป่วยไม่เข้าใครออกใคร เมื่อเกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดความวิตกกังวลทั้งคนที่เจ็บป่วยเองและคนรอบข้าง เชื่อว่ามีหลายคนคงเคยปวดท้องข้างซ้ายกันมาบ้าง เนื่องจากภายในช่องท้อง เต็มไปด้วยอวัยวะหลายส่วน เช่น หัวใจ ปอด ม้าม ไต ตับอ่อน กระเพาะอาหาร หรือลำไส้ เมื่อมีความผิดปกติขึ้นจะแสดงอาการปวดที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุแม้ว่าบางสาเหตุอาจรักษาได้ด้วยตนเอง แต่บางสาเหตุก็ต้องพึ่งพาการรักษาดท้องข้างซ้ายล่าง จี๊ดๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

ถึงแม้ว่าการปวดท้องจะดูเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่หากอาการปวดท้องข้างซ้ายล่าง ปวดไม่หายไปหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น ก็จะกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและมีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาที่เหมาะสม 

สาเหตุของปวดท้องข้างซ้ายล่าง  

ปวดท้องข้างซ้ายล่าง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณท้องส่วนบนและท้องส่วนล่าง อาจเกิดได้จากสาเหตุแตกต่างกันไปตามแต่ละคน และเป็นผลมาจากหลายสาเหตุ 

สาเหตุของปวดท้องข้างซ้ายล่าง มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

1.โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ แรงดันภายในลำไส้ใหญ่ก่อให้เกิดกระเปาะขนาดเล็กขึ้นที่ผนังลำไส้กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค หากกระเปาะเกิดการฉีกขาด บวม หรือติดเชื้อจะส่งผลให้ถุงผนังลำไส้อักเสบ ทำให้มีอาการปวดอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อาจทำให้อุจจาระเป็นเลือด มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน พบได้ในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากว่าเมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น เนื้อเยื่อที่บริเวณผนังลำไส้ก็จจากการเสื่อมสภาพ 

2.แก๊ส มักพบได้ในกระเพาะอาหารไปจนถึงทวารหนัก เกิดจากการกลืนอาหารและย่อยอาหารและจะถูกขับออกโดยการเรอและผายลม แต่แก๊สอาจยังคงอยู่และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ แสบร้อนกลางอก อุจจาระปนเลือด เป็นต้น

3.อาหารไม่ย่อย กรดในกระเพาะอาหารอาจทำให้หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เกิดการระคายเคือง ส่งผลให้อาหารไม่ย่อยหรือมีอาการปวดท้อง แสบร้อนกลางอก รู้สึกอิ่ม ท้องอืด เรอ ผายลม หรือคลื่นไส้หลังรับประทานอาหาร

3.โรคไส้เลื่อน เป็นภาวะที่ชั้นไขมันหรือบางส่วนของลำไส้เล็กเคลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิมเป็นก้อนตุงอยู่บริเวณช่องท้องหรือขาหนีบ ปวดบริเวณที่เกิดมากขึ้น และเมื่อต้องยกสิ่งของ ปวดตื้อหรือรู้สึกแน่นท้อง

4.โรคงูสวัด การติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ ส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณผื่นคันที่เรียงเป็นแนวยาวบนลำตัวข้างใดข้างหนึ่ง และบางครั้งอาจมีผื่นขึ้นบริเวณคอหรือใบหน้าด้วย 

5.ท้องผูกหรือการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จึงอาจส่งผลให้อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ถ่ายไม่ออก ถ่ายไม่สุด ต้องเบ่งหรือกดหน้าท้องเพื่อช่วยในการถ่ายอุจจาระ ปวดท้องหรือทวารหนัก 

6.ซีสต์ในรังไข่ ทำให้เกิดอาการปวดท้องข้างซ้ายล่าง โดยจะมีอาการปวดหน่วง ๆ ทำให้ปัสสาวะบ่อย และอาทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ การรักษาต้องทำโดยการผ่าตัด ไม่อาจมองข้ามได้เพราะหากทิ้งเอาไว้ก็จะยิ่งทำให้อาการปวดท้องมีเพิ่มมากขึ้น

