เลือดกำเดาไหลบ่อย สัญญาณของโรคอันตรายหลาย ๆ โรค
ทุกคนคงมีประสบการณ์เลือดกำเดาไหล ซึ่งดูเหมือนจะเป็นอาการที่พบเห็นกันได้บ่อยและทั่วไป เลือดกำเดาไหลบ่อย เป็นอาการที่มีเลือดไหลออกจากรูจมูกเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มาจากเส้นเลือดภายในโพรงจมูกแตก ซึ่งค่อนข้างเปราะบางและแตกได้ง่าย จึงทำให้คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้รู้สึกตระหนักว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยของโรคร้ายได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เลือดกำเดาไหลบ่อย ต้อง กิน วิตามิน อะไรอาจเป็นสัญญาณของโรคอันตรายหลาย ๆ โรค เช่น มะเร็งในโพรงจมูก เนื้องอกในจมูก และวัณโรคหลังโพรงจมูกได้
Table of Contents
ลักษณะของเลือดกำเดาไหลบ่อย
1.จะมีเลือดไหลออกจากรูจมูก อาจไหลออกมาเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
2.เลือดอาจไหลออกมาเป็นปริมาณมาก หรือเพียงเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของเส้นเลือดที่แตก
3.เลือดจะไหลในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วหยุดไหลไปเองภายในเวลาไม่กี่นาที แต่บางกรณีอาจใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที หรืออาจมากกว่านั้น
ชนิดของเลือดกำเดาไหลบ่อย
เลือดกำเดาที่ไหลออกมาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการเกิด คือ
1.เลือดที่ออกมาจากโพรงจมูกทางส่วนหน้า จะเกิดได้ทั่วไป เกิดจากเส้นเลือดบริเวณจมูกส่วนหน้าแตกทำให้มีเลือดไหลออกมา ไม่ก่อให้เกิดอันตราย สามารถรักษาอาการและทำให้เลือดหยุดไหลได้ด้วยตนเอง
2.เลือดที่ออกมาจากโพรงจมูกทางส่วนหลัง เกิดจากเส้นเลือดบริเวณจมูกส่วนหลัง หรือส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปในโพรงจมูกแตก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดที่ใหญ่กว่าด้านหน้า จึงทำให้มีอาการรุนแรงกว่า มีเลือดออกปริมาณมากกว่า ทำให้มีเลือดไหลออกมา ไหลเข้าไปในลำคอและมีเลือดออกทางปากได้ด้วย อาจเป็นอันตราย ซึ่งเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยโรคที่ร้ายแรงได้ ควรได้รับการรักษาจากแพทย์และพบได้มากในผู้สูงวัย
สาเหตุของเลือดกำเดาไหลบ่อย
ทั้งนี้เส้นเลือดฝอยในจมูกแตกจนเลือดกำเดาไหลนั้น ถือเป็นปลายเหตุที่เกิดจากความผิดปกติในร่างกาย ที่ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกและเลือดออก ซึ่งสาเหตุก็อาจเป็นได้ทั้งมีก้อนที่จมูก หรือมีปัญหาโรคเลือดก็ได้ ซึ่งจำเป็นต้องหาสาเหตุให้พบ เลือดกำเดาไหลอาจเกิดจากเส้นเลือดฝอยหรือเส้นเลือดใหญ่ภายในจมูกแตก ซึ่งมีสาเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1.ล้วงหรือแคะจมูก
2.จามบ่อย ๆ สั่งน้ำมูกแรงเกินไป
3.จมูกได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง หรือการประสบอุบัติเหตุ มีสิ่งแปลกปลอมติดค้างอยู่ภายในจมูก
4.ภาวะเลือดออกผิดปกติ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น โรคฮีโมฟีเลย (Haemophilia) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติของร่างกายส่งผลทำให้เลือดไม่แข็งตัว
5.อุณหภูมิและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในอากาศหนาว หรืออากาศแห้ง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็กที่มีอายุอยู่ในช่วง 2-10 ปี และผู้สูงวัยที่มีอายุอยู่ในช่วง 50-80 ปี
6.การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทำให้โพรงจมูกแห้ง อย่างกลุ่มยารักษาโรคภูมิแพ้ ยารักษาไข้หวัด รวมทั้งยารักษาไซนัสอักเสบ เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) และยาแก้คัดจมูก (Decongestants)
7.การใช้ยาแอสไพรินในปริมาณมาก ปฏิกิริยาแพ้ต่อสารเคมี
8.โรคภูมิแพ้ หรือปฏิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้
9.ภาวะหลอดหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)
10.การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
11.การเกิดมะเร็งในโพรงจมูก
การรักษาอาการเลือดกำเดาไหลบ่อย
1.การรักษาด้วยตนเอง
