HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ยาลดความดัน ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน

ยาลดความดัน

โรคประจำตัว เป็นโรคที่เป็นแล้วจะติดตัวไปตลอด ต้องให้ความสำคญ ดูแลและเอาใจใส่ ควบคุมไม่ให้มีอาการเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติสุข โรคประจำตัวที่พบบ่อยและมาก ก็คือ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้สูงอายุทุกคนต้องมีโรคปรจำตัว อย่างไรก็ตามยาลดความดัน ซื้อเองได้ไหม pantip ผู้สูงอายุที่อ้วน มีไขมันในเลือดสูง หรือ สูบบุหรี่ มีโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาลดความดันโลหิต มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาร้ายแรงตามมา ได้แก่ ภาวะหัวใจวาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดสมองแตกเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์

ชนิดของยาลดความดัน

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปเป็นยาเม็ดที่ปลดปล่อยตัวยาค่อยๆ ปลดปล่อยตัวยาออกมา เพื่อให้ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน ซึ่งรับประทานวันละครั้งเดียว หากลืมรับประทานยาและนึกขึ้นได้เมื่อใกล้จะรับประทานยามื้อต่อไป ให้รับประทานยาของมื้อนั้นก็พอ และห้ามรับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เท่า มิฉะนั้นความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างมาก เกิดอาการหน้ามืด ล้มลง หมดสติ เป็นอันตรายได้ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มีหลายกลุ่ม จะออกฤทธิ์ต่างกันไป เช่น

1.ยาขับปัสสาวะ

ทำให้มีปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ผู้ที่รับประทานยานั้นเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติเพราะยาขับปัสสาวะมีฤทธิ์ขับน้ำออกจากหลอดเลือด ทำให้ปริมาตรเลือดในหลอดเลือดลดลง ความดันโลหิตจึงลดลง ได้แก่ ยาไฮโดรคลอโรธัยอาไซด์ (hydrochlorothiazide) ยาฟูโรซีมายด์ (furosemide) ยาอะมิโลรายด์ (amiloride) เป็นต้น ผลข้างเคียง คือ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ระดับโปแตสเซียมในเลือดผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง ขนาดยาโดยทั่วไปคือรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า แต่บางรายก็จำเป็นต้องรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง โดยรับประทานยาหลังอาหารเช้าและเที่ยง ไม่แนะนำให้รับประทานช่วงเย็นหรือก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะตอนกลางคืน และต้องลุกมาเข้าห้องน้ำตลอดคืน

ยาชะลอการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง 

2.กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง

ยาขยายหลอดเลือดทำให้รูของหลอดเลือดกว้างขึ้น เลือดจึงไหลได้ดีขึ้นและมีแรงดันน้อยลง แพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมในแต่ละรายไป ได้แก่ ยาไฮดราลาซีน (hydralazine) ยาไมนอกซีดิล (minoxidil) เป็นต้น ยามีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดโดยตรง ทำให้ความดันโลหิตลดลง ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ได้แก่ หน้าแดง ใจสั่น ปวดหัว เป็นต้น

3.ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors)

ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติ้ง (angiotensin converting enzymes) เช่น อีนาลาพริล (enalapril), ไลซิโนพริล (lisinopril), รามิพริล (ramipril), เพอรินโดพริล (perindopril )ยาจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่สร้างแอนจิโอแทนซิน (angiotensin) ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว ดังนั้นเมื่อไม่มีแอนจิโอแทนซิน การหดตัวของหลอดเลือดจึงเกิดน้อยลง ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ก่อความรำคาญแก่เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง และมีอาการไอแห้ง ๆ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด สามารถบรรเทาได้ด้วยการขยันจิบน้ำ หรือรับประทานยาอมชนิดที่ทำให้ชุ่มคอ

4.กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ ได้แก่

ยาไนเฟดิปีน (nifedipine) ยาแอมโลดิปีน (amlodipine) เป็นต้น ออกฤทธิ์ปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ เป็นผลให้กล้ามเนื้อที่หลอดเลือดคลายตัวและทำให้มีการขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลง มีผลข้างเคียงได้แก่ ใจสั่น ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม ท้องผูก

5.กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน หรือ กลุ่มยาเอซีอีไอ (ACEI) ได้แก่

ยาอินาลาพริล (enalapril) ยาแคปโตพริล (captopril) ยาไลสิโนพริล (lisinopril) เป็นต้น ผลข้างเคียงคือ รู้สึกรำคาญ 

6.กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า ได้แก่

ยาอะทีโนลอล (atenolol) ยาโปรปราโนลอล (propranolol) ยาเมโตโปรลอล (metoprolol) เป็นต้น ยาจะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ชีพจรช้าลง แล้วเกิดความดันโลหิตลดลงตามมา ผลข้างเคียงคือ อาการอ่อนเพลียจะเกิดในช่วงแรกที่รับประทานยา แต่อาการจะลดลงเมื่อรับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการข้างเคียงอื่น ๆ คือ อาการซึมเศร้า ฝันร้าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยากลุ่มนี้ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง เพราะอาจทำให้อาการของโรคปอดดังกล่าวกำเริบได้ง่ายขึ้น

7.กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟ่า ได้แก่

ยาปราโซสิน (prazosin) ยาด๊อกซาโสซิน (doxasozin) เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเป็นผลให้ความดันโลหิตลดลง ผลข้างเคียง คือ ความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่าทำให้เกิดอาการหน้ามืด ดังนั้นควรระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างทันทีทันใด เช่น หากต้องการลุกขึ้นยืนเมื่ออยู่ในท่านอนมานาน ๆ ควรเปลี่ยนเป็นท่านั่งก่อนสักพักแล้วจึงลุกขึ้นยืน อาการข้างเคียงอื่น ๆ คือ ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนแรง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคยอดฮิตของเหล่าคนสูงอายุ หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง  และได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต ควรใช้ยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ขาดยา ไม่ลดขนาดยาหรือเพิ่มขนาดยาเอง และต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง แพทย์อาจให้คุณรับประทานยาเดิมหรือปรับขนาดยาให้ใหม่ บางรายใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงเพียงชนิดเดียว ก็ลดความดันโลหิตได้ดี แต่บางรายต้องใช้ยา 2 ชนิด หรือมากกว่านั้น ความดันโลหิตจึงจะลดลงมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ 

ข้อสำคัญในการใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลดี ก็คือ จะต้องรับประทานยาต่อเนื่องกันทุกวันและรับประทานยาตรงเวลา แต่การใช้ยาให้น้อยที่สุด น่าจะเป็นผลดีต่อร่างกายที่สุด ดังนั้นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยให้ความดันโลหิตลดต่ำลงเป็นอันดับแรก

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง นอกจากการใช้ยาแล้ว ยาลดความดัน ซื้อเองได้ไหม pantip ต้องลดการรับประทานอาหารเค็ม healthdoo.today ลดความอ้วนซึ่งหากต้องการใช้วิธีออกกำลังกาย ควรทำแต่พอประมาณให้มีเหงื่อออก ไม่หักโหม  ออกกำลังกายประมาณครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำชา กาแฟ หยุดดื่มเหล้า หยุดสูบบุหรี่รวมทั้งทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเท่านี้จะช่วยให้การรักษาโรคความดันโลหิตสูงมีประสิทธิภาพมากขึ้น