7.การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดการปวดท้องข้างซ้ายล่าง ปัสสาวะติดขัด และปวดท้องน้อยในขณะที่ปัสสาวะ ถ้าหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปยังไตได้ และกลายเป็นโรคไตในที่สุด  

8.โรคไต เมื่อเกิดการติดเชื้อหรือมีนิ่วขึ้นในไต จะทำให้เกิดอาการปวดท้องข้างซ้ายล่าง ไตอักเสบ จะมีอาการปวดท้องข้างซ้ายล่างแบบเฉียบพลัน ปวดปัสสาวะและปวดแสบปวดร้อนขณะที่ปัสสาวะ หรืออาจปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย ส่วนนิ่วในไต จะมีไข้สูง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับอาการปวดหน่วง ๆ ที่บริเวณต้นขา

9.ท้องนอกมดลูก ในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หากเกิดอาการปวดท้องข้างซ้ายล่าง นั่นอาจเป็นสัญญาณไม่ดี เพราะอาการปวดนี้นั้นบ่งบอกถึงภาวะการตั้งท้องนอกมดลูกที่จะส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อทั้งตัวแม่และเด็ก จะมีอาการปวดจากเส้นเอ็นยึดมดลูก 

10.เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาการนี้อาจพบได้บ่อยในผู้หญิง จะมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น และปวดท้องข้างซ้ายล่างตามมา อาจเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ท้องผูก รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะ และมีประจำเดือนที่มาผิดปกติ 

หากมีอาการปวดท้องข้างซ้ายร่วมกับอาการเตือนอื่น ๆ เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง อาเจียน ปัสสาวะหรือถ่ายเป็นเลือด อาเจียนหรือท้องเสียอย่างรุนแรงหรือบ่อยครั้ง ดีซ่าน ท้องหรือขาบวม กลืนลำบาก เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที และปวดท้องนานกว่า 3 วัน ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ 

การดูแลเบื้องต้นปวดท้องข้างซ้ายล่าง

1.ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารจำพวกทอดที่ต้องใช้น้ำมัน เนื้อสัตว์ที่ติดมัน 

2.อาหารที่มีรสจัด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส

3.แบ่งมื้ออาหารรับประทาน โดยแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่ละมื้อรับประทานพอประมาณในแต่ละครั้ง อย่ารับประทานให้อิ่มจนเกินไป เคี้ยวให้ละเอียดก่อนที่จะกลืน อย่าเร่งรีบรับประทานช้า ๆ 

4.ไม่รับประทานอาหารก่อนที่เข้านอนประมาณ 2 ชั่วโมง 

5.ไม่ควรดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มจำพวกที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่น กาแฟ ชา โอเลี้ยง ช็อกโกแลต โกโก้ และน้ำอัดลมอัดแก๊สต่าง ๆ 

6.หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

7.ดื่มน้ำบ่อย ๆ ดื่มให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว

8.ออกกำลังกายเป็นประจำ กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้และการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

6.ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด ไม่ควรปล่อยปละละเลย ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ปวดท้องข้างซ้ายล่าง นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ และมักจะหายไปเอง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่เกิดจากอาการผิดปกติซึ่งมีโอกาสที่จะเป็น ๆ หาย ๆ จนกลายเป็นอาการเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากโรคภายในได้ ทางที่ดีควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุวดท้องข้างซ้ายล่าง จี๊ดๆ จะได้หาทางรักษาได้ทันท่วงที เพราะเมื่อขึ้นชื่อว่ามีอาการปวดท้องแล้ว แสดงให้เห็นว่ามีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นแน่นอน เป็นอาการเริ่มต้นและสัญญาณอันตรายที่บ่งชี้ว่าเราอาจจะกำลังเป็นโรคอีกหลายชนิดได้และมีการป้องกันที่แตกต่างกันไป ดังนั้น healthdoo.today จึงควรดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี