HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ยาเร่งประจําเดือน ที่ดีที่สุด อย่างปลอดภัย

ยาเร่งประจําเดือน

การได้พักผ่อนหลังการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยและยาวนานนั่นเป็นยาชูกำลังที่ดีที่สุด ร่างกายได้พักฟื้นหรือที่ชอบพูดกันว่าชาร์ทแบตหรือแม้แต่การที่ต้องไปทำงานต่างจังหวัด ซึ่งบางครั้งก็มีอุปสรรคที่ทำให้สาว ๆ ต้องกังวลนั่นก็คือ วันนั้นของเดือน(ประจำเดือน) OMG! ฝันจะพังทลายไหม ตัวช่วยต้องมาละแบบนี้ ยาเลื่อนประจำเดือน (Period Delay Tablets) 

การมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติของผู้หญิง แต่บางคนก็อาจประสบปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ เดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย ไม่ก็ประจำเดือนมาช้า หรือบางคนอาจประจำเดือนขาด ซึ่งอาจจะมีหลายสาเหตุที่ประจำเดือนมาช้า โดยปกติแล้วรอบประจำเดือนจะอยู่ที่ 21-35 วัน 

การมีประจำเดือนนั้น ยาเร่งประจําเดือน ให้มาเร็วขึ้น ในช่วงแรกของรอบเดือนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมากลายเป็นเลือดประจำเดือน หากรับปรทานยาเลื่อนประจำเดือนเข้าไปซึ่งมีส่วนประกอบเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอยู่ ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกยังสามารถเกาะผนังมดลูกได้ ยาเร่งประจำเดือน จึงทำให้ไม่มีประจำเดือนนั่นเอง และยังใช้รักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาการเลือดออกที่โพรงมดลูกได้อีกด้วย

วิธีเร่งประจำเดือน

หากประจำเดือนมาช้า หรือมีความจำเป็นต้องเร่งประจำเดือนให้มาเร็วกว่าปกติ วิธีเร่งประจำเดือนให้มาเร็วขึ้น และทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

1.วิตามินซี เพราะวิตามินซีจะเพิ่มช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน และยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งจะส่งผลให้มดลูกหดรัดตัว ผนังมดลูกบางลง และเร่งให้ประจำเดือนมาได้ ซึ่งสามารถเพิ่มวิตามินซีได้ด้วยการรับประทานผักผลไม้ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้ม มะนาว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ บร็อคโคลี่ ปวยเล้ง ฝรั่ง มะเขือเทศ พริกหยวกเขียว พริกหยวกแดง หรือหากกินวิตามินซีในรูปแบบอาหารเสริม 

2.สัปปะรดมีโบรมีเลน (bromelain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนต่าง ๆ อย่างเอสโตรเจน โบรมีเลนช่วยลดการอักเสบ จึงส่งผลช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากการอักเสบได้

3.พาร์สลีย์ (Parsley) คือสมุนไพรที่นิยมใช้ในเมนูอาหาร ลักษณะคล้ายผักชีแต่ใบหยิกกว่า อุดมไปด้วยวิตามินซี และเอพิออล (apiol) ซึ่งอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก อย่างไรก็ดี การได้รับเอพิออลมากเกินไปอาจเป็นพิษได้ 

4.ผ่อนคลาย บางครั้งปัญหาประจำเดือนมาช้า อาจเป็นผลมาจากความเครียด เพราะเมื่อคุณเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิด เช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลีน ออกมามาก ฮอร์โมนเหล่านี้จะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่ช่วยให้รอบเดือนเป็นปกติ ฉะนั้นควรหาเวลาพักผ่อนหรือคลายเครียดบ้าง 

5.การอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนบริเวณหน้าท้อง จะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัว และช่วยผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนของคุณผิดปกติ ความร้อนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และค่อย ๆ ช่วยเร่งให้ประจำเดือนมาได้

6.กิจกรรมทางเพศช่วยกระตุ้นให้ประจำเดือนมาได้ การถึงจุดสุดยอด หรือออกัสซั่ม (orgasm) จะทำให้ปากมดลูกขยายตัว และอาจช่วยให้เลือดประจำเดือนหลั่งออกมาได้ และ ยังช่วยคลายเครียด ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย 

7.ลดการออกกำลังกายลง เพราะการออกกำลังกายหนักเกินไป จะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จนประจำเดือนผิดปกติ มาช้า หรือประจำเดือนไม่มาได้

8.ใช้ยาคุมกำเนิด ควบคุมระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย และทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

9.ลดน้ำหนัก น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงสามารถส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนได้ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ก็อาจทำให้ร่างกายขาดไขมันซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน จึงส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ควบคุมน้ำหนักในอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

