HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

เท้าบวม สัญญาณที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ

เท้าบวม

สุขภาพดีใคร ๆ ก็ปรารถนาแต่ก็ดังคำกล่าวที่ว่า สุขภาพไม่มีขาย อยากได้ต้องดูแลตัวเอง ค่อยหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง หากมีอาการผิดปกติ เช่น เท้าบวม (Swollen Feet) หรือก็คือ เป็นอาการบวมที่เกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณเท้าไปจนถึงข้อเท้า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมีทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง ซึ่งเท้าบวม วิธี แก้ เป็นสัญญาณที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นอาการแสดงเบื้องต้นของโรคหลาย ๆ โรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อาการเท้าบวม 

อาการจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยอาการทั่วไปที่มักพบในผู้ที่มีข้อเท้าหรือเท้าบวม ได้แก่

1.ข้อเท้า หรือเท้าทั้ง 2 ข้างขยายขนาดขึ้น บางรายบริเวณที่บวมจะมีลักษณะแดง หรือสัมผัสแล้วรู้สึกอุ่น ๆ

2.เมื่อสัมผัสบริเวณเท้าอาจจะรู้สึกว่านิ่มผิดปกติ หากใช้นิ้วกดลงไปที่เท้าแล้วจะเกิดรอยบุ๋ม เมื่อยกนิ้วออกบริเวณที่บุ๋มลงไปจะคืนสู่สภาพเดิมอย่างช้า ๆ ผิดปกติ หรือไม่เด้งกลับมา

3.ใส่รองเท้าแล้วคับ ใส่กางเกงแล้วติดขา มองเห็นรอยพับชัดเจนบนผิวหนังที่บวมเมื่อถอดรองเท้า หรือถุงเท้าออก

4.สีผิวหนังของเท้าที่บวมอาจปกติหรือซีดกว่าปกติ

สาเหตุของเท้าบวม

เท้าบวมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากสาเหตุที่บริเวณข้อเท้าหรือเท้าโดยตรง หรืออาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของร่างกาย  ที่พบบ่อยได้แก่

1.อาการบาดเจ็บที่เท้าหรือข้อเท้า

ขาบวมมักเกิดจากข้อเท้าแพลงจากอุบัติเหตุ หรือการสะดุดล้ม ทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อเท้ายืดมากผิดปกติ 

2.หลอดเลือดดำบกพร่อง

หลอดเลือดดำจะมีการไหลเวียนของเลือดขึ้นไปที่หัวใจในลักษณะไหลเวียนไปในทางเดียวและมีลิ้นที่คอยกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ แต่หากลิ้นดังกล่าวเสียหาย จะทำให้หลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ และเลือดไหลย้อนกลับไปคั่งที่บริเวณเท้าและขา จนเกิดอาการบวมที่เท้าโดยเฉพาะการยืนนาน ๆ

3.การติดเชื้อ

อาการเท้าบวมและข้อเท้าบวมอาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะพบในโรคเบาหวานที่มีอาการลุกลามไปยังเส้นประสาทส่วนปลายบริเวณเท้า การติดเชื้ออักเสบที่เท้าจะทำให้เท้าที่บวมมีอาการแดงร้อนและปวดหรือมีไข้ได้ มักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง

4.ลิ่มเลือดอุดตัน

หากเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำที่บริเวณขา ก็อาจทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ โรคเส้นเลือดดำอุดตันที่ขา มักพบขาบวมข้างใดข้างหนึ่งอาจจะรู้สึกปวดได้ มักพบในคนไข้ที่ไม่ได้ขยับขา เช่น หลังผ่าตัด นอนติดเตียง 

5.ภาวะบวมน้ำเหลือง

เกิดจากการคั่งของน้ำเหลืองบริเวณใต้ผิวหนัง เกิดจากการไหลเวียนของน้ำเหลืองโดนขัดขวาง จนทำให้เกิดอาการบวมที่บริเวณเท้า และข้อเท้า 

6.ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

มียาจำนวนไม่น้อยที่มีผลข้างเคียงทำให้ข้อเท้าและเท้าบวม ได้แก่

      6.1.ฮอร์โมนต่าง ๆ เอสโตรเจน หรือฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

      6.2.แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิต

      6.3.ยาสเตียรอยด์ เช่น ยาคอร์ติซอลสเตียรอยด์ 

      6.4.ยาต้านเศร้า คือ ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า เช่น ยานอร์ทริปไทลีน และยาอะมิทริปไทลีน 

