HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคเบาหวาน ความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมน อินสุลิน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินสุลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินสุลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่างๆของร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินสุลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ หากน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จะทำให้ไตซึ่งปกติจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ โรคเบาหวาน อาการ ดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด

ชนิดของโรคเบาหวาน

       ✅ เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินสุลินในตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะขาดอินสุลิน

       ✅ เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะการลดลงของการสร้างอินสุลิน ร่วมกับภาวะดื้ออินสุลิน และมักเป็นกรรมพันธุ์

       ✅ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และหายไปได้หลังคลอดบุตร แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในอนาคต

       ✅ เบาหวานชนิดพิเศษ เช่น เป็นโรคของตับอ่อน หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของอินสุลินโดยกำเนิด

อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ 

1.กระหายน้ำมาก ปากแห้ง เนื่องจากการสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อยครั้ง ร่างกายจึงจำเป็นต้องชดเชยน้ำที่เสียไป

2.ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก

3.หิวบ่อย ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เซลล์ไม่ได้รับพลังงาน ร่างกายจึงพยายามหาแหล่งอาหารมากขึ้นด้วยการส่งสัญญาณออกมาด้วยอาการหิว

4.น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ 

5.สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด เกิดากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลนส์ตาจนจอตาเกิดอาการผิดปกติ หรือมีระดับน้ำตาลสูงมาเป็นเวลานานจนเกิดความผิดปกติของจอตา

6.รู้สึกเหนื่อยง่าย น้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานได้ จึงเหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลีย

7.มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา 

8.บาดแผลหายยาก มีการติดเชื้อทางผิวหนัง

9.เหงือกบวมแดง มีเลือดหรือหนองออก เหงือกร่น เหงือกมีอาการติดเชื้อหรือเป็นโรค

สาเหตุของโรคเบาหวาน

สำหรับสาเหตุของ โรคเบาหวาน นั้น เกิดจากร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าไปในกระแสเลือดได้ จากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือเนื้อเยื่อเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเบาหวานตามประเภทที่พบโดยทั่วไป ได้ดังนี้

1.เบาหวานประเภทที่ 1 เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากเบตาเซลล์ (Beta cells) ของตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ มักพบในผู้ที่มีอายุน้อยและอาการจะมีการพัฒนารวดเร็ว เกิดแบบเฉียบพลัน 

2.เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะการดื้นอินซูลิน หรือความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินของตับอ่อนน้อยเกินไป มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก อาการของโรคจะมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลานาน

3.เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกขณะตั้งครรภ์เท่านั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 

4.เบาหวานจากโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เบาหวานจากโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง เบาหวานจากโรคต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ฮอร์โมนผิดปกติจากการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ส่งผลกับระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ คือ

1.โรคแทรกซ้อนทางด้านตา เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจนเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลนส์ตา ทำให้จอตาผิดปกติ โรคที่พบมาก คือ เบาหวานขึ้นตา ต้อกระจก ต้อหิน หรือปัญหาทางด้านสายตา หากปล่อยทิ้ง ๆไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดจอประสาทตาลอก และตาบอดได้ในที่สุด

2.โรคทางระบบเส้นเลือดและหัวใจ เมื่อระดับน้ำตาลถูกสะสมในเลือดในปริมาณมาก ทำให้เกิดการหนาตัวของเส้นเลือดมากขึ้น เป็นผลให้เส้นเลือดแคบลงและอาจเกิดการอุดตัน และยังเพิ่มโอกาสของเส้นเลือดแข็งได้ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตและพิการได้สูงมากกว่าคนทั่วไป

3.แผลเบาหวานที่เท้า เกิดจากเส้นประสาทบริเวณเท้าเสียหายและการไหลเวียนของเลือดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การติดเชื้อ จนต้องตัดสินใจตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาของทิ้งในกรณีที่อาการไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น

4.โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ที่พบบ่อยที่สุด คือมีอาการชาปลายมือปลายเท้า เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาททั่วร่างกายขั้นปานกลางถึงรุนแรง เมื่อเกิดแผลขึ้นในบริเวณต่าง ๆ จึงรับความรู้สึกได้น้อยลง 

5.โรคแทรกซ้อนทางไต เป็นโรคสำคัญอีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในเลือดที่มีมากขึ้นกว่าคนปกติ ทำให้ไตทำงานผิดปกติ มีโปรตีนเล็ดลอดออกทางปัสสาวะ ซึ่งในระยะแรกจะไม่สามารถตรวจพบ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี การทำงานของไตจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดภาวะไตวายเรื้อรังจนต้องทำการล้างไตในที่สุด

6.โรคเกี่ยวกับช่องปากและฟัน เนื่องจากความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะส่งผลต่อการอักเสบเนื้อเยื่อรอบฟัน มีโอกาสมากที่จะเป็นโรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ 

7.โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้นหรือทารกในครรภ์อาจจะเสียชีวิตได้ คลอดลำบากจากทารกที่มีน้ำหนักตัวมาก

