HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคผิวหนังคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคผิวหนัง

Table of Contents

โรคผิวหนัง (Skin Disease) 

โรคผิวหนัง (Skin Disease) คือ โรคที่ทำให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่น ตุ่ม วงดวงขาว หรือ เป็นก้อนขึ้นตามร่างกาย และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน อาจจะมีอาการปวด หรือ คันร่วมด้วย

โรคผิวหนัง

โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น การใช้ยา การติดเชื้อปรสิต อาการแพ้ หรือ เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ ซึ่งโรคชนิดนี้เป็นโรคที่ไม่รุนแรง และ มักพบในส่วนของหนังกำพร้า (Epidermis) และ หนังแท้ (Dermis)

ซึ่งบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ และ โรคผิวหนังบางชนิดจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่สาเหตุการเกิดโรคต่างกัน เช่น โรคผิวหนังอักเสบจะมีลักษณะเหมือนโรคผิวหนังที่เกิดจากภูมิแพ้

 

สาเหตุของโรคผิวหนัง

1. ความผิดปกติของฮอร์โมน

การอุดตัน หรือ อักเสบติดเชื้อของรูขุมขนได้แก่ สิว (Acne vulgaris) คือการอักเสบของผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผื่นนูน ตุ่มหนอง ตุ่มใหญ่ หรือ สิวหัวช้าง ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปของสิวหัวเปิด หรือ สิวหัวปิด

สิวที่เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันที่รูขุมขนบนผิวหนัง และสาเหตุของการเกิดสิว ได้แก่ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ การผลิตไขมันที่มากเกินไป ฮอร์โมน อาหารที่รับประทาน และ กรรมพันธุ์

 

สาเหตุของโรคผิวหนัง

2. โรคผิวหนังที่เกิดจากการใช้ยา เครื่องสำอาง รังสี และ แสงแดด ได้แก่

กระ คือ จุดด่างดำที่เกิดบนใบหน้า หรือ ผิวหนังส่วนอื่น เช่น ลำคอ แขน ขา  จะมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงเข้ม ส่วนมากสาเหตุของการเกิดการมักจะสัมผัสกับแสงแดด

ฝ้า คือ เซลล์เม็ดสีใต้ชั้นผิวหนังทำงานผิดปกติ สาเหตุที่เซลล์เม็ดสีทำงานผิดปกติ มักมาจากการได้รับรังสี UV ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

โรคผิวหนังที่เกิดจากการใช้ยา เครื่องสำอาง รังสี และ แสงแดด

3. โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่

ฝีเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณที่เป็น

ฝี
CR. https://www.cdc.gov/mrsa/community/photos/photo-mrsa-8.html

4. โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ได้แก่

โรคเริม เกิดจากเชื้อไวรัส HSV-1 ซึ่งจะมีอาการคันแสบร้อนบริเวณผิวหนังจะมีลักษณะแดงเป็นตุ่มใสบริเวณผิวหนัง สักพักตุ่มใสจะเป็นหนอง และ แตกเมื่อแตกแล้วจะแห้งจนกลายเป็นสะเก็ด

โรคเริม

 

โรคงูสวัด จะปรากฏผื่นเป็นเส้นตรงขนานกัน บริเวณผิวหนัง ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นที่หน้าท้อง แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นกับบริเวณอื่นของร่างกายได้ จะมีอาการแสบร้อนและคัน

โรคอีสุกอีใส ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และ จะมีตุ่มหนองสีแดง เกิดขึ้นทั่วร่างกาย และ เมื่อเวลาผ่านไปตุ่มหนองจะแห้งและตกสะเก็ดทั้งตัว

โรคหูด พบได้บริเวณผิวหนัง หรือ ชั้นเนื้อเยื่อเมือก อาจเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ หรือ หลาย ๆ ก้อน ก็ได้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส

 

5. โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา ได้แก่

เกลื้อน
CR. https://www.healthline.com/health/tinea-corporis

กลาก เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่สร้างความรำคาญใจให้กับผู้ที่เป็นอย่างมาก โดยเกิดจากการติดเชื้อรา

เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งเราสามารถพบเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นเรื่องปกติ ลักษณะจะเป็นผื่น หรือ เป็นจุดทำให้เกิดการระคายเคือง และ คันได้

โรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต พบได้บ่อยในคนที่เท้าเปียกเกือบตลอดเวลา และ ในคนที่มีเหงื่อออกบริเวณเท้ามาก เป็นการติเชื้อรา ประเภทหนึ่งของเท้า ซึ่งเชื้อราจะเติบโตในผิวหนังชั้นนอก (ผิวหนังกำพร้า)

รังแค หรือ เชื้อราที่หนังศีรษะ คือ การที่ผิวหนังเกิดการผลัดเซลล์ผิวที่เร็ว หรือ มากกว่าปกติ ซึ่งปกติแล้วผิวหนังจะมีการสร้างและผลัดเซลล์อยู่ตลอดเวลา และ เซลล์ผิวที่ตายแล้วจะหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นสีขาว

เชื้อราที่เล็บ หากเกิดขึ้นกับผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นขาดความมั่นใจ การติดเชื้อราจะค่อย ๆ เกิดขึ้น และ ทำให้เล็บเปลี่ยนสี มักจะเกิดขึ้นกับเล็บเท้า และ ในบางกรณีผิวหนังใกล้เคียงอาจติเชื้อราตามเล็บได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคัน

 

6. โรคผิวหนังที่เกิดจากอาการแพ้ หรือ ภูมิแพ้

โรคนี้จะเกิดขึ้นได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุ์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองผิดไปจากปกติ เมื่อมีปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง

และ ปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ได้แก่ ละอองเกสร ไรฝุ่น ขนสัตว์ สบู่ ผงซักฟอก เรือ แม้กระทั่งอาหาร อาหารที่แพ้บ่อยได้แก่ ไข่ นม ถั่ว อากาศหนาว อากาศแห้ง

7. โรคผิวหนังที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

โรคผิวหนังบางโรคเกิดจากการขาดวิตามิน ได้แก่

โรคผิวหนังที่เกิดจากการขาดสารอาหาร
CR. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:A_patch_of_skin_disease;_and_a_person_with_a_skin_disease_co_Wellcome_V0010271.jpg

รังแคที่หนังศีรษะ แสดงว่าร่างกายขาดธาตุเหล็ก แนะนำให้หาอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ๆ มารับประทาน เช่น เนื้อแดง ปลา เป็ด อาหารทะเล ถั่ว โยเกิร์ต ชีส และ ไก่

เป็นเริมที่ปาก แสดงว่าร่างกายกำลังได้รับวิตามินอี ไม่เพียงพอ แนะนำให้รับประทานอาการที่อุดมไปด้วยวิตามินอี เช่น ไข่ ผักใบเขียว น้ำมันถั่วเหลือง เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น

เป็นสิวเรื้อรังไม่หายขาด แสดงว่าร่างกายกำลังขาดวิตามินซี แนะนำให้หาผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น สตรอเบอรี่ กีวี ส้ม และ ฝรั่ง มากิน

ริมฝีปากแห้งและลอก แสดงว่าร่างกายกำลังขาดวิตามินบี 2 แนะนำให้หาอาหารที่มีวิตามินบี 2 มารับประทาน เช่น เครื่องใน ตับ เซียงจี๊ นม นมเปรี้ยว ผักใบเขียว ข้าวโอ๊ต โยเกิร์ต

โรคสะเก็ดเงิน แสดงว่าร่างกายกำลังขาดวิตามินดี ควรรับประทานอาหารประเภทน้ำมันตับปลา ไขมัน เนย ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน

 

8. โรคผิวหนังที่เกิดจากพันธุกรรม ได้แก่

ไฝ เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ผิวหนัง สามารถขึ้นได้บนผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักมีมาตั้งแต่เกิด

ปาน มักปรากฏหลังคลอดได้ไม่นาน มีทั้งลักษณะที่เรียบและนูน ขนาดเล็ก และ ใหญ่ อาจอยู่บนผิวหนังตลอดชีวิต หรือ ค่อย ๆ หายไปเมื่อโตขึ้น

