โรคตับคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน
Table of Contents
โรคตับ
โรคตับ (Hepatic disease) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ตับได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดแผลเป็นแบบถาวร จนทำให้เป็นพังผืดขึ้นในเนื้อตับ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของลดลง ด้อยประสิทธิภาพ
และส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้เกิดอาการผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น เลือดออกง่าย และมีของเสียต่าง ๆ สะสมในร่างกาย จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เมื่อตับเสียการทำงานจนถึงขั้นเข้าสู่ภาวะตับวาย
โรคตับมีหลายชนิดและเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน โรคตับชนิดต่าง ๆ สามารถแยกประเภทได้ดังต่อไปนี้
-โรคไวรัสตับอักเสบ ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก หรือโรคไวรัสตับอักเสบที่พบได้ในทุกอายุ
-โรคตับแข็งที่มีสาเหตุจากแอลกอฮอล์มากเกินไปติดต่อกันนานหลายปี
-โรคตับที่มีสาเหตุจากพิษ หรืออาหารเป็นพิษ
-โรคตับที่มีสาเหตุจากโรคไขมันในเลือดสูง (dyslipidemia) ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของตับ
-โรคตับที่มีสาเหตุจากมะเร็งตับ
-โรคไขมันในตับ โรคฝีในตับ
-โรคตับอักเสบเฉียบพลัน หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาด
โรคตับ สาเหตุ
โรคตับมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร ?
การดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ตับทำงานหนักเนื่องจากจะต้องกำจัดแอลกอฮอล์ออกจะกระแสเลือด การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นเวลานานนั้น จะทำให้เกิดโรคตับได้ง่าย
เริ่มจากมีไขมันมาพอกตับก่อนจากนั้นเมื่อโรคดำเนินไป เรื่อย ๆจะเกิดภาวะตับอักเสบจากแอลกอฮอล์เกิดขึ้น พัฒนาเป็นตับแข็ง และตับวาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด
การทานยาหรือได้รับสารเคมีบางชนิด
ยาและอาหารเสริมบางชนิดสามารถทำลายตับได้เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาพารา ยาแก้อักเสบเม็ดสีชมพู หรือแก้อักเสบอื่นๆ แต่ยาเหล่านี้จะส่งผลต่อตับก็ต่อเมื่อกินในขนาดยาสูง หรือกินร่วมกับแอลกอฮอล์
การติดเชื้อ
เชื้อไวรัสตับอักเสบมี 3 ชนิดได้แก่ เอ บี และซี รวมถึงไวรัสอื่น ๆ ที่ทำลายตับได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะติดไวรัสตับอักเสบนั้นได้แก่ การใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เปลี่ยนคู่นอนบ่อยหรือทานอาหารร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
ภาวะภูมิไวเกิน
ในผู้ที่มีภูมิไวเกิน สามารถถูกทำลายอวัยวะได้หลากหลาย แม้กระทั่งตับ ซึ่งหากเป็นจากสาเหตุดังกล่าวอาจต้องใช้ยากดภูมิเพื่อลดการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ทำลายตัวเอง
ท่อน้ำดีอุดตัน
ท่อน้ำดีคือท่อส่งน้ำดีที่ต่อจากตับไปสู่ลำไส้ ซึ่งหากท่อดังกล่าวอุดตันทำให้มีน้ำดีค้างอยู่เป็นเหตุให้ตับถูกทำลายได้
มะเร็ง
มะเร็งหลาย ๆ ชนิดสามารถแพร่กระจายมายังตับได้ หรือแม้กระทั่งมะเร็งตับเองก็ตาม ซึ่งโอกาสเกิดมะเร็งจะมากขึ้น
โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน
ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคไขมันพอกตับ
การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวติดต่อกันหลายครั้งจนทำให้น้ำไหลเข้าตับ
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
เช่น ยาบางชนิดที่ใช้รักษาวัณโรค
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ ได้แก่
-การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-ผู้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง มีความเสี่ยงสูงที่ทำให้เป็นโรคตับได้
-ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารพิษ และสารเคมีต่าง ๆโดยไม่รู้จักการป้องกัน
-ทำงานที่ต้องสัมผัสกับ เลือด สารคัดหลั่ง หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
-การกินอาหารที่ขาดสุขอนามัย ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ เอ
-กินยาพร่ำเพรื่อ เสี่ยงต่อผลข้างเคียงของยา
-ชอบกินสมุนไพร หรือเห็ดแปลก ๆ
-การเปลี่ยนคู่หลับนอนซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี
-การสักตามร่างกาย หรือ เจาะร่างกายจากแหล่งบริการที่ไม่สะอาดพอ เพราะอาจเป็นสาเหตุการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
-ได้รับเลือดจากผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบ บี หรือ ไวรัสตับอักเสบ ซี
โรคตับ อาการ
-อาการจากโรคตับ มีได้หลากหลายอาการ ขึ้นกับสาเหตุ แต่อาการโดยรวมที่มักคล้าย คลึงกันในทุกสาเหตุ
-เจ็บใต้ชายโครงขวา หรือเจ็บ/ปวดท้องด้านขวาตอนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของตับ
-มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
-ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
-ตัวเหลือง ตาเหลือง
-ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ร่วมกับอุจจาระสีซีด
-มีอาการบวมตามอวัยวะต่าง ๆ น้ำในท้อง หรือท้องมาน มักร่วมกับอาการบวมเท้า
-ลมหายใจอาจมีกลิ่นออกหวาน
-สับสน อารมณ์แปรปรวน เซื่องซึม และพูดไม่ชัด มือ เท้า กระตุก และมือสั่น
-เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
-มีเลือดออกได้ง่าย เกิดรอยช้ำหรือห้อเลือดได้ง่าย
-คันตามผิวหนัง
โรคตับ รักษา
การรักษาโรคตับ คือ การรักษาสาเหตุ ร่วมกับการรักษาประคับประคองตามอาการ
การรักษาสาเหตุ
-การรักษาสาเหตุ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อโรคตับเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย
-การผ่าตัดเมื่อมีเนื้องอกในตับ
-การเลิกสุรา หรือการหยุดยา เมื่อโรคตับเกิดจากสุรา หรือ จากยา เป็นต้น
-นอกจากนั้นเมื่อตับสูญเสียการทำงานจนเกิด ภาวะตับวายเรื้อรัง การรักษาคือ การผ่าตัดเปลี่ยนตับ (Liver transplantation)
การรักษาประคับประคองตามอาการ
เช่น การให้ยาแก้ปวด หรือ ยาบรรเทาอาการคลื่น ไส้ อาเจียน ตามอาการ การทำผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำดีเมื่อมีตัว ตาเหลืองมาก จากมีการอุดตันของทางเดินน้ำดีในตับ และการให้สารน้ำและอาหารทางหลอดเลือดดำเมื่อกิน ดื่ม ได้น้อย เป็นต้น
โรคตับรุนแรงไหม
ความรุนแรงของโรคตับขึ้นกับสาเหตุ เช่น
-เมื่อเกิดจากผลข้างเคียงของยา เมื่อหยุดยา เซลล์ตับมักกลับเป็นปกติ
-แต่ความรุนแรงจะสูงขึ้น เมื่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ ไวรัสตับอักเสบ ซี
-หรือความรุนแรงจะสูงสุด เมื่อสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็งตับ หรือมีโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆแพร่ กระจายมาสู่ตับ
ผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อนจากการมีโรคตับ
คือ ภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) การมีน้ำในช่องท้อง และภาวะตับวาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
โรคตับป้องกัน
-การป้องกันโรคตับสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะสาเหตุสำคัญของโรคตับ คือ จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดังนั้นการป้องกันที่ประสิทธิภาพที่สุด คือ
-การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือถ้าหากจะดื่มเช่นงานสังสรรค์ก็ต้องดื่มอย่างจำกัด เป็นครั้งคราวและในปริมาณไม่มาก
-การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำครั้งละ 30 นาทีอาทิตย์ละ 3-5 ครั้ง เพื่อป้องกันโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ
-ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดโอกาสของการเกิดภาวะไขมันพอกตับขึ้นจนนำไปสู่โรคได้
-ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี
-สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ และหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี
-ควรมีการป้องกันตนเองก่อนการใช้หรือสัมผัสกับสารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
-ควรระมัดระวังในการใช้สมุนไพรหรือเห็ดบางชนิด เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อตับได้
-หลีกเลี่ยงหรืองดการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนของพยาธิใบไม้ในตับที่อาจเป็นสาเหตุของโรคตับตามมาได้
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีอาการของโรคตับและควรพบแพทย์เมื่อไร ?
-ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และกินยาต่าง ๆที่แพทย์แนะนำให้ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ขาดยา
-ควรเลิกดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด
-ไม่ซื้อยากินเอง กินยาเฉพาะที่แพทย์สั่ง
-พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
-ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากการอาเจียน
-กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน และควรเป็นอาหารในผู้ป่วยโรคตับ
-ผู้ป่วยควรเน้นการรับประทานสารอาหารประเภทโปรตีน เพื่อซ่อมแซมเซลล์ตับที่ถูกทำลาย งดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และให้รับประทานไขมันประเภทไม่อิ่มตัวแทน อาจเสริมอาหารด้วยเลซิทิน และงดอาหารเค็ม ถ้ามีอาการบวมที่เท้า หรือท้อง
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามสมควรกับสุขภาพ
-มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
-หากอาการต่าง ๆ แย่ลง หรือมีอาการผิดไปจากเดิม ควรรีบพบแพทย์ก่อน ไม่จำเป็นต้องรอเวลานัด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1. http://www.kasemrad.co.th/Bangkae/th/site/health_articles/detail/115
2. https://www.pobpad.com /ตับแข็ง