HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ฝีเกิดจากอะไร

ฝี

มีหลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า ฝี ก็คือสิว แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ ฝี จะมีลักษณะเป็นตุ่ม ๆ กดแล้วเจ็บ เหมือนสิวแต่ไม่ใช่สิว และเมื่อร่างกายสกปรก อ่อนแอ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียง่าย หากมีหนองเกิดขึ้นมายิ่งจะทำให้เจ็บและหายยาก หากเป็นที่ผิวหนังภายนอกที่มีขนาดเล็กและไม่มีการเจ็บป่วยรุนแรง อาจจะดีขึ้นและหายไปเอง แต่หากเป็น ฝี ที่อวัยวะภายใน จะค่อนข้างเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีจะดีที่สุด ฝี บ่ง บอก อะไร หากรักษาเองไม่ถูกวิธีจะเสี่ยงอักเสบอาการหนักรักษายากกว่าเดิม

ฝี (Abscess) คือ ตุ่มหนองอักเสบสะสมใต้ผิวหนัง จะมีกลิ่นเหม็น เจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดน และก่อตัวขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและเนื้อเยื่อ เชื้อโรค ที่ตายแล้ว สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน ตามปกติ ฝี สามารถแตกตัวได้เองแล้วอาการก็จะทุเลาลง 

ลักษณะของฝี 

ฝีเป็นตุ่มหนองอักเสบสะสมใต้ผิวหนัง มีกลิ่นเหม็น และเจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดน สามารถมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยเราสามารถแยก ฝี กับสิว โดยสังเกตได้ดังนี้

1.มีลักษณะใหญ่กว่าสิว

2.รู้สึกเจ็บกว่าสิว มีอาการปวดมากๆ

3.ฝี เกิดขึ้นได้ทั้งร่างกาย ทั้งภายในและภายนอก

4.มักมีไข้ร่วมด้วย

ประเภทและอาการของฝี

ฝีเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากภายนอกหรือภายในก็ได้ อาการของ ฝี ขึ้นอยู่กับประเภทของฝีและตำแหน่งที่เกิดฝี ฝีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามบริเวณที่เกิด ได้แก่ ฝีที่อยู่บนผิวหนัง และฝีที่เกิดภายในร่างกาย

ฝีที่ผิวหนัง

เป็นฝีที่ก่อตัวขึ้นบริเวณใต้ผิวหนัง โดยบริเวณรากผมหรือขนที่เกิดการติดเชื้อจะพัฒนาจนเกิดฝี มีอาการ คือ ฝี 

1.มีตุ่มบวมตึงหรือแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง เจ็บปวดมากเมื่อสัมผัสโดนบริเวณที่เกิดฝี รู้สึกแสบร้อนและผิวหนังบริเวณที่เกิดฝีเป็นสีแดง

2.มีหนองสีขาวหรือสีเหลือง และมีกลิ่นเหม็นเมื่อฝีแตกแล้วหนองไหลออกมา

3.มีไข้สูง ตัวหนาวสั่น เกิดการอักเสบบวมแดง เจ็บปวด รู้สึกแสบร้อน

4.การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นในทรวงอกของผู้หญิงที่ให้นมบุตรได้กลายเป็นฝีที่เต้านม

5.เกิดการอักเสบบริเวณต่อมใต้ผิวหนังที่แคมอวัยวะเพศหญิงกลายเป็นฝีต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Abscess)

ฝีที่อวัยวะภายใน

ฝีประเภทนี้จะแตกต่างจากฝีที่ผิวหนัง เนื่องจากเป็น ฝี ที่เกิดบริเวณอวัยวะภายใน จึงอาจไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนปรากฏออกมาเสมอไป อาการแสดงขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดฝี มักเกิดจากอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นที่ส่งผลทำให้เกิดฝี เช่น การติดเชื้อในตับทำให้เกิดฝีในตับ การติดเชื้อในเหงือกและฟันทำให้เกิดฝีและฟันเป็นหนองได้ เป็นต้นโดยอาการป่วยทั่วไปที่อาจพบจากการเกิดฝีที่อวัยวะภายใน ได้แก่

1.รู้สึกไม่สบายตัวในบริเวณที่เกิดฝี

2.มีไข้ รู้สึกป่วย ตัวหนาวสั่น

3.มีเหงื่อออกมาก

4.คลื่นไส้อาเจียน

5.ปวดท้อง ท้องอืด ท้องบวม

6.ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด

7.เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

8.ท้องร่วง หรือ ท้องผูก

9.เกิดภาวะดีซ่าน จากการมีฝีที่ตับ

10.ไอ หรือ หายใจช่วงสั้น ๆ จากการมีฝีที่ปอด

11.มีไข้มากกว่า 39 องศาเซลเซียส

สาเหตุของฝี

1.การอุดตันของต่อมน้ำมันหรือต่อมเหงื่อใต้ผิวหนัง 

2.การอักเสบของรูขุมขนหรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ทำให้เชื้อโรคแทรกตัวเข้าไป

3.การติด เชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดฝี ได้แก่ สแตฟิโลค็อคคัส ออเรียส และสเตรปโตค็อคคัส พัยโอจีเนส เชื้อเหล่านี้จะก่อสารพิษและทำลายเซลล์เนื้อเยื่อภายในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวมาต่อสู้กับเชื้อ เซลล์บางส่วนที่ตายภายในที่ว่างใน ฝี เกิดเป็นหนอง