      6.5.ยาต้านอาการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน 

      6.6.รักษาโรคเบาหวานบางชนิด

7.ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์

อาการเท้าบวม และข้อเท้าบวมมักพบได้โดยทั่วไปในสตรีที่ตั้งครรภ์ แต่หากอาการบวมเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อนข้างรุนแรง อาจมีสาเหตุเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษได้ 

8.โรคหัวใจ

ในภาวะหัวใจวายน้ำท่วมปอดจะทำให้มีอาการขาบวมทั้งสองข้างและมีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ต้องใช้หมอนหลายใบ

9.โรคไต

ไตวายเรื้อรังจะมีอาการน้ำเกิน ขาทั้งสองข้างจะบวม เหนื่อยนอนราบไม่ได้ ปัสสาวะออกน้อย และในภาวะไตอักเสบหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ จะมีขาบวมทั้งสองข้าง ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะเป็นฟอง หนังตาบนทั้งสองข้างบวม

10.โรคตับ

ภาวะตับแข็งทำให้เกิดอาการบวมในขาทั้งสองข้างได้ และมักจะพบท้องบวมโตได้

การรักษาอาการเท้าบวม

โดยทั่วไปแล้วหากอาการเท้าบวมเกิดขึ้นจากกิจกรรมในชีวิตประจำหรือการบาดเจ็บเล็กน้อย อาจไม่ต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ แต่ให้ผู้ป่วยดูแลรักษาอาการด้วยตนเองที่บ้าน ซึ่งวิธีที่ช่วยลดอาการบวมของเท้าได้ มีดังต่อไปนี้

1.ยกขาให้สูงขึ้นขณะนอนหงาย เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก หนุนเท้าให้สูงขณะนอนหลับ หากขาและเท้าอยู่ในระดับที่สูงพอในขณะนอนหลับก็จะช่วยให้อาการบวมลดลง

2.ยืดเหยียดขาอยู่เสมอ จะทำให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น ลุกขึ้นเดินเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันของเหลวลงไปคั่งที่บริเวณขาและเท้า

3.ลดปริมาณการรับประทานเกลือ ช่วยลดการเกิดน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ ทำให้อาการบวมลดลง

4.ใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดบริเวณต้นขา หรือข้อเท้า เพราะอาจทำให้เท้าบวมได้

5.สวมผ้ารัดข้อเท้าหรือเท้า เพื่อช่วยลดอาการบวม

6.ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว การดื่มน้ำให้พอเหมาะทุกวันจะลดอาการบวมที่เกิดขึ้นและช่วยป้องกันอาการบวมได้

7.ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด 

แต่หากอาการบวมเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ แพทย์จะเริ่มต้นรักษาที่ต้นเหตุก่อนเป็นอันดับแรก โดยวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอาการบวมของเท้าซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดน้ำและเกลือออกจากร่างกายได้คือ การใช้ยาขับปัสสาวะ ซึ่งใชัภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น

ขณะที่ผู้ป่วยเท้าบวมอันเนื่องมากจากการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาเพื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียในการใช้ยาดังกล่าวกับการรักษาอาการเจ็บป่วย หากยาดังกล่าวก่อให้เกิดอาการบวมอย่างรุนแรง แพทย์อาจสั่งหยุดยา ปรับเปลี่ยนขนาดยา หรือเปลี่ยนยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยมากที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนเท้าบวม

เท้าบวมและข้อเท้าบวมอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสาเหตุ 

1.ผิวหนังบริเวณที่บวมเปลี่ยนสี หรือมีแผลเปื่อยร่วมด้วย 

2.เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ มีไข้ เป็นฝี มีภาวะเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เนื้อตาย และอาจรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

3.มีอาการเจ็บ หรือแน่นที่หน้าอกผิดปกติ

4.ครรภ์เป็นพิษ 

5.วิงเวียนศีรษะ มึนงง รู้สึกเหมือนจะเป็นลม 

 6.มีปัญหาในการหายใจ คือหายใจถี่ หรือหายใจลำบาก 

เท้าบวมไม่สามารถป้องกันได้ 100% ดังนั้นถ้ามีภาวะอาการเท้าบวม การรักษาเบื้องต้นที่บ้านก็คือ การยกเท้าขึ้นสูง ลดการรับประทานเค็ม ขยับขาบ่อย ๆ และควรมาพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการเท้าบวมซ้ำ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ที่สำคัญ เท้าบวม วิธี แก้ ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมที่จะทำให้เกิดอาการเท้าบวม healthdoo.today อย่างเช่นการรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหรือหวาน รวมถึงขนมคบเคี้ยวด้วย