HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคตาแดงคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคตาแดง

โรคตาแดง

โรคตาแดง (Red eye)หรือ “โรคเยื่อตาขาวอักเสบ”  คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของดวงตา เป็นการอักเสบของชั้นเนื้อเยื่อใสที่คลุมอยู่บนตาขาว ซึ่งจะมีการเปลี่ยนเป็นสีแดงอ่อนหรือแดงจัด จากการอักเสบและเส้นเลือดฝอยขยายตัว

โรคตาแดง
CR. https://www.britannica.com/science/conjunctivitis

โดยผู้ป่วยโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่ที่พบส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัส adenovirus ซึ่งอาจเกิดพร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ โรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย โดยเป็นการติดต่อจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง

โรคตาแดง สาเหตุ

โรคตาแดงเกิดได้จากหลายสาเหตุ

-สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการตาแดง คือ หลอดเลือดบริเวณผิวดวงตาอักเสบจากการระคายเคืองต่อปัจจัยต่าง ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ขึ้นตา โดยปกติเป็นโรคตามฤดูกาล การอักเสบเกิดจากสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น เกสรดอกไม้ สะเก็ดผิวหนังของสัตว์ หรือฝุ่นละออง ควัน อากาศแห้ง และแสงแดด ซึ่งทำให้คันตา หรือตาบวม และบางครั้งอาจทำให้ตาแห้ง

-เยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ตาจากมือที่ไม่ได้ล้างหรือโดนพื้นผิวที่ไม่สะอาด เยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมักจะทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก และอาจมีขี้ตามาก การติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาควรได้รับการรักษาในทันที

-เยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายมาก และสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะที่มีบริเวณกว้าง เช่น โรงเรียน หรือสนามบิน เยื่อบุตาอักเสบจากไวรัสมักมีอาการไข้หวัดร่วมด้วย

และสามารถทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง หรือมีขี้ตาใส หนา โรคติดเชื้อไวรัสทุกชนิด ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยทันที แต่อาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ หายได้เอง โดยอาจจะใช้เวลาหลายวัน

เยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัส
CR. https://www.msdmanuals.com/home/eye-disorders/conjunctival-and-scleral-disorders/infectious-conjunctivitis

-ตาแดงเพราะตาแห้ง เนื่องจากเกิดความระคายเคืองและมีการอักเสบได้ และการอักเสบนี่เอง ที่ทำให้ตาแดง ซึ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น คือประมาณ 50 ปีขึ้นไป ก็จะมีอาการตาแห้ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากยังอยู่ในวัยเด็ก หรือวัยหนุ่มสาว แล้วมีอาการดังกล่าว อาจจะเป็นเพราะการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป

-ตาแดงเพราะมีอาการแพ้อากาศ สภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมมีความเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการแพ้ได้ เป็นผลให้ตาบวม แดง อักเสบได้ นอกจากนี้เมื่อเรามีอาการแพ้ เรามักจะคันตาร่วมอยู่ด้วย

-ตาแดงเพราะการใช้ยาบางชนิด ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน ยานอนหลับ ยาคลายเครียด หรือแม้กระทั่งยาแก้ปวด พวก ibuprofen ยาพวกนี้ ทำให้ตาแห้ง และแดงได้เช่นกัน เพราะมันไปลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณเนื้อเยื่อรอบดวงตา

-ตาแดงเพราะนอนไม่พอ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนดึก ก็ทำให้ตื่นขึ้นมาตาแดงในตอนเช้าได้

-ตาแดงเพราะดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็ทำให้ตาแดง เพราะแอลกอฮอล์ ทำให้เส้นเลือดขยายตัว มีปริมาณเลือดไหลเวียนที่ดวงตามากขึ้น

-ตาแดงเพราะสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะไปบีบเส้นเลือดในดวงตา นอกจากนี้ ยังอาจจะเกิดอาการตาแห้งได้ด้วย

-ตาแดงเพราะเส้นเลือดในตาแตก เกิดจากเพราะไอบ่อย มีแรงกดที่ตา อาการมักไม่ทำให้เจ็บปวด เพียงแต่จะรู้สึกหนัก ๆ ที่ตาเท่านั้น จะค่อย ๆ หายไปเอง ซึ่งอาจจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

 

อาการตาแดง อาการ

-อาการตาแดงอาจเป็นแค่ตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างพร้อม ๆ กัน ซึ่งแตกต่างกันไปตามสาเหตุด้วย

-แสบตา น้ำตาไหล ขนตาร่วง

-คันตา หรือคันบริเวณเปลือกตา

-เปลือกตาบวม หรือเปลือกตาอักเสบและลอก

-มีขี้ตาเหลวหรือเป็นก้อนแข็ง

-ตาพร่า มองเห็นภาพไม่ชัด

-ปวดศีรษะ มีไข้ และไอ

ทั้งนี้ หากผู้ป่วยตาแดงมานานเกิน 2 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม

หากผู้ป่วยตาแดงและมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

-การมองเห็นเปลี่ยนไป หรือมองเห็นแสงกระจายเป็นรัศมีรอบ ๆ ดวงไฟ

-ตาไวต่อแสง

-รู้สึกเหมือนมีอะไรในตา ปวดตา

-มีวัตถุแปลกปลอมในตา หรือสารเคมีเข้าตา

-มีอาการบวมในหรือนอกดวงตา

-ลืมตาหรือหลับตาไม่ได้

-ปวดหัวรุนแรง หรือปวดหัวร่วมกับอาการสับสนและมองเห็นไม่ชัด

-เป็นไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส คลื่นไส้ อาเจียน

 

อาการตาแดงที่อันตรายมาก ได้แก่

1. ตาแดงจากการติดเชื้อหนองใน ตาแดงประเภทนี้ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทะลุเข้าไปในกระจกตาได้ แบคทีเรียชนิดนี้ สามารถทำลายผิวกระจกตาจนเสียหาย รุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ หากภายใน 24–48 ชั่วโมงไม่ได้รับการรักษาเชื้ออาจทะลุตาดำโดยง่าย

ตาแดงจากการติดเชื้อหนองใน
CR. https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/gonococcal-conjunctivitis

2. ตาแดงจากต้อหินเฉียบพลัน อาการเบื้องต้นจะมีอาการตาแดง รอบ ๆ ตาดำจะแดงระเรื่อตลอดเวลา กระจกตาจากเดิมที่เคยใสจะมัวขุ่น รูม่านตาขยาย มีอาการปวดตา ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย รวมถึงการมองเห็นลดลงหรือแย่ลง ต้อหินเฉียบพลันเกิดจากมีความดันในลูกตาสูงกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการเหล่านี้ ถ้าทิ้งไว้ไม่รักษาอาจตาบอดได้

 

โรคตาแดง รักษา

-อาการตาแดงอาจดีขึ้นหรือหายได้เองโดย หากไม่ขยี้ตาจนทำให้อาการแย่ลง เช่น ตาแดงจากโรคภูมิแพ้ อาจหายได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากกำจัดสารก่ออาการแพ้ออกไป

-ส่วนอาการตาแดงจากโรคเยื่อบุตาอักเสบอาจคงอยู่นานร่วม 2 สัปดาห์

-หากผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าตนเองตาแดงจากสาเหตุใด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

-อาการตาแดงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ ได้แก่ ยาหยอดตา และอาจมียาป้ายตา ในคนไข้บางรายอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานและแบบฉีดร่วมด้วย

-อาการตาแดงที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง แต่บางรายอาจต้องใช้ยาต้านไวรัส การใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดอาการคัน ยาลดปวด อาจช่วยบรรเทาอาการและทำให้สบายตามากขึ้น

-อาการตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ การประคบเย็นสามารถช่วยลดการอักเสบได้ รวมถึงการหยอดน้ำตาเทียมที่ช่วยให้สบายตา

-อาการตาแดงที่เกิดจากสัมผัสสารเคมีหรือสารพิษ ใช้น้ำสะอาด หรือ Saline solution หรือ Ringer’s lactate solution ในปริมาณที่มากล้างตาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ร่วมกับการใช้ยารักษาตามอาการ

วิธีการรักษาบรรเทาอาการตาแดง

-พักสายตา เพื่อบรรเทาอาการตาล้า

-ประคบร้อนหรือประคบเย็นที่ดวงตา เพื่อลดอาการปวดบวม

-ล้างตาด้วยน้ำเกลือ น้ำอุ่น หรือน้ำเย็น เพื่อลดการระคายเคือง

-ใช้ยาหยอดตาหรือน้ำตาเทียม หากตาแดงจากอาการตาแห้ง

-รับประทานยาแก้แพ้ หากตาแดงจากอาการแพ้

-หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสดวงตาแม้จะล้างมือสะอาดแล้วก็ตาม

-หลีกเลี่ยงสารก่ออาการแพ้ หรือออกจากบริเวณที่มีสารก่ออาการแพ้

หากรักษาตาแดงด้วยวิธีดังกล่าวแล้วอาการไม่ทุเลาลง ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

 

ภาวะแทรกซ้อนของตาแดง

-ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของอาการตาแดงที่ไม่ได้รับการรักษา

-เกิดแผลเป็นในดวงตา สูญเสียดวงตา

-การติดเชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของดวงตาหรือร่างกาย

-มีปัญหาในการมองเห็น ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้

-สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือตาบอด

 

โรคตาแดง การป้องกัน

โดยทั่วไป การป้องกันอาการตาแดงอาจทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงสารก่อการระคายเคืองต่าง ๆ ที่อาจทำให้ตาแดง ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

-ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าหรือสบู่ก่อนสัมผัสใบหน้าและบริเวณดวงตา

-เมื่อมีสิ่งสกปรกเข้าตา ให้ล้างดวงตาด้วยน้ำสะอาด

-หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางแต่งตาร่วมกับผู้อื่น และเปลี่ยนเครื่องสำอางแต่งตาทุก ๆ 6 เดือน

-หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเพ่งสายตาหรือใช้สายตามาก ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการตาล้า

-ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกินกำหนด และห้ามใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่น และควรล้างคอนแทคเลนส์ให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ

-ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า และหมอนร่วมกับผู้อื่น

-ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มือ การมีเจลล้างมือเตรียมไว้เพื่อพร้อมใช้สามารถช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตาแดง ฝึกปิดจมูกและปากทุกครั้งเวลาจามหรือไอ และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสตา

-ควรซักทำความสะอาดผ้าปูที่นอนปลอกหมอน และผ้าเช็ดตัวอย่างสม่ำเสมอ

-หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สารเคมีรุนแรง หรือสวมแว่นตาป้องกันเมื่อต้องอยู่ในบริเวณที่มีสารเคมี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก…
1. https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/378/ตาแดง…สัญญาณเตือนภัยใกล้ตัว/
2. https://www.pobpad.com/ ตาแดง
3. http://theworldmedicalcenter.com/ /th/new_site/health_article/detail/?page=โรคตาแดง
4. https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/อาการตาแดง-ชนิดอันตราย/