8.โรคทางด้านผิวหนัง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา อาการคัน หรือปัญหาผิวอื่น ๆ น้ำตาลส่วนเกินไปเกาะกับเม็ดเลือดขาวที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆได้ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อต่าง ๆได้ง่าย

การรักษาโรคเบาหวาน

การรักษา โรคเบาหวาน เป็นการรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากแพทย์ พยาบาล โภชนากร และ ที่สำคัญที่สุดคือตัวผู้ป่วยเองจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการรักษา โดยต้องเข้าใจก่อนว่า โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังต้องควบคุมระดบน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงปกติที่สุด มีวิธีดูแลรักษาดังนี้

1.การควบคุมอาหารมีความสำคัญมากในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และถือเป็นการรักษาหลัก เริ่มากอาหารที่สามารถรับประทานได้อย่างไม่จำกัดจำนวนได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว เป็นต้น อาหารบางชนิดสามารถรับประทานได้ในปริมาณจำกัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร ส้มเขียวหวาน ประมาณ 1-2 ผลเล็กต่อวัน กล้วยหอม 1 ผลต่อวัน หรือสับปะรด 1 ซีกต่อวัน เป็นต้น อาหารที่ไม่ควรรับประทานได้แก่ ขนมหวาน เบเกอรี่ น้ำผลไม้บรรจุขวด น้ำอัดลม เครื่งดื่มชูกำลัง กาแฟเย็น ชาเขียวบรรจุขวด เป็นต้น

2.การออกกำลังกาย จะช่วยให้อินสุลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิค เช่น วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายชนิดต้านน้ำหนัก เช่น การยกเวท เป็นเวลาอย่างน้อย 45 นาทีต่อวัน 2 วันต่อสัปดาห์ 

3.การใช้ยา แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของโรคเบาหวาน เช่น เบาหวานชนิดที่ 1 ควรรักษาโดยการฉีดอินสุลินเท่านั้น ส่วนในเบาหวานชนิดที่ 2 แพทย์จะพิจารณาตามความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อน โอกาสการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ และเศรษฐานะของผู้ป่วยเพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกใช้ยา

4.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

5.ควรแบ่งมื้ออาหารหลักออกเป็นมื้อย่อย ๆ ในแต่ละวัน เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลิน

6.การควบคุมน้ำหนักให้คง ไม่ให้น้ำหนักเกินจนเป็นโรคอ้วน

7.สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรกและพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ 

8.กรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานขึ้นที่เท้าเนื่องจากเส้นประสาทที่เท้าเกิดความเสียหายและระบบไหลเวียนโลหิตที่เท้าผิดปกติจนอาจเกิดอาการเท้าบวมหรือเป็นแผล แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล เป็นต้น หมั่นตรวจสอบว่ามีแผลหรืออาการบวมแดงหรือไม่ และไปปรึกษาแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ

9.การรักษาทางเลือกอื่น ๆ โดยการใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและยังใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร สมุนไพรหลายชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย และการใช้พืชสมุนไพรก็อาจเป็นทางเลือกเสริมในการช่วยบำบัดโรคเบาหวานให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทาน สมุนไพรที่นิยมกันมาก คือ

1.ตำลึง  อุดมด้วย วิตามินและแร่ธาตุสูง ช่วยในเรื่องการลดระดับน้ำตาลในเลือด นิยมนำใบมาประกอบอาหาร ซึ่งใบแก่จะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าใบอ่อน ราก และผล อีกทั้งยังช่วยบำรุงสายตา ป้องกันตามัว เนื่องจากการขาดวิตามินเอ

2.มะระขี้นก ช่วยในการเจริญอาหาร ขับพยาธิ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ น้ำคั้นสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ และยังมีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนอินซูลิยับยั้งการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสที่มากขึ้นในตับ และชะลอการเกิดต้อกระจกที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอีกด้วย 

3.มะแว้งต้น ผลสุกของมะแว้งต้นจะช่วยในเรื่องแก้ไอ ขับเสมหะ และมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดหรือแบบลวก 

4.ฟ้าทะลายโจร ฟ้าทะลายโจรสามารถนำใช้ได้หลายส่วน โดยส่วนรากจะช่วยในเรื่องการเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้ไข้ ส่วนลำต้นเป็นยาบำรุง แก้อาการท้องร่วง และส่วนใบนำมาใช้ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ กระเพาะ ลำไส้อักเสบ

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด ดังนั้นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ การป้องกัน โรคเบาหวาน แต่ละชนิดยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยโประเภทที่ 1 แทบไม่สามารถป้องกันการเกิดของโรคได้ เพราะสาเหตุการเกิดมาจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ประเภทที่ 2 สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม แต่ถ้าเกิดเป็นโรคเบาหวานแล้วยังสามารถควบคุมอาการของโรคและดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ โดยการควบคุมการรับประทานที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ และการได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมก็สามารถป้องกัน โรคเบาหวาน อาการ การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นควรตรวจวินิจฉัยโรค healthdoo ตั้งแต่ระยะแรก ๆ เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกวิธี