HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Table of Contents

โรคติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexual-transmitted diseases: STDs) เป็นโรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือที่เรียกจากเดิมว่า “กามโรค” โดยแบคทีเรีย ปรสิต และเชื้อไวรัส

โรคติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
CR. https://www.webmd.com/sexual-conditions/ss/slideshow-std-pictures-and-facts

ติดต่อจากคนสู่คนผ่านเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวในช่องคลอด หรือของเหลวชนิดอื่น ๆ ในร่างกาย

 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่

โรคเอดส์ (AIDS)

โรคเอดส์ (AIDS)

โรคเอดส์เกิดจากการรับเชื้อ Human immunodeficiency virus หรือ HIV เข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ภูมิคุ้มกันโรคจึงลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ทำให้เชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

 

โรคหนองในเทียม (chlamydia infection)

โรคหนองในเทียม (chlamydia infection)
CR. https://teachmeobgyn.com/sexual-health/sexually-transmitted-infections/chlamydia/

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ แสบขัดเวลาปัสสาวะ และมีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ อาจจะทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง หรือเป็นหมันหากไม่ได้รับการรักษา สำหรับโรคหนองใน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและ

 

โรคเอชพีวี (HPV)

โรคเอชพีวี (HPV)

HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเอชพีวีมักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน และสามารถแพร่ผ่านรอยแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หากมีการสัมผัสผิวหนังหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย

โรคหูดหงอนไก่ (condyloma acuminata)

โรคหูดหงอนไก่ (condyloma acuminata)

เกิดจากไวรัส Human papilloma virus (HPV) ชนิดความเสี่ยงต่ำซึ่งไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง พบได้ทั้งชายและหญิงโดยหูดหงอนไก่มักจะขึ้นตามอับชื้น บางรายที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการแสดง หรือบางรายมีลักษณะเป็นติ่งเนื้ออ่อน ๆ สีชมพูคล้ายหงอนไก่ บางรายก็ก้อนโตมากจนอุดกั้นช่องคลอด ท่อปัสสาวะ หรือทวาร

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)
CR. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Molluscum_contagiosum.jpg

เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม poxviridae การติดเชื้อจะเกิดขึ้นเฉพาะผิวหนังชั้นนอกด้วยการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสทางผิวหนัง ไม่มีการเข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือด หรือระบบประสาท ส่วนใหญ่มักเป็นหูดข้าวสุกบริเวณอวัยวะเพศ หูดจะมีลักษณะเริ่มจากจุดสีแดงก่อนแล้วเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดง หากบีบออกมาจะมีสารสีขาวข้นไหลออกมาคล้ายเม็ดข้าวสุก

เริมที่อวัยวะเพศ (Genital Herpes Simplex Virus Infection)

เริมที่อวัยวะเพศ (Genital Herpes Simplex Virus Infection)

เกิดจากเชื้อไวรัส  Herpes simplex virus อาการที่มักพบคือ ปวดแสบบริเวณขา ก้น หรืออวัยวะเพศ มีผื่นเป็นตุ่มน้ำใส แผลหายได้เองใน 2-3 สัปดาห์ แต่เชื้อไวรัส Herpes simplex virus จะสะสมในปมเส้นประสาท เชื้อไวรัสนี้จะเคลื่อนจากปมประสาทมาตามเส้นประสาทจนถึงปลายประสาทและเกิดโรคเริมซ้ำบริเวณเดิมอีกครั้ง

แผลริมอ่อน (Chancroid)

แผลริมอ่อน (Chancroid)
CR. https://prezi.com/p/mzkulem3xebs/chancroid/

เกิดจากเชื้อ Haemophilus ducreyi อาการที่พบคือ เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ แผลมักมีลักษณะเฉพาะคือ แผลค่อนข้างเจ็บมาก มีหนองที่ก้นแผล มีเลือดออกง่าย มักมีหลาย ๆ แผลพร้อมกัน บางรายต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบจะบวมและเป็นฝี เมื่อฝีแตกจะเป็นแผล

หิด (Scabies)

หิด (Scabies)
CR. https://en.wikipedia.org/wiki/File:ScabiesD03.jpg

เกิดจากตัวไร Sarcoptes scabei var homins  มีขนาดเล็กมากเพียง 0.4 มิลลิเมตร อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นกำพร้ารวมทั้งสืบพันธุ์ วางไข่ หิดติดเชื้อโดยการสัมผัส หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรง  รวมทั้งเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน หิดมักพบตามง่ามนิ้วมือ ข้อศอก รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ อวัยวะเพศ ข้อเท้า หลังเท้า และก้น จากนั้นผื่นหิดจะกระจายตามร่างกายและคันมาก

ซิฟิลิส (Syphilis)

ซิฟิลิส (Syphilis)

เกิดจากการติดเชื้อ Spirochete ชื่อ Treponema pallidum การได้รับเชื้อครั้งแรกจะมีแผลที่บริเวณอวัยวะเพศโดยจะอยู่ในร่างกายผู้ป่วยแตกต่างจากแผลริมอ่อน แผลซิฟิลิสสามารถอยู่ในร่างกายได้นานหลายปี หากกำเริบอาจเป็นซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท ซิฟิลิสสมอง เป็นต้น

โลน (Pediculosis Pubis)

โลน (Pediculosis Pubis)
CR. https://www.msdmanuals.com/professional/dermatologic-disorders/parasitic-skin-infections/lice

โรคนี้เกิดจากแมลงตัวเล็กๆ ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตรที่เรียกว่า pediculosis pubis มีรูปร่างคล้ายปู ชอบอาศัยและวางไข่บริเวณที่มีขนหยาบ เช่น อวัยวะเพศ รักแร้ ท้อง หน้าอก เครา ชอบดูดเลือดมนุษย์เป็นอาหาร ติดเชื้อโลนได้ง่ายจากการที่อยู่ใกล้ชิดกัน

พยาธิช่องคลอด (Vaginal Trichomoniasis)

เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

โรคติดเชื้อทริโคโมนาส (Trichomoniasis / Trich)

เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่ง ปกติแล้วมักอาศัยอยู่ในช่องคลอด แต่ก็พบเชื้อนี้อาศัยอยู่ในท่อปัสสาวะ (องคชาต) ของผู้ชายเช่นกัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการใด ๆ แต่บางคนอาจตกขาวสีเหลือง มีลักษณะเป็นฟอง มีอาการคันที่อวัยวะเพศ ส่วนผู้ชายมักจะไม่มีอาการ แต่อาจทำให้ปัสสาวะขัดได้

โรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคตับอักเสบบี เป็นการอักเสบของตับซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งผู้ที่มีเชื้ออาจไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย เชื้อนี้สามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในเซลล์ตับ ส่งผลก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายตับ

แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Granuloma inguinale)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  Donovania granulomatis โดยจะมีแผลที่บริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ ซอกขา หรือบริเวณหน้า และไม่พบในประเทศไทย มักพบในคนผิวดำ

เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)

เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Candida ซึ่งร้อยละ 80 – 90 เกิดจาก Candida albicans ทำให้มีอาการระคายเคืองบริเวณช่องคลอด มีการตกขาวขุ่นจับเป็นก้อน อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ

โรคติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ

สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

1. เกิดจากเชื้อไวรัส โรคติดต่อทางเพศ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ เริมที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ ไวรัสตับอักเสบบี

2. เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ท่อปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ เชื้อราในช่องคลอด ฯลฯ

3. เกิดจากเชื้ออื่น ๆ เช่น พยาธิ

กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

1.มีการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน ร่วมเพศกับคนที่ไม่รู้จัก

2.เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศอื่น ๆ

3.คู่ครองเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศ

4.ร่วมเพศกับผู้ติดยาเสพติด ดื่มสุราหรือใช้ยาเสพติดก่อนร่วมเพศ

5.ร่วมเพศทางทวารหนัก

6.ไม่สวมถุงยางขณะร่วมเพศกับคนที่ไม่ใช่ภรรยา

โรคติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการ

ผู้ชาย จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขาหนีบบวม หรือเป็นฝี เจ็บปวดอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผล บริเวณอวัยวะเพศ มีเมือกใส หรือหนองไหลออกมา มีแผลหรือตุ่มน้ำที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก มีอาการคันหรือปวดบริเวณทวาร มีอาการแดงและปวดบริเวณอวัยวะเพศ

ผู้หญิง จะรู้สึกเจ็บ เสียวท้องน้อย ขาหนีบบวม หรือเป็นฝี เจ็บปวด คันอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น มีหนองหรือน้ำหลั่งจากช่องคลอดหรือท่อปัสสาวะ ปวดท้องหรือปวดช่องเชิงกราน ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับโรคและความรุนแรง แต่โดยทั่วไปแล้วหากสงสัยว่า มีอาการ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อรับการวินิจฉัย รักษา และควบคุม ไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อีก

โรคติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิธีป้องกัน

-ใส่ถุงยางอนามัย ทุกครั้งหากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่ามีเชื้อหรือไม่

-ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ

-ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังอายุน้อย เนื่องจากมีสถิติว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสูง

-ตรวจโรคเป็นประจำทุกปี เพื่อหาเชื้อโรค แม้จะไม่มีอาการใด ๆ

-คู่ที่กำลังจะแต่งงาน ควรตรวจหาโรคก่อนแต่ง

-เรียนรู้ ศึกษาอาการของโรคติดต่อทางเพศ ไม่ควรประมาท

-ขณะมีประจำเดือนไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ เพราะจะทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศได้ง่าย

-ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

-ไม่ไปสัมผัสโรค

-ไม่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนคือ การมีสามี หรือภรรยาคนเดียว

-สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง

-ฉีดวัคซีนป้องกัน เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันไวรัส HPV

หากทราบว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

-ต้องเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค

-ควรแจ้งคู่นอนให้ทราบว่า เป็นท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศ เพื่อจะได้ป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่คนอื่น

-ดูแลตัวเอง รักษาอาการ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

-ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ระหว่างติดเชื้อ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอักเสบลุกลาม

-ไม่ควรซื้อยามารักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

-งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของมึนเมาทุกชนิดและสารเสพติดทุกชนิด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก…
1. https://www.honestdocs.co/how-to-prevent-sexually-transmitted-diseases
2. https://health.kapook.com/view1433.html