HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคซึมเศร้า โรคที่ไม่สามารถรักษาหรือบำบัดได้ด้วยตัวเอง

โรคซึมเศร้า

การที่ถูกกระทบจิตใจอย่างรุนแรง เช่น คนที่รักเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอย่างกะทันหัน ถูกจ้างออกจากงานผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำ  และการถูกทอดทิ้งให้อยู่บ้านตามลำพังด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ต้องออกไปทำงานหารายได้ ทำให้เป็นตัวกระตุ้นการเกิด โรคซึมเศร้า ได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านแล้วลูกหลานออกไปทำงานไกลบ้านนาน ๆ ถึงจะกลับมาเยี่ยม ถ้าอยู่ห่างไกลเพื่อนบ้านหรือผลัดถิ่นมาอยู่ยิ่งเป็นปัจจัยเสริมจากการไม่รู้จักใคร ไม่มีคนคุยด้วยหรือไปทำกิจกรรมกับใครเลย

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับใครก็ได้ในช่วงเวลาไหนในชีวิตของคนเราก็ได้เพียงแค่มีสิ่งมากระทบจิตใจ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และการการถูกทอดทิ้ง ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน 

โรคซึมเศร้า ที่เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน อาทิ มีประจำเดือน  การตั้งครรภ์  ภาวะหลังคลอด หรือการเข้าสู่วัยทอง อีกทั้งในชีวิตของพวกเขายังจะต้องรับผิดชอบในหลาย ๆ อย่าง ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ทำให้เกิดความเครียด แต่อัตราการฆ่าตัวตายในผู้ชายมีมากกว่า

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง โรคซึมเศร้า หายได้ไหม เป็นภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ‘เซโรโทนิน (Serotonin)’ มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล และหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้

โรคซึมเศร้า มักจะเริ่มเป็นตอนช่วงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นก็จะเกิดอาการซึมเศร้าต่อเนื่องไปเป็นระยะยาว ถึงแม้ว่าจะมีการเข้ารับการรักษาแล้ว แต่ก็ยังต้องเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ต้องทานยาควบคุมไม่อาการกำเริบได้ 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุที่จะกระตุ้นให้เกิด โรคซึมเศร้า ขึ้นนั้นที่พบบ่อย ก็คือ 

1.โรคซึมเศร้า ที่เกิดจากทางพันธุกรรม หากมีฝาแฝดคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้า หรือ bipolar ฝาแฝดอีกคนมีโอกาสเป็นสูงถึง 60-80% และถ้าคนในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคซึมเศร้า ก็จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป 20%

2.โรคซึมเศร้า ที่เกิดจากความเครียด ซึ่งเป็นภาวะของความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ที่เกิดจากการบีบคั้นกดดัน เมื่อมีภาวะความเครียดสะสมเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลงแล้ว ภาวะความเครียดอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ เป็นอาการที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะมีผลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด และกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก

3.สภาพทางจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู ก็เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเองและโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้มีโอกาสป่วยง่ายขึ้น

4.การเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย การสูญเสียครั้งใหญ่ เช่น หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้

5.ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ราบรื่น

6.การใช้ยาบางอย่างก็ส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ เช่น ยานอนหลับบางตัว ยารักษาสิว ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์

อาการของโรคซึมเศร้า

1.รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ มีอารมณ์ซึมเศร้า

2.ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก

3.น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติ

4.นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ

5.จะรู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า

6.ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง สมาธิลดลง ใจลอย ลังเลใจไปหมด

7.อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง

8.กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง

9.คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย

หากมีอาการข้างต้น 5 อาการ หรือมากกว่า เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ โดยมีอาการอยู่เกือบตลอดเวลาแทบทุกวัน ไม่ใช่เป็น ๆ หาย ๆ คุณอาจจะกำลังเป็น โรคซึมเศร้า หากมีประวัติครอบครัวมีการเจ็บป่วยโรคนี้ ก็อาจจะเพิ่มโอกาสเป็นโรคนี้กับสมาชิกคนอื่นในบ้านได้ แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นกันทุกคน

ประเภทของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า มีหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น

1.โรคซึมเศร้า แบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression) จะมีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ มักมีอาการเศร้าซึมมากจนไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชอบ หลับยาก น้ำหนักขึ้นหรือลงฮวบฮาบ รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อย ๆ เนือย ๆ ไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกไร้ค่า ช่วงภาวะซึมเศร้านี้สามารถเกิดในช่วงหลังคลอดได้ และมีอาการหลง หูแว่วประสาทหลอนเกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนั้นควรเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้โรครุนแรงขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

2.โรคซึมเศร้า แบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression) จะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี แต่อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เพียงแต่จะรู้สึกไม่อยากอาหารหรือรับประทานอาหารมากไป นอนไม่หลับหรือนอนมากไป เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยมีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง และรู้สึกหมดหวัง

3.โรคซึมเศร้า ที่เกิดขึ้นก่อนมีระดู (Premenstrual  depressive disorder) ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายก่อนมีระดู  อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วันหลังจากมีระดู

วิธีการรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมีภูมิคุ้มกัน สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม 

การให้กำลังใจจากครอบครัว คนใกล้ชิด ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะมีโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายสูง หากมีเรื่องกระทบกระเทือนใจแม้เพียงนิดเดียว 

ฉะนั้น เมื่อพูดถึงการรักษา หากรับประทานยาจนครบแล้ว แพทย์ที่ทำการรักษาก็จะให้หยุดยา และยังต้องคอยเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจจะกลับเป็นซ้ำอีกได้ 

ข้อดีของการเป็นโรคซึมเศร้า อยู่ตรงที่เมื่อเข้ารับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ บางคนมีสติปัญญาที่ดีขึ้น เป็นคนเก่ง

1.การรักษาทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการพูดคุยกับจิตแพทย์ 10 ถึง 20 ครั้ง อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจกับสาเหตุของปัญหา และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยการเปลี่ยนมุมมองกับแพทย์ การรักษาทางพฤติกรรมจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะได้รับความพอใจ 

การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม โดยการรักษารูปแบบแรกมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาระหว่าง ผู้ป่วยกับคนรอบข้าง

ส่วนการรักษาโดยอาศัยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ช่วยผู้ป่วยค้นหาปัญหาข้อขัดแย้งภายในจิตใจผู้ป่วย ซึ่งอาจมีรากฐานมาจากประสบการณ์ตั้งแต่เด็ก 

2.รักษาโรคซึมเศร้า ด้วยการใช้ยา ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้า แบ่งออกได้หลายกลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ คือ

          ✅ กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง)

          ✅ กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อๆ ว่า MAOI

          ✅ กลุ่ม SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor)

ซึ่งแต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่ประสิทธิภาพการรักษาเท่าเทียมกัน แพทย์อาจเริ่มจ่ายยากลุ่มใดแก่ผู้ป่วย ก่อนก็ได้เพื่อดูผลตอบสนอง ยารักษา โรคซึมเศร้า ออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล เป็นการรักษาโรคโดยตรง ส่วนใหญ่มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็น ข้อสำคัญและพึงปฏิบัติที่สุดก็คือ การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะบอกให้ท่านหยุด แพทย์อาจให้ตรวจวัดระดับยาให้ถูกต้องกับอาการเป็นระยะๆ

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า

1.หมั่นดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ 

2.พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ 

3.ไม่ใช้สารเสพติด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ 

4.ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5.ฝึกให้เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี ไม่คิดร้ายกับใคร ไม่กล่าวโทษตัวเองไปซะทุกเรื่อง 

6.ควรหางานอดิเรก คลายเครียด เข้าชมรมต่าง ๆ ที่เหมาะกับวัย หาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ไม่เคร่งเครียดหรือทำงานหนักเกินไป ร่วมกิจกรรมที่เพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ดูกีฬา

7.เป็นจิตอาสา ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมั่นใจ มีคุณค่า รู้ว่าใครรักและเป็นห่วง และให้อยู่ห่างจากคนที่ไม่ถูกใจ

8.ไม่ไปอยู่ในสถานการณ์หรือดูข่าวร้ายที่ทำให้จิตใจหดหู่ และอย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน

9.การใช้ยาเพื่อรักษาโรคใด ๆ อยู่ไม่ควรหยุดยาเอง โดยเฉพาะถ้ารักษาโรคด้านจิตเวชอยู่ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่ง อย่าได้ขาดหรือหยุดยาเอง

10.อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก หรือเข้าไปแบกความรับผิดชอบมาก ๆ

11.พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็ก เลือกทำที่สำคัญกว่าก่อน แล้วทำให้เต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้

12.อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกกดดันมากเกินไป

13.อย่าด่วนตัดสินใจกับเรื่องใหญ่ ๆ ในชีวิต เช่น ลาออก เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่า โดยไม่ปรึกษาคนอื่นที่รู้จักคุณดีและมีมุมมองที่เป็นกลางต่อปัญหา

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาหรือบำบัดได้ด้วยตัวเอง หากเริ่มรู้สึกว่ามีความเครียดสูง healthdoo การพบจิตแพทย์เป็นวิธีที่ดีเหมือนกับการตรวจสุขภาพจิตใจให้เข้าใจ แพทย์จะแนะนำวิธีป้องกันและปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้นด้วยการปรับวิธีคิด หรือรักษาด้วยการใช้ยา การพบจิตแพทย์จะช่วยให้เราได้รับการรักษาโรคซึมเศร้า หายได้ไหม อย่างถูกวิธี