HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคถุงลมโป่งพองคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) 

โรคถุงลมโป่งพองในประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้น และ เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของประชากรไทย ซึ่งเกิดจากการอักเสบ และ แตกของเนื้อปอดที่บริเวณถุงลมปอด จึงทำให้เนื้อปอดมีถุงลมเล็ก ๆ มากมาย

โรคถุงลมโป่งพอง
CR. https://www.thelunghealthinstitute.com/blog/how-does-emphysema-affect-lung-function-what-you-need-to-know

คล้ายพวงองุ่น และ เมื่อรวมกับถุงลมที่อยู่ติดกันจนกลายเป็นถุงลมขนาดใหญ่ จึงทำให้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอดลดลง ทำมีอากาศค้างในปอดมากกว่าปกติ และ หากมีความผิดปกติมากขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยถุงลมโป่งพองมีอาการหายใจตื้น

ในจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ 10 ล้านคน จะมีผู้ป่วยถุงลมโป่งพองกว่า 1 ล้านคน และมีจำนวน 300,000 คน ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และ มีผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตปีละประมาณ 15,000 คน

สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง

การสูบบุหรี่ ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งแพทย์ก็ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงว่าการสูบบุหรี่ทำลายถุงลมในปอดได้อย่างไร โดยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นถุงลมโป่งพองมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า

สาเหตุหลัก ๆ ของโรคถุงลมโป่งพอง คือ การสัมผัส หรือ การได้รับสิ่งกระตุ้นทางอากาศอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ได้แก่

– การสูบบุหรี่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดถุงลมโป่งพอง

– ควันพิษหรือสารเคมีจากโรงงาน หรือการทำงานในเหมืองแร่ หากหายใจเข้าไปก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดถุงลมโป่งพองได้มากขึ้น และยิ่งถ้าสูบบุหรี่ด้วยแล้วก็จะยิ่งมีโอกาสเพิ่มขึ้นไปได้อีก

– มลพิษในอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง หากเราหายใจเข้าไปก็จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดถุงลมโป่งพอง

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง จะมีอาการหายใจตื้นและไอ ซึ่งอาการไอก็จะเป็นลักษณะการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ผู้ป่วยที่เป็นถุงลมโป่งพองมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เพราะอาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สังเกตเห็นอาการใด ๆ ผู้ป่วยมักหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่จะทำให้หายใจตื้น แต่หากมีอาการรุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจตื้น และ ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง
CR. https://www.medicalnewstoday.com/articles/8934.php#what_is_emphysema

-อาการอื่น ๆ ของโรคถุงลมโป่งพอง ได้แก่

-เหนื่อยง่าย

-น้ำหนักตัวลด

-เกิดภาวะซึมเศร้า

-หัวใจเต้นเร็ว

-หากมีอาการหายใจตื้นเป็นเวลานาน หลายเดือน และ มีอาการที่แย่ลง หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์

การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง

แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่หรือ ผู้ที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องเจอกับมลภาวะหรือควันพิษ เมื่อสอบถามประวัติแล้วแพทย์ก็จะทำการตรวจเพิ่มเติม

-ตรวจเลือด เพื่อดูปริมาณออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด

-การตรวจด้วยเครื่อง CT-SCAN หรือ การ X-Ray

-ตรวจด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด

-ตรวจการทำงานของปอด เพื่อวัดปริมาตรอาการที่เข้าและออกจากปอด โดยการให้เป่าเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer)

-ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เกิดไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

การรักษาจะเน้นไปที่การลดอาการ หรือ ชะลอการดำเนินการของโรค เนื่องจากโรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
CR. https://lunginstitute.com/blog/emphysema-treatment-options/

การรักษาโรคถุงลมโป่งพองด้วยยา

1. ยาสเตียรอย ยาจะมีทั้งรูปแบบของยารับประทาน ยาให้ทางหลอดเลือด หรือยาพ่น ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดการอักเสบในปอด

2. ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ โดยยาจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ Bota Agonists และ Anticholinergics

3. ยาพอสโฟไอเอสเทอเรส-4 อินฮิปิเตอร์ (_hosphodiesterase-4 Inhibitor) สามารถลดโอกาสกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รุนแรง เป็นยารับประทานที่ช่วยต้านการอักเสบ

4. ยาปฏิชีวนะ นำมาใช้เพื่อรักษาการกำเริบของโรคในกรณีที่มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้อาการถุงลมโป่งพองแย่ลง

5. การฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากการได้รับวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการติดเชื้อในปอดที่รุนแรงได้

การบำบัด

1. การบำบัดด้วยออกซิเจน ในขณะที่ออกกำลังกาย หากผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้นานยิ่งขึ้น

2. ดูแลเรื่องอาหารการกิน ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองที่เป็นมานาน จะมีน้ำหนักตัวลดลง เมื่อน้ำหนักตัวลดลงก็จะทำให้แรงหรือกำลังที่ใช้ในการหายใจลดลงจึงต้องกินเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กลับสู่ภาวะปกติ

3. การออกกำลังกายที่มีความหนักในระดับปานกลาง เช่น การเดินจะช่วยให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น ทำให้เสามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น การฝึกหายใจลึก ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ดี

4. การผ่าตัด วิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากเท่านั้น โดยการนำชิ้นส่วนของปอดที่ได้รับความเสียหายออก หรือทำการปลูกถ่ายปอด แต่จะพบได้น้อย

5. การปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพองในการใช้ชีวิต

6. ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ

7. เลิกสูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่

8. หลีกเลี่ยงฝุ่นควันพิษ น้ำหอม และ พยายามล้างเครื่องปรับอากาศให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อที่จะไม่ทำให้ปอดเกิดการระคายเคือง

9. หลีกเลี่ยง และ ป้องกันโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงลมโป่งพอง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงลมโป่งพอง
CR. http://esagaver.blogspot.com/2012/02/what-are-possible-complications-of.html

การติดเชื้อที่ปอด ทำให้เกิดปอดบวม

เกิดถุงลมที่พองตัวผิดปกติ ซึ่งสามารถพองตัวใหญ่ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของปอด และ มีโอกาสทำให้ปอดแตกได้ มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องขวาล้มเหลว เนื่องจากถุงลมโป่งพองสามารถเพิ่มความดันโลหิตของหลอดเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ

ภาวะที่โพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ เป็นภาวะที่สามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เพราะการทำงานของปอดได้ถูกทำลายไปบ้างแล้ว

การป้องกันถุงลมโป่งพอง

การป้องกันโรคถุงลมโป่งพองที่ดีที่สุด คือ การเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ควรหลีกเลี่ยง หรือ สวมหน้ากากป้องกันตัวเอง จากควันและสารพิษที่เป็นอันตราย

การตรวจพบโรคได้อย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นทุกคนจึงควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีกันทุกปี เพราะหากเราเจอโรคเร็วเราก็จะรักษาได้ทันท่วงที อย่างเช่น โรคถุงลมโป่งพองในรายที่ปอด และ หัวใจได้รับความเสียหายอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://medthai.com/ถุงลมโป่งพอง/
2. https://www.honestdocs.co/emphysema-2
3. https://www.pobpad.com/ถุงลมโป่งพอง