HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

อาการแพ้ยา ปฎิกริยาตอบสนองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย

อาการแพ้ยา

การเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา แต่เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องรีบไปตรวจรักษาและเวลาที่ไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะที่คลินิค สถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือแม้แต่ร้านขายยา คำถามที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ คือ แพ้ยาอะไรหรือเปล่า อาการแพ้ยา กี่วันหาย ซึ่งบางคนยังไม่รู้เลยว่าตัวเองแพ้ยาอะไรหรือเปล่า 

ข้อมูลเรื่องการแพ้ยา healthdoo.today ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญมากที่ทุกคนต้องใส่ใจและให้ความสำคัญ  เพราะหากแพ้ยาตัวไหน แพทย์จะได้ไม่ต้องสั่งยาตัวนั้นให้ ซึ่งบางคนแพ้รุนแรงมากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

การแพ้ยา คือ ปฎิกริยาตอบสนองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่แสดงอาการคล้ายคลึงกับโรคภูมิแพ้ หรือสร้างภูมิคุ้มกันไวเกินไปต่อตัวยาชนิดนั้นๆ จึงมีการแสดงอาการออกมา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการกิน ฉีด ทา และดม คล้ายการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ซึ่ง อาการแพ้ยา ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน

อาการแพ้ยา

ร่างกายของแต่ลคนมีการตอบสนองไม่เหมือนกัน ทำให้ อาการแพ้ยา จึงไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แม้ว่ายาที่ได้รับจะเป็นคำสั่งจากแพทย์ แต่ก็สามารถเกิด อาการแพ้ยา ได้ โดยอาการแพ้ยานั้นมีหลายอาการหลายรูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็นทางผิวหนัง เช่น ผื่นแดง ตาบวม หน้าบวม มีทั้งแบบที่อาการรุนแรงและไม่รุนแรง แบ่งออกเป็น  3 กลุ่มอาการใหญ่ ๆ

กลุ่มที่ 1 มี อาการแพ้ยา แต่ไม่รุนแรง มีอาการเป็นผื่นแดง คล้ายลมพิษขึ้น หรือคันที่ผิวหนัง อาจจะเป็นที่ใบหน้า หรือมือ บางคนอาจจะตาบวม หน้าบวม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นจากยาชนิดรับประทานมากกว่า

กลุ่มที่ 2 มีอาการแพ้ แบบไม่รุนแรง มีอาการหายใจติดขัด หรือมีอาการผื่นขึ้นทั้งตัว กลุ่มนี้ควรหยุดยาหรือหยุดสิ่งที่แพ้ทันที แล้วดื่มน้ำเยอะ ๆ แล้วรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที เพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้แบบรุนแรง

กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มี อาการแพ้ยา แบบรุนแรง มักจะเป็นการแพ้ยาในกลุ่มเพนิซิลลิน ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อต้านการอักเสบ หรือยาปฎิชีวนะ อาการที่พบ จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ น้ำมูกไหลหรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด มีผื่นแดง หรือผื่นสีเข้ม ขึ้นตามตัว แขน ขา รอบ ๆ ปาก หรือบริเวณลำตัว หน้าบวม แขนขาบวม ปากบวม ลิ้นบวม หรือมีอาการผิวหนังหลุดลอก เจ็บบริเวณเยื่อบุอ่อน ใจสั่น แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน หรือหายใจ  ชีพจรเต็นเร็วและเบา ความดันโลหิตต่ำ อาจถึงขั้นหยุดหายใจ และเสียชีวิตได้ ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

วิธีปฏิบัติเมื่อมีอาการแพ้ยา

อาการแพ้ยา ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ต้องคอยสังเกตุตัวเองรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการ และถ้าหากเริ่มมีอาการ สิ่งที่ควรต้องทำ คือ

1.หยุดยา หรือสิ่งที่แพ้ทันที และจดจำ อาการแพ้ยา ที่เกิดขึ้น รีบพบแพทย์ หากพบว่ามีอาการผิดปกติหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมงหรือภายใน 2-3 วัน

2.ถ่ายรูปผื่นขณะที่มีอาการด้วยกล้องถ่ายรูป หรือโทรศัพท์มือถือ โดยเน้นให้เห็นผื่นชัดเจน เพื่อนำไปให้คุณหมอวินิจฉัย

3.หากผื่นมีการเปลี่ยนแปลง ต้องถ่ายรูปเก็บไว้ทุกครั้ง

4.นำยาทั้งหมด พร้อมสลากยามาพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์พิจารณาโดยเร็วที่สุด

5.สำหรับผู้ที่มีประวัติแพ้ยา วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่แพ้ 

6.ต้องจดจำชื่อยาที่แพ้ให้แม่นยำ และแจ้งแพทย์ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา

7.พกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้เสมอแสดงบัตรแพ้ยา หรือชื่อยาที่แพ้ ให้กับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งที่มาใช้บริการ และแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการแพ้ และประวัติการรักษา 

8.หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือกลุ่มของยาที่แพ้ซ้ำ เพราะยาในกลุ่มเดียวกัน มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอาการแพ้เหมือนกัน ซึ่งข้อมูลนี้แพทย์ หรือเภสัชกรควรต้องได้รับข้อมูลอย่างละเอียด

9.หลีกเลี่ยงการทำให้อาเจียน และการซื้อยาแก้แพ้รับประทานเอง

10.บอกคนใกล้ชิดหรือคนรอบตัวเรื่องการแพ้ยา หากเกิดภาวะฉุกเฉินจะได้แก้ไขปัญหาได้ทัน

กลุ่มเสี่ยงต่ออาการแพ้ยา

กลุ่มเสี่ยงต่ออาการแพ้ยา คือผู้ป่วยด้วยโรคบางโรค เช่น คนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง เช่น ผู้ป่วย SLE กลุ่มคนไข้มะเร็งเม็ดเลือดขาว กลุ่มคนไข้ติดเชื้อไวรัส เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี เป็นต้น

การแพ้ยาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับยาที่ได้รับในครั้งแรกเท่านั้น แม้แต่ยาที่เคยได้รับมาแล้วก็อาจจะเกิดอาการแพ้ได้ ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะแพ้ยาชนิดนั้นหรือไม่ นอกจากได้รับยาเข้าไปแล้วเกิดอาการแพ้เท่านั้น ยกเว้นยาบางชนิดที่แพทย์สามารถใช้การตรวจเลือดประเมินความเสี่ยงของการแพ้ยาได้ เช่น ยากันชัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้รู้ล่วงหน้าว่าคนไข้จะแพ้ยาชนิดนั้นหรือไม่

ข้อควรระวังต่ออาการแพ้ยา 

หลังจากได้รับยาแล้วควรเฝฝ้าสังเกตอาการหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมง (ระวัง อาการแพ้ยา แบบฉับพลัน) และภายใน 2-3 วันหลังรับยา (ระวัง อาการแพ้ยา แบบไม่ฉับพลัน) หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีผื่นขึ้น เกิดลมพิษ และอื่น ๆ ควรหยุดยาและรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยาแก้แพ้มารับประทานเอง

ผู้ที่มี อาการแพ้ยา ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยอย่างละเอียดเมื่อต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ใด ๆ ก็ตาม รวมทั้งพกบัตรประจำตัวที่มีรายละเอียดอาการแพ้ยา และควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดที่แพ้ เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ยาที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

หากไม่เคยแพ้ยามาก่อน สิ่งที่ควรตอบ คือ ไม่ทราบว่าอาการแพ้ยา กี่วันหาย เพราะไม่รู้ว่าตอนเด็ก ๆ มี อาการแพ้ยา อะไรหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เคยแพ้ยา ให้ตอบว่า ไม่ทราบ หรือ ไม่รู้ หากเราตอบว่าไม่แพ้ คุณหมอก็จะสรุปว่าเราไม่ได้แพ้ยา สามารถให้ยาอะไรก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ก็อาจจะเกิดอาการแพ้เกิดขึ้นได้