HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ผื่นคัน ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ผิวหนังอ่อนแอเมื่ออากาศเปลี่ยน

ในปัจจุบันมีมลภาวะและฝุ่นควันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้น ผื่นคัน ที่ทำให้ผิวหนังอ่อนแอเมื่ออากาศเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยคนที่ผิวแพ้ง่ายเป็นคนที่มีปฏิกิริยามากกว่าคนอื่น ก็จะเกิดอาการคันขึ้นได้เนื่องจากผิวค่อนข้างแห้งระคายง่าย บางคร้งแค่ล้างจานหรือซักผ้าก็เป็น ผื่นคัน แล้ว หรือแม้กระทั่งเหงื่อออก มดกัด ยุงกัด ก็จะเกิดอาการคันคะเยอเป็นหย่อม ๆ โดยเฉพาะบริเวณต้นคอเชื่อมต่อไหปลาร้า เอว สะโพก ขา ข้อศอก และหลังมือ แต่ละจุดมีผื่นขึ้นต่างกัน บางจุดเป็นเม็ดใสคล้ายหิด ผื่นคัน เกาแล้วลาม บางจุดเป็นผื่นแดงวงกว้าง ยิ่งคันยิ่งเกา ยิ่งเกาก็ยิ่งคัน 

อาการของผื่นคัน

อาการ ผื่นคัน ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงมากนัก โดยอาจมีอาการผิดปกติบริเวณผิวหนังส่วนต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัด คือ

1.ผิวหนังบวมแดง มีลักษณะเป็นปื้น หรือผิวหนังบริเวณรอบผื่นมีลักษณะแข็งผิดปกติ

2.เกิดลมพิษ โดยมีลักษณะเป็นตุ่มแดงนูนและคันบริเวณผิวหนังส่วนต่าง ๆ เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

3.ผดร้อน เป็นอาการผื่นที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับอากาศร้อนชื้นและอบอ้าว เกิดจากการอุดตันของท่อเหงื่อ 

4.มีอาการระคายเคือง คัน เจ็บ หรือปวดแสบปวดร้อน

5.มีตุ่มน้ำใส ๆ เกิดขึ้น ผิวลอก เป็นแผลพุพอง

6.ปวดตามข้อ 

7.หากมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น หรือสีผิวหนังบริเวณที่มีผื่นเปลี่ยนไป หายใจลำบาก ใบหน้าหรือแขนขาบวม คันภายในลำคอผิดปกติ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส วิงเวียนศีรษะ ปวดคอหรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการสับสน อาเจียนหรือท้องเสียต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย ควรรีบไปพบแพทย์

สาเหตุของผื่นคัน

ผื่นคัน สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกเวลา ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือการติดเชื้อ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ

1.โรคผื่นแพ้สัมผัส เกิดจากผิวหนังสัมผัสกับสารกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองโดยตรง 

2.การใช้ยาบางชนิดอาจส่งผลให้มีผิื่นขึ้นบนผิวหนังบริเวณต่าง ๆ ได้เกิดจากการแพ้ยา ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาทำให้ผิวหนังแพ้แสงทำให้เกิดผื่นตามมา

3.แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ตัวเห็บทำให้เกิดผื่นแล้วยังเป็นพาหะส่งผ่านโรคอีกด้วย

3.โรคผื่นผิวหนังอักเสบ หรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง พบในโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด ทำให้เกิดผื่นแดง คัน และมีผิวลอก

4.ภาวะผื่นผิวหนังอักเสบจากการคั่งของเลือด เกิดจากการไหลเวียนเลือดไม่ดี มักพบบริเวณขา 

5.โรคสะเก็ดเงิน มีอาการคัน ผิวลอก และมีผื่นแดง มักเกิดที่บริเวณหนังศีรษะ ข้อศอก และข้อต่อต่าง ๆ

6.โรคต่อมไขมันอักเสบ จะพบที่บริเวณหนังศีรษะ เช่น หู ปาก หรือจมูก และอาจมีอาการแดง ลอก หรือมีรังแค 7.โรคภูมิแพ้ตัวเอง คือความผิิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดผื่นได้ง่าย โดยเฉพาะผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดดบ่อย ๆ เช่น แก้มและจมูก 

