HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

หนองใน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อันดับแรกสุด

หนองใน

ความรัก ความเข้าใจ การให้อภัย คือพื้นฐานของการสร้างตรอบครัว การรักเดียวใจเดียวเป็นสิ่งที่คู่ชีวิตทุกคู่ปรารถนา ไม่มีนอกลู่นอกทาง มีคู่นอนคนเดียวคือคู่ชีวิตของตัวเอง ทำให้ชีวิตมีความสุข ลดความเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย ซึ่งโรคเหล่านั้นจะติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับหลายคนและไม่มีการป้องกันที่คุ้นหู ก็จะมี โรคซิฟิลิส หนองในแท้ หรือ โรคโกโนเรีย (Gonorrhea) ที่พบได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาการจะดีขึ้นได้เองเพียงเล็กน้อย หนองใน เป็นเอดส์แต่ตัวโรคยังคงแฝงอยู่ 

โรคหนองใน คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถพบได้บ่อยมากเป็นอันดับแรกสุด โรคหนองใน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โรคหนองในแท้ หรือ โกโนเรีย (Gonorrhoea) เกิดจากการติดเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีรูปร่างค่อนข้างกลม โดยเชื้อนี้มีระยะฟักตัวเร็ว คือประมาณ 1-10 วัน ส่วน โรคหนองใน อีกประเภท คือ โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis)หรือ NSU เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หนองในแท้

สาเหตุของหนองใน

หนองใน เกิดจากการติดเชื้อหนองในซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria gonorrhoeae) สามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิและสารน้ำในช่องคลอด มักติดเชื้อจาก 

1.การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย มีการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก องคชาต โดยอาจมีหรือไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิก็ได้ 

2.จากมารดาสู่ทารกในระหว่างการคลอด จากการสัมผัสเชื้อโดยตรง ในสตรีเชื้อสามารถแพร่จากช่องคลอดไปสู่ทวารหนักได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

3.หนองใน เทียมเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย

อาการของหนองใน

1.ผู้ชาย หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-10 วัน จะมีอาการแสบในลำกล้องเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือถ่ายปัสสาวะขัด มีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ อาจจะแค่ไหลซึมเป็นมูกใส ๆ เล็กน้อยโดยไม่ใช่น้ำปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ แต่ในอีก 12 ชั่วโมงต่อมาจะกลายเป็นหนองสีเหลืองข้น และจะออกมากคล้ายเส้นก๋วยเตี๋ยว อาจมีอาการปวดและบวมของถุงอัณฑะ หรือมีการอักเสบที่หนังหุ้มปลายองคชาต 

2.สตรี มักจะไม่มีอาการแสดงในช่วงแรก แล้วจะเริ่มมีตกขาวผิดปกติ เช่น มีปริมาณมากขึ้น เป็นหนองสีเหลืองหรือสีเขียว มีกลิ่นเหม็น มีอาการขัดเบาและแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น ปวดท้องน้อย เลือดออกกะปริดกะปรอยในระหว่างรอบเดือน และถ้ามีการอักเสบของปีกมดลูก จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวด และกดเจ็บตรงท้องน้อยแบบปีกมดลูกอักเสบ 

3.หากติดเชื้อในลำคอ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ เป็นไข้ 

4.ติดเชื้อในทวารหนัก อาจทำให้เกิดอาการปวดหน่วง คัน หรืออาจมีน้ำคล้ายหนองออกมาในขณะขับถ่าย 

5.ติดเชื้อที่เยื่อบุตา อาจทำให้มีอาการเจ็บปวด ระคายเคือง และมีหนองไหล 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองใน

เมื่อเกิดการติดเชื้อหนองในแล้วไม่ได้รับการักษา อาจมีหนองไหลอยู่ประมาณ 3-4 เดือน และเชื้อหนองในอาจลุกลามเข้าไปยังบริเวณใกล้เคียง 

1.ท่อปัสสาวะอักเสบ ทำให้ท่อปัสสาวะตีบตันได้

2.ต่อมลูกหมากอักเสบ 

3.เป็นฝีที่ผนังของท่อปัสสาวะ

4.อัณฑะปวดบวม 

5.ท่อนำอสุจิเป็นหนอง อาจทำให้มีบุตรยากหรือกลายเป็นหมันได้

6.แคมใหญ่จนเกิดการอักเสบ หรือเป็นฝีบวมโต 

7.เยื่อบุมดลูกอักเสบ

 8.ปีกมดลูกอักเสบ 

9.ท่อรังไข่ตีบตัน กลายเป็นหมัน

10.ตั้งครรภ์นอกมดลูก

11.การอักเสบในอุ้งเชิงกราน (ช่องท้องน้อย) ทำให้มีอาการปวดท้อง มีไข้ 

12.ติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดไปที่ข้อ (หนองในเข้าข้อ) จนทำให้เป็นโรคข้ออักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน

13.เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

14.เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) ซึ่งอาจทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว และหัวใจวาย

วิธีรักษาโรคหนองใน

1.แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ ดังต่อไปนี้

          1.1.โดยการฉีดยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ขนาด 250 มิลลิกรัม เข้ากล้ามจำนวน 1 เข็ม ร่วมกับการให้ผู้ป่วยรับประทานยาอะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ขนาด 1,000 มิลลิกรัม จำนวน 1 ครั้ง จึงจะมั่นใจได้ว่าสามารถฆ่าเชื้อให้ตายได้หมด 

2.เมื่อเป็นโรคหนองในแท้มักจะเป็นหนองในเทียมจากการติดเชื้อ (Chlamydia)