10.ยาเลื่อนประจำเดือน คือ ยาที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ ตัวยา นอร์เอทีสเตอโรน (Norethisterone) ชื่อทางการค้าคือ PRIMOLUT-N 5 mg จะใช้สำหรับรับประทานเพื่อให้ประจำเดือนมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ เนื่องจากมีความจำเป็นหรือต้องการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ประจำเดือนอาจเป็นอุปสรรคได้ เช่น เดินทางท่องเที่ยว ไปทำงานต่างจังหวัด ฯลฯ ตัวยาจะใช้ได้ผลดีกับผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ

วิธีรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน

วิธีรับปรทานยาเลื่อนประจำเดือนจะต้องใช้ติดต่อกันไม่เกิน 14 วัน ทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

1.เลื่อนประจำเดือนให้มาเร็วขึ้น (เลื่อนเข้า) ให้เริ่มกินยาเลื่อนประจำเดือนก่อนวันที่จะถึงรอบเดือนจริง ๆ ประมาณ 10-14 

2.เลื่อนประจำเดือนให้มาช้าลง (เลื่อนออก) ให้เริ่มกินยาเลื่อนประจำเดือนก่อนวันที่จะถึงรอบเดือนจริง ๆ ประมาณ 3-7 วัน

ขั้นตอนการรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน

ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด โดยผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 65 กก. ให้รับประทานทุก 12 ชม. (วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น) หากน้ำหนักตัวตั้งแต่ 65 กก. ขึ้นไป ให้รับประทานทุก 8 ชม. (วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น) โดยสามารถรับประทานหลังอาหาร 30 นาทีหรือพร้อมมื้ออาหารก็ได้

ข้อห้ามในการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน

1.การใช้ยาเลื่อนประจำเดือนไม่ควรใช้เกิน 14 วันหรือ 2 สัปดาห์ 

2.ห้ามใช้แทนยาคุมกำเนิด 

3.ตั้งครรภ์ เพราะอาจส่งผลให้อวัยวะเพศของทารกในครรภ์เจริญผิดปกติ

4.ให้นมบุตร ยาสามารถผ่านทางน้ำนมไปสู่เด็กได้ ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับเด็ก

5.มีประวัติเป็นลิ่มเลือดอุดตันหรือมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง เพราะยาจะเพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้

6.เป็นโรคตับรุนแรง หรือมะเร็งตับ เนื่องจากยาจะต้องถูกกำจัดที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนัก

7.เป็นมะเร็งเต้านมหรือเคยเป็นมะเร็งเต้านม 

ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน

1.หน้าบวม ตัวบวม เป็นผลข้างเคียงทั่วไปของยาเลื่อนประจำเดือน

2.เลือดออกกระปริดกระปรอย 

3.รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ 

4.ปวดศรีษะ เวียนศีรษะ 

5.คลื่นไส้ อาเจียน 

6.มะเร็งเต้านม

7.ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น (น้ำหนักขึ้น)

8.คัดตึงเต้านม

9.ไมเกรน 

10.การมองเห็นผิดปกติ 

11.คลอเลสเตอรอลสูง

12.ซึมเศร้า 

ความเสี่ยงของการเร่งประจำเดือนที่ควรรู้

1.วิธีเร่งประจำเดือน หากมีอาการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือสมุนไพรบางชนิด ก็อาจต้องระวังหรือหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น ๆ แม้จะช่วยเร่งประจำเดือนได้ก็ตาม แล้วหันไปใช้วิธีเร่งประจำเดือนวิธีอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน 

2.การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนอาจไม่เหมาะกับบางคน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือหัวใจวายได้ 

3.ผู้ที่สูบบุหรี่ หรืออายุเกิน 35 ปี ก็ยังมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดมากกว่า ฉะนั้น ก่อนใช้วิธีเร่งประจำเดือนด้วยยาคุม ควรปรึกษาคุณหมอ และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

4.หากคุณสงสัยว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ก็ควรปรึกษาคุณแพทย์ก่อนจะเร่งประจำเดือน โดยเฉพาะหากจะเร่งประจำเดือนด้วยยาคุมกำเนิด หรือยาขับประจำเดือน ที่นิยมเรียกกันว่ายาสตรี เพราะอาจทำให้แท้งลูกได้

การเร่งประจำเดือนไม่ได้มีแต่ผลดีเท่านั้น ยาเร่งประจําเดือน ให้มาเร็วขึ้น เพราะความเสี่ยงก็มีมากเช่นกัน ดังนั้นก่อนจะทำการเร่งประจำเดือนแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย ซึ่งการเร่งด้วย ยาเร่งประจำเดือน จะได้ผลที่แน่นอนตอบสนองความต้องการได้ตรงจุดที่สุด ควรใช้ให้ถูกวิธีภายใต้การควบคุมของแพทย์ healthdoo และให้สังเกตอาการตัวเองหลังจากรับประทาน เพื่อป้องกันการแพ้และผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเร่งประจำเดือนได้อย่างปลอดภัย