HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

วัณโรคหลังโพรงจมูกคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

วัณโรคหลังโพรงจมูก 

วัณโรคคือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis มีขนาด 1-5 ไมครอน อยู่ในละอองฝอยน้ำลาย ติดต่อโดยการสูดอากาศที่มีตัวเชื้อนี้เข้าไป  ซึ่งเชื้อมีความทนต่ออากาศแห้ง ความเย็น ความร้อน สารเคมี และอยู่ในอากาศได้นาน ยกเว้นไม่ทนทานต่อแสงแดด

วัณโรคหลังโพรงจมูก
CR. https://bronchiectasis.com.au/bronchiectasis/extra-pulmonary-manifestations/sinusitis

 

วัณโรคเป็นได้ทุกอวัยวะ แต่ที่พบมากที่สุดคือ

วัณโรคปอด (pulmonary TB)

วัณโรคปอด (pulmonary TB)
CR. https://clinmedjournals.org/

พบได้ประมาณร้อยละ 80 ของวัณโรคทั้งหมด รวมถึง endobronchial tree และสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น พยาธิสภาพในเนื้อปอด จากขนาดเล็ก ๆ และค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นได้และอาจทำให้เกิดแผลโพรงในปอด ถ้ามีการทำลายเนื้อปอดมากขึ้น

วัณโรคนอกปอด (extrapulmonary TB)

วัณโรคนอกปอด (extrapulmonary TB)
CR. https://en.wikipedia.org/wiki/File:Extrapulmonary_tuberculosis_symptoms.svg

พบได้ประมาณร้อยละ 20 อวัยวะที่พบบ่อย ได้แก่ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง เยื่อหุ้มปอดระบบทางเดินปัสสาวะ ลำไส้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อหุ้มหัวใจผิวหนัง อาการและอาการแสดงของวัณโรคปอดและนอกปอดผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย  และ “วัณโรคหลังโพรงจมูก” ก็เป็นวัณโรคนอกปอดอีกชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อวัณโรคไปติดอยู่บริเวณหลังโพรงจมูกแล้วก่อให้เกิดการติดเชื้อลุกลาม

 

การติดต่อ

จาม

ติดต่อทางอากาศโดยการไอ จาม พูด ซึ่งปกติจะถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่หากเชื้อถูกทำลายไม่หมดจะแบ่งตัวทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามขึ้นได้ เพราะสถิติระบุว่าผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในระยะลุกลามและแพร่เชื้อ 1 คน ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ถึงปีละ 10-15 คน

 

วัณโรคหลังโพรงจมูก สาเหตุ

วัณโรคหลังโพรงจมูก จัดเป็นวัณโรคนอกปอด เกิดจากการติดเชื้อวัณโรคที่ปอด แล้วกระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอหอย  หรือจากการติดเชื้อวัณโรคบริเวณคอหอยโดยตรง  ส่วนใหญ่พบในเด็กและผู้สูงอายุ แต่ก็พบได้ในทุกช่วงวัย โดยวัณโรคหลังโพรงจมูกพบได้น้อยมาก คือพบน้อยกว่าร้อยละ 1 ของกลุ่มวัณโรคนอกปอด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดวัณโรคหลังโพรงจมูก

-สภาพร่างกาย ความแข็งแรงของแต่ละบุคคล เพราะแต่ละคนภูมิต้านทานในร่างกายไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคได้ง่าย

-ความเข้มข้นของเชื้อโรคซึ่งขึ้นกับปริมาณเชื้อ และการถ่ายเทของอากาศ ยิ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดด้วยแล้วความเสี่ยงก็จะมีมากขึ้น

-ในคนที่ตรากตรำทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้เช่นกัน

-จำนวนเชื้อวัณโรคที่อยู่ในอากาศ โดยเฉพาะอากาศชื้น

-ระยะเวลา ที่คนอยู่ในห้องที่มีเชื้อโรคเป็นเวลานาน

-ภูมิคุ้มกันของคนที่สัมผัสโรคโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคประจำตัว ผู้ที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ, ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์, ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด, ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, ผู้ป่วยหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV, ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพยิ่งมีความเสี่ยงสูง

-การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค โดยเฉพาะหากเป็นการอยู่ในที่คับแคบ อากาศไม่ถ่ายเท เช่น อยู่บ้านเดียวกัน หรือทำงานในออฟฟิศเดียวกัน

วัณโรคหลังโพรงจมูก อาการ

โดยอาการของคนที่เป็นวัณโรคหลังโพรงจมูก อาการผิดปกติส่วนใหญ่จะค่อนข้างทั่วไปและดูไม่ร้ายแรง อาจไม่แสดงอาการหรือมีการ เหมือนแค่ป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา คือมีไข้ มีน้ำมูก คัดจมูก นอนกรน  เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด เลือดกำเดาไหล และอาจมีอาการปวดเมื่อยร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคหลังโพรงจมูกส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว

เลือดกำเดาไหล
CR. https://www.medicalnewstoday.com/articles/164823.php

หรืออาการนอกเหนือจากนี้ ผู้ป่วยบางคนจะมีก้อนที่คอจากต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก ในส่วนของผนังลำคอจนถึงโพรงหลังจมูกพบได้น้อยมาก ๆ บริเวณหลังโพรงจมูกจะมีเส้นเลือดฝอยปริมาณมาก และอยู่ตื้น

ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของเลือดกำเดาไหลหรือไอเป็นเลือดได้ และส่วนน้อยหากมีอาการจุกแน่น  เจ็บ หรือระคายในคอเรื้อรังซึ่งอาการนี้จะแยกไม่ออกว่าเป็นอาการของโรควัณโรคหลังโพรงจมูก เพราะอาการจะคล้ายกับอาการของมะเร็งคอหอยซึ่งจะพบบ่อยในคนไทย

หรือผู้ป่วยบางคน บางครั้งอาจจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ เช่น

-ในระยะเริ่มแรกของโรค อาจจะมีอาการไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ทั้งแบบไอแห้ง ๆ ไอมีเสมหะ หรือไอมีเสมหะปนเลือด

-มีไข้ต่ำๆ ช่วงบ่ายหรือค่ำ

-เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงผิดปกติ

-เหงื่อออกมากผิดปกติช่วงกลางคืน

-เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ

-เลือดกำเดาไหล

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยวัณโรคหลังโพรงจมูกราว 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ และประมาณร้อยละ 70 จะมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก

หากไม่มีอาการ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นวัณโรค ?

โรควัณโรคเกือบทุกชนิด จะสังเกตความผิดปกติได้เมื่อมีอาการแล้วเท่านั้น และการตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ก่อนที่จะเกิดโรค เพราะจะสามารถช่วยให้การรักษาทำได้ทันท่วงที

ซึ่งการตรวจสุขภาพเบื้องต้นนั้น แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อดูลักษณะของต่อมน้ำเหลืองว่าบวมหรือไม่ ฟังเสียงการทำงานของปอด และเอกซเรย์ปอด ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจต้องรับการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเพาะเชื้อวัณโรคเพิ่มเติม

การวินิจฉัย

โดยแพทย์หูคอจมูกจะใช้กระจกส่องตรวจผ่านทางลำคอ หรือใช้กล้องส่องผ่านทางจมูกเข้าไปตรวจดู ซึ่งอาจพบลักษณะเป็นก้อนเป็นแผล และตัดชิ้นเนื้อตรวจทางจุลชีววิทยา การตัดชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ออกมาตรวจจะช่วยในการวินิจฉัยได้

โดยย้อมและเพาะเชื้อวัณโรค หรือตรวจหาลักษณะของวัณโรคทางพยาธิวิทยา ปัจจุบันนิยมใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา ช่วยให้วินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น การตรวจบริเวณโพรงหลังจมูก

วัณโรคหลังโพรงจมูกอันตรายถึงชีวิต

ในกรณีของวัณโรคหลังโพรงจมูกนั้น เป็นอวัยวะที่ตรวจพบและวินิจฉัยได้ยาก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้น้อยมาก การวินิจฉัยซึ่งต้องทำด้วยการตรวจชิ้นเนื้อที่ก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองเท่านั้นอาจใช้เวลามากเกินไปจนไม่สามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอีกประการหนึ่งคือ ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานร่างกายที่ไม่แข็งแรง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร หรือผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม

วัณโรคหลังโพรงจมูก รักษา

หากตรวจพบว่าเป็นวัณโรคจริง ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค โดยระยะเวลาในการรักษานั้นจะเร็วหรือช้าแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการรับประทานยาสม่ำเสมอ และการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วอย่างน้อยจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคจนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดยา เพื่อไม่ให้เชื้อวัณโรคดื้อยาซึ่งจะเพิ่มความยากและระยะเวลาในการรักษาขึ้นไปอีก หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน และรับประทานยาตามแพทย์สั่งไม่ขาด ผู้ป่วยก็จะหายขาดจากวัณโรคได้

วัณโรคหลังโพรงจมูก ป้องกัน

-เชื้อวัณโรคแพร่กระจายล่องลอยอยู่ในอากาศซึ่งง่ายมากที่จะติดเชื้อ สิ่งที่เราควรทำจึงได้แก่เตรียมร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อสร้างภูมิต้านทานในการกำจัดเชื้อ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

-ตรวจสุขภาพประจำปี

-ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี

-แม้การตรวจร่างกายจะปกติ แต่หากมีอาการผิดปกติระยะเวลาหนึ่ง เช่น น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหารมี ไข้ต่ำ ๆ คลำได้ก้อนผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

-หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค

-สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีผู้คนแออัด หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก

-หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวัณโรค

-หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีคนมาก ๆ พื้นที่พลุกพล่าน พื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรควัณโรค

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/tuberculosis-nasopharynx