HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคพุ่มพวงคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคพุ่มพวง

โรคพุ่มพวง

โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupus) เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายมีความผิดปกติ โดยภูมิคุ้มกันจะต่อต้านและทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ จนเกิดเป็นอาการอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีอาการป่วยรู้สึกเหนื่อยล้า มีผื่นแดงตามใบหน้า ตาแห้ง ตัวบวม ขาบวม ปวดหัว ปวดบวมตามข้อต่อกระดูก ผมร่วง เป็นต้น

โรคพุ่มพวง
CR. https://ecosh.com/lupus-what-disease-is-it/

และส่วนสาเหตุที่คนไทยเรียกโรคนี้ว่า “โรคพุ่มพวง” เนื่องจากเป็นโรคที่ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ศิลปินนักร้องลูกทุ่งชื่อดังของไทยได้ป่วยและเสียชีวิตลงด้วยโรคนี้และโรคแพ้ภูมิตัวเองจึงเป็นที่รู้จักและถูกเรียกต่อกันมาว่า โรคแพ้ภูมิตัวเองนั่นเองค่ะ

 

โรคแพ้ภูมิตัวเอง มีหลายชนิด ได้แก่

-SLE: โรคแพ้ภูมิตนเองชนิดที่มักพบบ่อย และเป็นชนิดที่คุณพุ่มพวงป่วยและเสียชีวิต ภูมิคุ้มกันจะทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดอาการและความเจ็บป่วย เช่น ผื่นแดงทางผิวหนัง ข้ออักเสบ สมองและระบบประสาทได้รับความเสียหาย อาจเกิดอาการทางประสาทอย่างเห็นภาพหลอนร่วมด้วย รวมถึงข้อต่อ ไต และอวัยวะอื่น ๆ

-Neonatal Lupus: โรคแพ้ภูมิในทารกแรกเกิด

-Drug-induced Lupus: โรคแพ้ภูมิจากยา อาการแพ้เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่มและจะหายเมื่อหยุดใช้ยานั้น

-Discoid Lupus Erythematosus: โรคที่มีผื่นแดงขึ้นที่ใบหน้าและสร้างรอยแผลเป็นหลังผื่นหาย

-Subacute Cutaneous Lupus Erythematosus: โรคผื่นกึ่งเฉียบพลัน โดยผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดจะเป็นผื่น

 

สาเหตุของโรคพุ่มพวง

สาเหตุที่แท้จริงของโรคแพ้ภูมิตัวเองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่อาจเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่

-พันธุกรรม คือการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจส่งต่อลักษณะบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคได้

-การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงในช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต

-การติดเชื้อ การได้รับเชื้อต่าง ๆ อย่างไวรัสบางชนิด

-การใช้ยา ยาบางประเภท เช่น ยาต้านอาการชัก ยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มควบคุมความดันโลหิต

-การได้รับสาร เช่น สารเคมี การสูบบุหรี่ และยาสูบต่าง ๆ

-แสงแดด สำหรับคนที่มีผิวไวต่อแดด การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดรอยโรค เป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา

 

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง

คนที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 20-45 ปี และที่พบมากสุดจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 30 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ และยังพบว่าผู้หญิงเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองมากกว่าผู้ชายถึง 9 เท่าเลยทีเดียวค่ะ

อาการของโรคพุ่มพวง

สัญญาณอันตรายที่เป็นอาการเริ่มต้นของโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง มีหลากหลายอาการ ดังนี้

อาการของโรคพุ่มพวง
Cr. https://www.webmd.com/lupus/ss/slideshow-lupus-overview

-อาการผิดปกติทั่วไปที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผอมลง

-อาการทางผิวหนัง เช่น มีผื่นแดง มักเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า ช่วงตรงกลาง และโหนกแก้มทั้งสองข้าง รูปร่างคล้ายผีเสื้อ และอาจมีอาการผมร่วงร่วมด้วยค่ะ

-อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อาจไม่มีอาการบวมแดง แต่ปวดได้ทุกส่วนที่มีข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ

-อาการทางปอด เช่น เจ็บหน้าอก ไอ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มีน้ำในปอด เหนื่อยง่าย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ไปจนถึงหัวใจเต้นผิดปกติ

-อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร

-อาการทางไต ความดันโลหิตสูง เช่น ขาบวม จากการบวมน้ำ

-อาการทางระบบโลหิต เช่น โลหิตจาง ภาวะซีด ความดันโลหิตต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ หลอดเลือดอักเสบ อาจจะพบเป็นจุดแดง ๆ เล็ก ๆ ทั่วตัวคล้ายไข้เลือดออก

-อาการทางระบบประสาท เช่น มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ เครียด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาในการจำ สับสน เห็นภาพหลอน