 

9. โรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของผิวหนัง หรือ เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดปัญหา และ เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะด้านรูปลักษณ์ เพราะโรคสะเก็ดเงินจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความไม่มั่นใจในการพบปะผู้คน

ซึ่งโรคสะเก็ดเงิน คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ผิวหนังสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย เช่น ข้อศอก ใบหน้า ฝ่ามือ และ หนังศีรษะ

โรคสะเก็ดเงิน

ตาปลา คือ ตุ่มนูนเล็ก ๆ มักเกิดจากการเสียดสีซ้ำไปซ้ำมาของผิวหนังบริเวณนั้น ซึ่งส่วนมากเกิดจากพฤติกรรมของเราเอง

 

การวินิจฉัยโรคผิวหนัง

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายทั้งหมด อาจจะใช้การสังเกต และ สอบถามอาการ ส่วนการยืนยันผลจะต้องมีการเก็บตัวอย่างผิวหนัง โดยเจาะชิ้นเนื้อไปทดสอบในห้องปฏิบัติการ

 

อาการที่บ่งบอกโรคผิวหนัง

-ผื่นแดง แห้งเป็นขุย

-คันยุบยิบ เป็น ๆ หาย ๆ

-หากเป็นเรื้อรังผิวหนังจะหนาและมีรอยคล้ำ

-คันมากขึ้นเมื่อเหงื่อออก

-ยิ่งเกา ยิ่งคัน

 

การรักษาโรคผิวหนัง

จะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนัง โดยทั่วไปแล้วจะใช้วิธีดังต่อไปนี้

การใช้ยา มักจะเป็นการใช้ยาทาภายนอก เพื่อรักษาการอักเสบและป้องกันผิวหนังที่เป็นโรค

การใช้สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง

การใช้สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง

1. ขมิ้นชัน ใช้รักษาโรคผิวหนังผดผื่นคันได้ โดยนำเหง้าของขมิ้นชันมาบดให้เป็นผงผสมน้ำทาบริเวณที่มีอาการของโรคผิวหนัง

2. ข่า ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน โดยนำเหง้าสด มาตำผสมกับเหล้าโรง แล้วทาบริเวณที่เกิดโรค

3. ทองพันช่าง ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อนได้ โดยนำใบสด และ รากมาโขลกให้ละเอียด แล้วนำไปแช่เหล้าโรง 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นนำมาทาบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อน

4. มะคำดีควาย ใช้รักษาโรคกลากได้เป็นอย่างดี และ ยังแก้รังแค แก้ชันนะตุได้ โดยนำผลมะคำดีควายมาทุบให้แตก แช่น้ำ 15 นาที และ กรองเอาแต่น้ำ

5. ว่านมหากาฬ ใช้รักษาโรคเริม โรคงูสวัด โดยนำราก และ ใบมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น

6. ข่อย เปลือกของต้นข่อย สามารถนำมารักษาโรคผิวหนังได้

7. วันทองพยาบาท เปลือกของต้นเป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน

 

วิธีป้องกันโรคผิวหนัง

แพทย์แนะนำวิธีป้องกันโรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าร้อน ซึ่งโรคผิวหนังอาจจะมากับแสงแดด ควรดูแลสุขภาพผิวพรรณ โดยหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด หากมีความจำเป็นควรกางร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง ใส่เสื้อแขนยาว

ทาครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิวอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสถานที่มีมลพิษ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ หมั่นสังเกตความผิดปกติบนผิวหนัง โรคผิวหนังที่อาจมากับแสงแดด

ได้แก่ โรคติดเชื้อ เช่น โรคกลาก มักเกิดในช่วงอากาศร้อน และ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง การดูแลป้องกัน คือ ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด แนะนำให้หมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝ หรือ ขี้แมลงวัน หากพบว่ามีผิวหนังที่ผิดปกติให้รีบพบแพทย์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://www.pobpad.com/ผิวหนังอักเสบ
2. https://thaihealthlife.com/โรคผิวหนัง/
3. https://www.honestdocs.co/skin-lesion