8.โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดผื่นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายได้

9.ผื่นผ้าอ้อม เกิดจากการใส่ผ้าอ้อมที่เปื้อนปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการระคายเคือง

10.โรคอีสุกอีใส ก่อให้เกิดผื่นแดงและตุ่มน้ำใส ๆ ทั่วร่างกาย

11.โรคหัด ส่งผลให้เกิดผื่นคันและตุ่มแดงทั่วร่างกาย

12.ไข้อีดำอีแดง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ทำให้เกิดผื่นแดงเป็นปื้น 

13.โรคมือเท้าปาก เป็นอาการติดเชื้อไวรัส มักจะเกิดผื่นบริเวณมือและเท้า รวมทั้งมีแผลภายในช่องปาก

14.โรคฟิฟธ์ (Fifth Disease) โรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดผื่นเป็นปื้นแดง ที่บริเวณแก้ม ต้นแขน และขา

15.โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) เป็นโรคที่พบได้น้อยแต่อาการค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้เกิดผื่นและมีไข้ 16.โรคแผลพุพอง คือโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีผื่นแดงตกสะเก็ด และเป็นหนองบริเวณใบหน้า ลำคอ และมือ

การรักษาผื่นคัน

ผื่นคันที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตรายและอาจไม่จำเป็นต้องรักษา อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการอย่างน้อย 1-2 วัน หากไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ โดยวิธีบรรเทาอาการผื่นด้วยตนเองเบื้องต้น ทำได้ดังนี้

1.ใช้น้ำยาทำความสะอาดชนิดอ่อนโยนเช็ดล้างผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นแทนการใช้สบู่ที่มีกลิ่นหอม

2.หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางหรือโลชั่นที่ไม่เคยใช้มาก่อน เพราะอาจยิ่งกระตุ้นให้เกิดผื่น

3.อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น ที่ไม่ร้อนเกินไป กระตุ้นการไหลเวียน

4.หากบริเวณที่เป็นผื่นเปียกน้ำ ควรใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง และไม่ควรเช็ดหรือถู เพราะอาจทำให้ยิ่งระคายเคือง

5.ทาครีมที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวหนังบริเวณที่เกิดผื่นและลดการระคายเคือง

6.หลีกเลี่ยงการปกปิดผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่น เพื่อให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้ดี

7.หลีกเลี่ยงการเกา เพราะจะยิ่งทำให้ระคายเคืองมากขึ้น และอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้

8.หากมีผื่นร่วมกับรังแคบนหนังศีรษะ อาจสระผมด้วยยาสระผมที่มีคุณสมบัติในการกำจัดรังแคได้ตามปกติ 

9.ครีมแก้คัน โดยจะช่วยบรรเทาอาการคันที่มีส่วนประกอบของตัวยาไฮโดรคอร์ติโซน

10.เจลหรือสเปรย์ว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นบริเวณผิวหนังที่เกิดผื่น และอาจบรรเทาอาการคัน 

11.ยาแก้แพ้ เช่น ดีเฟนไฮดรามีน หรือไฮโดรซีซีน ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการแพ้และบรรเทาอาการคัน

12.โลชั่นบำรุงผิว เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังบริเวณที่เกิดผื่น

13.ยารักษาการติดเชื้อรา เช่น โคลไทรมาโซล มิโคนาโซล หรือเทอร์บินาฟีน

14.หมั่นสังเกตความผิดปกติของผื่นและอาการอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ

ผื่นคัน ป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ทั้งนี้ ผื่นที่เกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อ อาจป้องกันไม่ได้ จึงควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หากสัมผัสกับสารก่อความระคายเคืองนั้น ๆ  ควรรีบล้างทำความสะอาดผิวหนังโดยเร็วที่สุด ผื่นคัน เกาแล้วลาม เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากภายนอกที่อาจเกิดขึ้นได้ ช่วยบรรเทาอาการและป้องกันมิให้ผื่นคันแดงลุกลาม ดังนั้นการทราบว่าสาเหตุของผื่นแดง คันนี้เกิดจากอะไร จะสามารถหาวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน  healthdoo.today ปลอดภัยและเหมาะสมเพื่อช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้น การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น และการใช้ยา ดังนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม