HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

อาการแพ้กุ้ง เกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ในภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอาการแพ้

อาการแพ้กุ้ง

อาหารทะเลเป็นอาหารโปรดของหลายคน ไม่ว่าจะปูม้า ปูทะเล กั้ง กุ้ง หอย และปลาต่าง ๆ แต่ก็มีคนไม่น้อยที่ไม่สามารถรับประทานเพราะมีอาการแพ้ และคนส่วนใหญ่ก็จะแพ้กุ้ง ซึ่ง อาการแพ้กุ้ง เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นลมพิษ ผื่นคัน หน้าบวม หรือหายใจติดขัด อาการแพ้กุ้ง อันตรายไหม เป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองรุนแรงกว่าปกติ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต 

กุ้งเป็นสัตว์ที่มีปล้องหรือเปลือกห่อหุ้ม เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ กุ้งมีหลายสายพันธุ์ ทั้งกุ้งน้ำจืดและน้ำเค็ม แต่ละสายพันธุ์มีปริมาณโปรตีนแต่ละชนิดแตกต่างกัน และบางชนิดมีโปรตีนเฉพาะสายพันธุ์ ชนิดของกุ้งที่นิยมมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ กุ้งขาว กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งแม่น้ำ ส่วนของกุ้งที่นิยมกินกันคือ กล้ามเนื้อลำตัวและส่วนของหัวกุ้ง ซึ่งประกอบด้วยหัวใจ กระเพาะ ตับและตับอ่อน(มันกุ้ง) 

อาการแพ้กุ้ง

เมื่อเกิดอาการผิดปกติภายหลังจากการรับประทานกุ้ง คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นอาการที่เกิดมาจากการแพ้กุ้ง ซึ่งอาจเป็นการแพ้สารในกุ้งโดยตรง หรือแพ้สารอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งก็ได้ อาการแพ้กุ้งเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองมากกว่าปกติ มีการกระตุ้นการหลั่งสารเคมีเพื่อมาต่อสู้ระหว่างสารที่แพ้จึงทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา โดยทั่วไป อาการแพ้กุ้งมักเกิดจากสารฮีโมไซยานิน ที่อยู่ในกุ้งแม่น้ำหรือกุ้งก้ามกราม สารโปรตีนลิพิดไบน์ดิง และโปรตีนแอลฟาแอกตินิน ที่อยู่ในกุ้งกุลาดำหรือกุ้งลายเสือ ซึ่งอาการแพ้เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ส่วนมากจะเกิดอาการแพ้ภายในไม่กี่นาทีไปจนถึง 2 ชั่วโมง โดยส่งผลกับระบบของร่างกายจนสามารถสังเกตุได้จากภายนอก ซึ่งลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอาจแบ่งได้ ดังนี้

1.ผิวหนัง

อาการแพ้ในรูปแบบนี้มักจะเห็นได้ชัดเจน เช่น ลมพิษ ผื่นแดง คัน พบอาการบวม หน้าบวม ปากบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก และคอ

2.ระบบทางเดินหายใจ

เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณคอที่บวมมากขึ้นอาจส่งผลให้หายใจไม่สะดวก  รวมถึงสารฮิสตามีนที่หลั่งออกมาจะส่งผลให้มีอาการไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก หลอดลมตีบเฉียบพลัน หรือหายใจติดขัด

3.ลำไส้และกระเพาะอาหาร

อาการแพ้อาจส่งผลให้มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว และปวดท้อง หรือถ่ายเป็นมูกเลือด

4.ระบบประสาท

อาการแพ้อาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หน้ามืด และเป็นลมได้

คำเตือน : หากมีอาการตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป เรียกได้ว่ามีภาวะปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง หรือ Anaphylaxis สามารถทำให้เสียชีวิตได้ หากผู้มีอาการแพ้เกิดอาการความดันต่ำ และหมดสติ

5.ภาวะปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง

ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) เป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่อันตรายถึงชีวิต จะมีอาการหายใจไม่ออก หน้ามืด ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดต่ำลง ช็อก หมดสติ และเสียชีวิต ดังนั้น ควรรีบโทรเรียกรถพยาบาลทันทีเมื่อสังเกตได้ว่ามีอาการแพ้เกิดขึ้น แม้ความรุนแรงของ อาการแพ้กุ้ง อาจขึ้นอยู่ปริมาณที่รับประทาน แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะการได้รับสารก่ออาการแพ้เพียงเล็กน้อยในผู้ที่มีอาการแพ้กุ้งบางรายก็อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเฉียบพลันขึ้นได้ทันที 

สาเหตุของอาการแพ้กุ้ง

แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่แพ้กุ้งซะอย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะ อาการแพ้กุ้ง สามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ในภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอาการแพ้ (IgE) ที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนในเนื้อกุ้ง เกิดได้ทั้งเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ แต่ละคนอาจแพ้กุ้งที่ไม่เหมือนกันได้ เพราะกุ้งหน้าตาไม่เหมือนกันโปรตีนบางส่วนก็ไม่เหมือนกัน โดยคนที่แพ้กุ้งส่วนใหญ่จะแพ้โปรตีน Tropomyosin ซึ่งในกุ้งทุกพันธุ์ และสัตว์จำพวกกุ้ง จะแพ้มาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณโปรตีนในกุ้ง

การทดสอบอาการแพ้ทำบริเวณผิวหนัง 

การทดสอบการแพ้สามารถทำ โดยหยดน้ำยาที่สกัดจากสารภูมิแพ้ที่มีอยู่ในอาหารลงบนผิวหนังที่แขน และใช้เข็มสะกิดผิวหนังเพื่อทดสอบการแพ้ (skin prick test) หรือฉีดน้ำยาเข้าผิวหนัง (intradermal test) ทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 นาที หากเกิดรอยนูน ผื่นแดง หรือรู้สึกคัน แสดงว่าแพ้อาหารชนิดนั้น

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการแพ้กุ้ง

1.เมื่อเกิดอาการแพ้และมีอาการคัน ให้ใช้ยาทาแก้คันทาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น คาลาไมด์

2.ให้สังเกตุอาการ หากภายใน 5-10 นาที อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการคันมากขึ้น เกิดผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังทั่วร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

3.ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกุ้งเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากอาการแพ้ได้

ใคร ๆ ก็รู้ว่ากุ้งนั้นมีรสชาติดี เป็นอาหารจานโปรดตั้งแต่เด็ก ๆ แต่บางคนตอนเด็กไม่เคยมี อาการแพ้กุ้ง มาก่อน แต่พอโตมากลับมี อาการแพ้กุ้ง ซึ่งเกิดจากที่มีการสะสมสารก่ออาการแพ้มาตั้งแต่เด็ก เมื่อถูกกระตุ้นมากขึ้นจึงส่งผลให้เกิดอาการแพ้ บางคนที่แพ้กุ้งเพียงบางชนิดเกิดจากสารภายในตัวกุ้งที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ เช่น กุ้งน้ำจืดและกุ้งน้ำเค็ม และบางคนอาจแพ้โปรตีนที่อยู่ในเปลือกของกุ้ง

ที่สำคัญคนที่แพ้กุ้งจำเป็นต้องรู้อาการของตัวเองว่ามีอาการแบบไหน มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน รับประทานปุ๊บเป็นปั๊บ และเป็นทุกครั้งที่รับประทานกุ้งหรือไม่ ถ้าใช่ ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกุ้งไปตลอดชีวิต ไม่สามารถหายแพ้ได้ แต่หากไม่ได้มีอาการรุนแรง แพ้บ้างไม่แพ้บ้าง จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจให้แน่ใจกับแพทย์เท่านั้น เพื่อให้ทราบว่าแพ้กุ้งจริงหรือไม่ และหาทางรักษาอย่างถูกวิธีกันต่อไป

การรับมือกับ อาการแพ้กุ้ง ที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ เพื่อป้องกันอาการแพ้ healthdoo.today ถ้าหากรับประทานไปแล้วเกิดอาการแพ้ในระดับที่ไม่รุนแรงอาจใช้ยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้ แสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง มีอาการเวียนศีรษะ ความดันต่ำ หรือรู้สึกคล้ายจะหมดสติ ควรเรียกรถพยาบาลทันที และควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติการแพ้กุ้งและอาหารทะเล เช่น ปู หอย ปลาหมึก มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะแพ้กุ้งร่วมด้วย ซึ่งอาการแพ้ไม่อาจเดาสุ่มได้ ควรทดสอบอาการแพ้กุ้ง อันตรายไหม ให้ทราบแน่ชัดว่าร่างกายแพ้กุ้งหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย