HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคกระเพาะอาหารคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร (Gastritis) 

โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบ หรือ เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื้อบุภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลัน และ เป็นในระยะเวลาสั้น ๆ และ หายได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หรือ มีอาการบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานาน จนเกิดการอักเสบเรื้อรัง และ ทำให้เกิดแผล และยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

โรคกระเพาะอาหาร

ภายในกระเพาะอาหารจะมีความเป็นกรดสูง จึงต้องมีการสร้างชิ้นเยื่อเมือกมาเคลือบเพื่อป้องกันกรด ซึ่งเยื่อเมือกนี้จะประกอบไปด้วยต่อมที่มีหน้าที่ในการหลั่งกรด และ เอนไซม์ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร แต่เมื่อกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ

โดยเฉพาะการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้กระเพาะอาหารผลิตกรดเอนไซม์ และ เมือกที่ช่วยเคลือบป้องกันกระเพาะอาหารได้น้อยลง จึงส่งผลต่อการย่อยอาหารนานขึ้น จึงทำให้ผิวกระเพาะอาหารเกิดอักเสบได้ง่าย

 

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

อาจไม่พบอาการชัดเจน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง มีอาการท้องเฟ้อรู้สึกไม่สบายช่องท้องส่วนบน จุกหน้าอก อิ่มง่าย แน่นท้อง เรอบ่อย อาหารไม่ย่อย และ รู้สึกคลื่นไส้หลังรับประทานอาหาร ไม่มีความอยากอาหาร โรคกระเพาะอาหารอักเสบจะไม่พบอาการที่ร้ายแรง

แต่หากมีอาการเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์ หรือ มากกว่านั้น ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

1. การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไฟโลไร (Helicobacter Pylon) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อ โดยการรับประทานอาหาร หรือ ดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะอาหารจึงทำให้ผนังกระเพาะอ่อนแอลง ความทนต่อกรดจึงลดลง ทำให้กระเพาะอาหาร และ ลำไส้เล็กส่วนต้นเกิดแผลได้ง่าย

2. อาการซึมเศร้า คิดมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ เครียด

3. การสูบบุหรี่ จะเพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

4. มีนิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือ งดอาหารบางมื้อ

5. รับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และ ลำไส้ เช่น กาแฟ หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ ยาชุด หรือ ยาลูกกลอน

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

 

การวินิจฉัยโรคกระเพาะ

เพื่อค้นหาสาเหตุที่แน่ชัดหลังผู้ป่วยมีอาการ แพทย์จะทำการซักประวัติ อาการเบื้องต้น การตรวจร่างกาย รวมไปถึงการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร การเอกซเรย์ กระเพาะอาหารด้วยการกลืนแป้งแบเรียม เพื่อตรวจดูความผิดปกติ หรือ การตรวจหาเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร โดยการตรวจเลือด การตรวจอุจจาระ

 

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาคลริโธรมัยซิน (Clarithromycin) ยาอมอกซิลลิน (Amoxicillin) หรือยาเมโทรนิคาโซล (Metronidazole) เมื่อตรวจพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร

ที่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น เช่น จ่ายยาลดกรดในกลุ่ม โปรตอน ปั๊ม อินฮิปิเตอร์ (Proton Pump Inhibitors) เพื่อลดการหลั่งกรดช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารหากได้รับการรักษาและดูแลให้ถูกต้องส่วนใหญ่แล้วจะหาย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ เช่น

1. หากมีอาการปวดท้องรุนแรง หน้าท้องแข็ง กดเจ็บ แสดงว่า กระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุ

2. หากถ่ายอุจจาระสีดำ หรือ อาเจียนมีลักษณะคล้ายผงกาแฟบดปนอยู่ แสดงว่าเลือดออกในกระเพาะอาหาร

3. หากมีอาการปวดท้อง รับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็ว และ อาเจียน แสดงว่ากระเพาะลำไส้ตีบตัน

 

ปวดท้องแบบไหนถึงจะเป็นโรคกระเพาะ

ปวดท้องแบบไหนถึงจะเป็นโรคกระเพาะ

1. ปวดท้องเรื้อรัง ลักษณะอาการจะปวด ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 เดือน ซึ่งสามารถพบได้บ่อยที่สุด โดยอาจเป็นการปวดท้องที่เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร เช่น ปวดขณะหิว หรือ ปวดขณะที่อิ่ม แต่จะเป็นการปวดที่ทนได้ ซึ่งเมื่อรับประทานอาหาร และ ยาลดกรดแล้ว อาการจะดีขึ้น

2. ปวดท้องแบบเฉียบพลัน เป็นอาการปวดรุนแรงที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยที่เราต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น ที่ไม่ใช่โรคกระเพาะ เช่น ตับอ่อนอักเสบ หรือ โรคนิ่วในถุงน้ำดี

3. อาการปวดเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโรคกระเพาะอาหาร โรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เช่น การเป็นแผลในกระเพาะ เป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น กระเพาะอาหารอักเสบหรือมะเร็งในกระเพาะอาหาร โดยอัตราที่จะเกิดโรค หรือ ภาวะเหล่านี้ประมาณ 20 – 25 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง

ความผิดปกติภายในกระเพาะอาหารที่เกิดจากกรดนั้น อาจไม่มีอาการปวดท้องเสมอไป โดยที่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือ ถ่ายอุจจาระดำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดมาจากกรดเกิน

บางรายอาจมีอาการแสบแน่นหน้าอก จากโรคกรดไหลย้อน จึงทำให้หลอดอาหารอักเสบ อาการไอ เพราะจะมีอาการอักเสบขึ้นมาถึงคอ ซึ่งเป็นโรคกระเพาะอาหารทั้งสิ้น

 

สัญญาณบ่งบอกว่าใกล้จะเป็นโรคกระเพาะ

อาการปวดของโรคกระเพาะจะคล้ายกับการปวดท้องในแบบอื่น ๆ อยู่เหมือนกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังจะเป็นโรคกระเพาะ เรามาดูสัญญาณที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะ

1. มีอาการปวดแถว ๆ ลิ้นปี่ ลักษณะอาการจะปวดท้องแบบจุก ๆ แสบ ๆ

2. จะมีอาการปวดท้องทางฝั่งขวามือ เวลาที่หิวหรือเวลาอื่น อาการอาจจะไม่ได้ทำให้เราปวดมาก ซึ่งหากกินยาลดกรด ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้

3. ไม่ว่าเราจะอิ่มหรือท้องว่าง ก็จะมีอาการปวดแสบบริเวณท้อง ซึ่งบางครั้งอาจจะเจ็บขึ้นมาถึงตรงลิ้นปี่

4. มีอาการปวดท้องในขณะที่นอนหลับจนทำให้ต้องตื่น และ จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นแบบไม่แน่นอน

5. มีอาการอาเจียน หรือ บางครั้งถ่ายเป็นเลือด เมื่อมีอาการปวดท้องมาก ๆ

สัญญาณบ่งบอกว่าใกล้จะเป็นโรคกระเพาะ
CR. https://www.therecoveryvillage.com/alcohol-abuse/faq/can-alcohol-cause-gastritis/#gref

การป้องกันโรคกระเพาะอาหาร

หลักสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร คือ การรักษาความสะอาด และ สุขอนามัยในการรับประทานอาหาร เช่น การล้างมือก่อน และ หลังรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยสิ่งกระตุ้นให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

 

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระเพาะอาหาร

1. งดสูบบุหรี่

2. หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองกระเพาะอาหาร เช่น ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาที่มีสเตียรอยด์ อาหารรสจัด น้ำอัดลม

3. รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย และ ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

4. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา

5. พยายามลดความเครียดด้วยการดูหนัง ฟังเพลง ทำสมาธิ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

6. อาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ ไม่ควรมีปริมาณมากเกินไป

7. รับประทานยาลดกรด

8. หมั่นออกกำลังกาย

9. หากปฏิบัติตามนี้แล้วไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย

10. รับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก…
1. https://mgronline.com/qol/detail/9610000006026
2. https://www.pobpad.com/โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
3. https://www.sanook.com/health/441/