4.ภาวะแทรกซ้อนหลังป่วยจากอาการอื่น ๆ เช่น ไส้ติ่งอักเสบและแตกภายในช่องท้อง ทำให้เชื้อแบคทีเรียกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้อง จนอาจเกิดเป็นฝีในเวลาต่อมาได้

กลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดฝี 

1.ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ บกพร่อง

2.การผ่าตัดช่องท้อง 

3.บาดเจ็บอย่างรุนแรง อวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหาย เช่น ลำไส้ทะลุ รังไข่ทะลุ หรือมีแผลไหม้รุนแรงบริเวณผิวหนัง 

4.ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่อง เคมีบำบัด

5.โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง ไส้ติ่งอักเสบและแตกภายในช่องท้อง โรคเบาหวาน ลูคีเมีย มะเร็ง เอดส์ การติดเชื้อภายในถุงน้ำดี ตับอ่อน หรือรังไข่ การติดเชื้อภายในอุ้งเชิงกราน

5.เสพติดสุราหรือยาเสพติด

6.การอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด มีสุขอนามัยที่ไม่ดี

7.การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนัง

8.การติดเชื้อปรสิต

การรักษาฝี

1.หลีกเลี่ยงการบีบกดหรือใช้เข็มเจาะฝีด้วยตนเองเพื่อให้ของเหลวไหลออกมา เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง

2.ใช้ผ้าประคบร้อนในบริเวณที่เกิด ฝี ประมาณครั้งละ 30 นาที 4 ครั้งต่อวัน เพื่อลดอาการบวมและเร่งให้หายเร็วขึ้น 

3.หมั่นล้างมือของตัวเองให้สะอาด หากนำมือของตัวเองที่ไม่สะอาดไปสัมผัสกับฝี อาจทำให้ฝีติดเชื้อได้ง่ายมากกว่าเดิม และอาจยังเป็นการแพร่เชื้อแบคทีเรียไปยังผู้อื่นได้อีกด้วย

3.การรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อจำกัดเชื้อ และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ

4.การผ่าตัดเพื่อถ่ายหนองในฝีออก แพทย์จะพิจารณาจากบริเวณที่เกิดฝี ขนาดและความรุนแรงของฝี

5.การเจาะนำหนองในฝีออก แพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษที่เป็นท่อเจาะผ่านเข้าไปภายในฝี เพื่อดูดเอาหนองในฝีออกมาจนหมดแล้วจึงนำท่อออกในภายหลัง 

ภาวะแทรกซ้อนของฝี

ภาวะแทรกซ้อนของฝี คือ การติดเชื้อในเนื้อเยื่อ และการติดเชื้อในกระแสเลือด จากเชื้อที่อยู่ในหนองลามเข้าสู่กระแสเลือดหรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ หรือ ฝี อาจแตกและทำให้เชื้อลามไปยังเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ ได้ภาวะแทรกซ้อนของฝีที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ

1.หลังการรักษาหนองใน ฝี ยังไม่หมดไป จึงทำให้ฝียังคงมีเชื้อโรคและหนองอักเสบอยู่

2.กลับมาเป็นฝีซ้ำอีกครั้ง

3.เกิดฝีขึ้นมาใหม่ในบริเวณอื่น ๆ

4.เชื้อใน ฝี แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ

5.เกิดการติดเชื้อสแตฟฟิโลค็อคคัส ออเรียส ที่ดื้อยาเมธิซิลิน ทำให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะบางตัวไม่ได้ผล

6.ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

7.การติดเชื้อแพร่กระจายลามออกไปยังสมองและไขสันหลัง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

8.เยื่อบุหัวใจอักเสบ เนื่องจากเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ

9.เนื้อเยื่อในบริเวณที่เกิด ฝี ตาย หรือเกิดภาวะเนื้อตายเน่า

10.กระดูกติดเชื้อเฉียบพลัน หรือภาวะกระดูกอักเสบ

การป้องกันการเกิดฝี

1.รักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

2.ดูแลสุขอนามัยในด้านต่าง ๆ เช่น ล้างมือบ่อย ๆ รักษาความสะอาดร่างกายเป็นประจำ

3.ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวอย่างผ้าเช็ดตัวร่วมกัน

4.ใช้สบู่ฆ่าเชื้อทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย หรือครีมยาปฏิชีวนะภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

5.ฝีหายจึงใช้อุปกรณ์หรือทำกิจกรรมสาธารณะร่วมกับผู้อื่น เช่น การออกกำลังกายในโรงยิม การว่ายน้ำ การอบซาวน์น่า

ฝี เกิดจากการอักเสบใต้ผิวหนัง ดังนั้น healthdoo การป้องกันการเกิดฝี สามารถทำได้ด้วยการรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ การรักษาความสะอาดและดูแลสุขอนามัยในด้านต่าง ๆ เมื่อเป็น ฝี แล้วไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง ไม่แนะนำให้บีบ หรือแคะ แกะ เกาด้วยตนเอง ฝี บ่ง บอก อะไร เพราะจะทำให้เชื้อแบคทีเรียลามไปทั่ว ทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบหนักกว่าเดิม ดังนั้น หากพบว่าเป็น ฝี ก็ควรมาปรึกษาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังทำการรักษาก่อนถูกต้องป้องกันการแพร่กระจายของฝี และเชื้อในฝีไม่ให้ลุกลาม แลtป้องกันการกลับมาเป็นฝีซ้ำอีก