โดยปกติร่างกายจะมีกลไกทำให้เลือดแข็งตัวและหยุดไหลไปเอง แต่สามารถดูแลรักษาอาการได้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยการห้ามเลือด เริ่มจากการนั่งอยู่กับที่นิ่ง ๆ เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบรูจมูก หายใจทางปากประมาณ 10 นาที หากมีเลือดที่ไหลลงในปากหรือลำคอ ให้คายเลือดออกมา อย่ากลืนเลือดลงไป ไม่นอนราบ และไม่เงยหน้าขึ้นในขณะที่เลือดกำเดาไหล เพราะหากกลืนเลือดลงไปในกระเพาะจะทำให้อาเจียนได้ หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งวางไว้บริเวณสันจมูก (ดั้งจมูก) ไม่พ่นจมูก สั่งน้ำมูก หรือล้วงแคะจมูก เพราะจะทำให้อาการแย่ลง และหากพยายามห้ามเลือดกำเดา แล้วไม่ได้ผลและยังคงไหลอยู่อย่างต่อเนื่อง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาต่อไป
2.การรักษาโดยแพทย์
เบื้องต้น แพทย์อาจใช้สำลีหรือผ้าก๊อซอุดรูจมูก หรืออาจใช้วัสดุอุดห้ามเลือดอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น ก๊อซเคลือบวาสลีนหรือน้ำมันปิโตรเลียม และฟองน้ำสังเคราะห์ที่จะพองตัวออกเมื่อสัมผัสกับน้ำ เพื่อทำให้เลือดหยุดไหล หลังจากนั้นแพทย์จะอนุญาตให้กลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้ โดยต้องใส่วัสดุอุดห้ามเลือดไว้ 2-3 วัน กรณีที่มีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ภายในโพรงจมูกอันเป็นเหตุทำให้เกิดเลือดกำเดาไหล แพทย์จะหาวิธีนำสิ่งแปลกปลอมนั้นออกมา
หากเส้นเลือดที่แตกและเป็นสาเหตุของเลือดกำเดาไหลสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แพทย์จะห้ามเลือดด้วยการจี้หยุดเลือดนั้นด้วยสารซิลเวอร์ไนเตรท และอาจต้องใช้วัสดุกดห้ามเลือดโดยเฉพาะ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเจ็บปวด จึงอาจต้องใช้ยาระงับความรู้สึกในขณะใส่วัสดุนี้เข้าไปในรูจมูก และให้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวดด้วย โดยอาจต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด หลังรักษาด้วยการใส่วัสดุกดห้ามเลือด 2-3 วันแล้วเลือดกำเดายังไม่หยุดไหล แพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดหรือใช้วิธีการทางรังสีวิทยาเพื่อรักษา
ภาวะแทรกซ้อนเลือดกำเดาไหลบ่อย
เลือดกำเดาไหลอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง หรือเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ เช่น
1.สำลักเลือด หรืออาเจียน เนื่องจากกลืนเลือดลงไปในกระเพาะอาหาร
2.ภาวะโลหิตจาง (Anaemia) เนื่องจากการสูญเสียเลือดปริมาณมาก
การป้องกันการเกิดเลือดกำเดาไหลบ่อย
1.ไม่พ่นจมูก สั่งน้ำมูก หรือล้วงแคะจมูกแรง ๆ และควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
2.หลีกเลี่ยงการเผชิญกับอากาศแห้งและหนาวเย็น
3.ไม่สูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้จมูกแห้ง
4.หากเลือดกำเดาไหลเกิดจากการรับประทานยา ให้ปรึกษาแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสมและการใช้ยาอย่างถูกวิธีเช่น ยาแอสไพริน ยาต้านฮิสตามีน และยาแก้คัดจมูก
5.หากเลือดกำเดาไหลเกิดจาก ภูมิแพ้จมูก ไซนัสเรื้อรัง หรือโรคตับ ให้ปฏิบัติคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
6.ระมัดระวังอุบัติเหตุและการกระทบกระเทือนต่อจมูก เช่น ในขณะเล่นกีฬาสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันศีรษะด้วย
การดูแลตัวเองเมื่อเลือดกำเดาไหลบ่อย
1.หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ในทันที หรือเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการหน้ามืดหมดสติ
2.จัดท่าทางให้นอนเอนลงที่ไม่ให้ศีรษะต่ำจนเกินไป นอนศีรษะสูง โดยให้ศีรษะตั้งสูงขึ้นมาพอประมาณ เพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนไปที่จมูกมากขึ้น และป้องกันการสำลัก
3.ห้ามแหงนศีรษะขึ้นเด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่อการทำให้สำลักเลือดได้
4.ไม่พ่นจมูก สั่งน้ำมูก หรือจามเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังเลือดกำเดาหยุดไหล
5.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศแห้งหรือหนาวเย็น
หากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการเลือดกำเดาไหลผิดปกติ คือ ไหลบ่อย ไหลปริมาณมาก ก็ไม่ควรชะล่าใจ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด จะปลอดภัยที่สุด healthdoo.today วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับคนที่มีอาการเลือดกำเดาไหลเกิดขึ้นนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ก่อนไปพบแพทย์ กรณีที่เลือดไหลปริมาณน้อย ห้ามเลือดด้วยการประคบน้ำเย็นหรือบีบจมูกแล้วอมน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเอาไว้การอมน้ำแข็งจึงช่วยประคบห้ามเลือดได้ตรงจุดมากกว่า เลือดกำเดาไหลบ่อย ต้อง กิน วิตามิน อะไร แล้วรีบมาโรงพยาบาลทันที