ร่วมด้วยประมาณ 30% แพทย์จึงมักรักษาไปพร้อมกันทั้งสองโรคด้วยการให้ยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ไปกินครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

3.ควรได้รับการเจาะเลือดตรวจวีดีอาร์แอล

เพื่อให้แน่ใจว่าตนไม่มีการติดเชื้อซิฟิลิสร่วมด้วย ถ้าผลตรวจวีดีอาร์แอลเป็นผลบวกหรือที่เรียกว่า เลือดบวก ก็แสดงว่าเป็นซิฟิลิส โดยควรตรวจตั้งแต่ครั้งแรกก่อนให้การรักษาและตรวจซ้ำอีกครั้งในอีก 3 เดือนถัดไป 

4.ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว

เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง เกิดภาวะมีบุตรยาก อาจต้องนอนรับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัดแก้ไข

5.หญิงตั้งครรภ์เป็นหนองใน

ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนี้ให้หายขาด เพราะลูกอาจติดเชื้อในระหว่างคลอด ทำให้ตาอักเสบรุนแรงจนถึงขั้นตาบอดได้ หรืออาจเกิดการติดเชื้อรุนแรงกับอวัยวะอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของลูกได้ และยังอาจกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย

การดูแลตัวเองของผู้เป็นโรคหนองใน

1.หากมีอาการปัสสาวะแสบขัด หรือมีอาการปวด หรือมีผื่นขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์แล้วรีบไปพบแพทย์ 

2.ควรบอกให้คู่นอนมารับการรักษาด้วย และงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายดีทั้งคู่ (ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ จะต้องใช้ถุงยางอนามัยอย่างเคร่งครัด)

3.ทุกคนที่เป็นโรคหนองในจำเป็นต้องได้รับการรักษา ถึงแม้ว่าจะไม่แสดงอาการหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน และบางรายมีอาการดีขึ้นเองก็ตาม เพราะยังคงแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้อยู่ และยังรับเชื้อกลับเข้าได้อีก ซึ่งอาจทำให้พบภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น

4.ไม่ควรรีดหนองด้วยตนเองเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบจนเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 5.งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดเป็นเวลา 1 เดือน เพราะหากไม่ปฏิบัติตามจะทำให้หนองไหลมากยิ่งขึ้น 

6.ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคหนองในจะมีผลต่อประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด ในระหว่างการรักษาจึงควรงดการมีเพศสัมพันธ์ และในรอบเดือนนั้นควรใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัย

7.หลังได้รับการรักษาแล้ว แต่หากอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น ควรกลับไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากอาจพบภาวะเชื้อดื้อยาหรือโรคมีการลุกลามมากขึ้น

8.หากได้รับการรักษาแล้วและพบว่ามีอาการที่สงสัยว่าแพ้ยา เช่น มีผื่นคันขึ้นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน หรืออาการที่เป็นอยู่รุนแรงมากขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัด

9.เมื่อรักษาครบแล้วควรกลับมาตรวจซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าเชื้อหนองในหายสนิทในทุกตำแหน่งที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว เช่น ช่องปาก ทวารหนัก ช่องคลอด 

10.ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ และทำให้แห้งอยู่เสมอ 

11.ห้ามใช้ของร่วมกับผู้อื่นเพื่อลดการแพร่เชื้อ 

12.เข้ารับการตรวจตามนัดทุกครั้งและทำตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง 

วิธีป้องกันโรคหนองใน

1.การมีเพศสัมพันธ์ที่ดีควรมีคู่นอนเพียงคนเดียว และจะดีมากหากคู่นอนได้รับการตรวจแล้วว่าไม่มีการติดเชื้อใด ๆ

2.หลีกเลี่ยงการเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ควรใช้ถุงยางอนามัยเสมอ ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคหนองในได้เกือบ 100% 

3.หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดหน้าและผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ ชุดชั้นใน ไม่ใส่ซ้ำ ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง ดูแลความสะอาดร่างกาย และความสะอาดของเสื้อผ้า

4.ควรดื่มน้ำก่อนเพศสัมพันธ์ และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังเพศสัมพันธ์ หรือฟอกล้างสบู่ทันทีหลังร่วมเพศ อาจช่วยลดการติดเชื้อลงได้บ้าง แต่ไม่ใช่ว่าจะได้ผลทุกราย 

5.ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่ายโดยล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง แล้วซับให้แห้ง

6.มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

7.ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีหนองไหลจากอวัยวะสืบพันธุ์ ควรไปพบแพทย์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

8.หากคู่นอนมีอาการน่าสงสัย ควรพามาพบแพทย์ และใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์

หนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสำคัญ ถ้ามีการร่วมเพศทางปากหรือทวารหนักก็อาจทำให้เป็นหนองในลำคอหรือทวารหนักได้ แต่ไม่มีผลทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และหากเคยเป็นโรคหนองใน หลังจากได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว เบื้องต้นต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นโรคหนองในซ้ำอีกได้ healthdoo.today หากมีอาการปัสสาวะแสบขัด หรือมีอาการปวด หรือผื่นขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ ควรหยุดการมีเพศสัมพันธ์ แล้วรีบปรึกษาแพทย์ โดยให้พาคู่นอนไปตรวจด้วยเช่นกัน เชื้อหนองในไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสระว่ายน้ำหรือในโถส้วม ดังนั้นหนองใน เป็นเอดส์ จึงไม่มีโอกาสที่คนปกติทั่วไปจะติดเชื้อหนองในจากสระน้ำหรือโถส้วม