และวิธีสังเกตอาการส่วนใหญ่ที่พบของโรคแพ้ภูมิตัวเอง คือ รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนแรงมีไข้ ปวดหัวตาแห้ง ตาบวม มีผื่นแดงขึ้นตามใบหน้า ปากเป็นแผล ผมร่วงนิ้วมือ นิ้วเท้าซีด ผิวไวต่อแสงแดด หายใจช่วงสั้น ๆ เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดบวมตามข้อ ขาบวม รู้สึกมึนงง สูญเสียความทรงจำค่ะ

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแพ้ภูมิตัวเอง

โรคแพ้ภูมิตัวเองเป็นโรคที่กระทบกับอวัยวะหลายอวัยวะ และภาวะแทรกซ้อนของโรคแพ้ภูมิตัวเองที่มักจะเกิดขึ้น ได้แก่

-ไตวาย

-ซีด

-เกล็ดเลือดต่ำ

-โรคทางระบบประสาท

รวมทั้งโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากยากดภูมิ เช่นการติดเชื้อฉวย เช่น วัณโรค โรคพยาธิ นอกจากนั้นยังต้องป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โอกาสเนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากที่สุดค่ะ

 

การวินิจฉัยโรคแพ้ภูมิตัวเอง

เนื่องจากความรุนแรงของโรคแพ้ภูมิตัวเองในแต่ละคนไม่เท่ากัน ทำให้การวินิจฉัยโรคมีความไม่แน่นอน โดยแพทย์อาจใช้ชุดตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยโรค ดังนี้

 

การตรวจเลือด

ตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อดูปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และฮีโมโกลบินในเลือด เช่น หากป่วยด้วยโรคนี้ มักจะมีภาวะโลหิตจาง และปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดจะต่ำ และทำการวัดอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง

การตรวจเลือด

หากสูง แสดงว่ามีการอักเสบ และมีโอกาสในการป่วยด้วยโรคนี้ และตรวจการทำงานของตับและไต หากป่วยด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง มักส่งผลกระทบต่อตับและไตด้วย สุดท้ายตรวจหาภูมิคุ้มกัน เมื่อตรวจแล้วหากมีผลเป็นบวก แสดงว่าอาจกำลังป่วยด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเองนี้อยู่

การตรวจปัสสาวะ

เมื่อตรวจปัสสาวะแล้วพบระดับโปรตีนที่เพิ่มขึ้นหรือเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นในปัสสาวะ อาจมาจากการป่วยด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเองจนมีผลกระทบต่อไต

 

การรักษาโรคพุ่มพวง

แพทย์จะพยายามควบคุมโรคให้สงบด้วยการให้ทานยา ทำการรักษาตามอาการที่พบ และติดตามอาการไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการจะสงบ หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะยิ่งทำให้แพทย์ทำการรักษา และควบคุมอาการได้ดีขึ้นและยาที่ใช้รักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองที่แพทย์ใช้รักษา ได้แก่

-ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

ยาบางชนิดสามารถหาซื้อได้ตามร้ายขายยา อย่างยานาพรอกเซน (Naproxen Sodium) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ใช้ลดอาการปวด บวม หรือมีไข้

-ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ยานี้สามารถรักษาอาการอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคแพ้ภูมิตัวเองได้ ด้วยการลดปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันร่างกายลง แต่อาจส่งผลข้างเคียงได้ในระยะยาว

-ยากดภูมิคุ้มกัน

จะออกฤทธิ์ให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานที่ลดลง ทำให้อาการป่วยที่เกิดขึ้นบรรเทาลง มักใช้ในผู้ที่ป่วยอย่างรุนแรง เช่น ยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine) ยาไมโคฟีโนเลต (Mycophenolate) และยาบีลิมูแมบ (belimumab) เป็นต้น

-ยาต้านมาลาเรีย

สามารถนำมาใช้ควบคุมอาการโรคแพ้ภูมิตัวเองได้อย่างเช่น ลดผื่น และลดอาการบวมตามข้อได้

 

การป้องกันโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือพุ่มพวง

แม้ยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคแพ้ภูมิตัวเองได้ แต่คนทั่วไปสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้

-การดูแลรักษาร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ

-รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

-ออกกำลังกายเป็นประจำ

-พักผ่อนให้เพียงพอ

-ไม่เครียดจนเกินไป

-ไม่สูบบุหรี่

-ไม่ตากแดดที่ร้อนจ้าหรือเป็นเวลานาน

-หลีกเลี่ยงสารเคมีเป็นพิษในชีวิตประจำวัน

-รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาด ลดโอกาสในการติดเชื้อ

-ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยาอะไรเป็นประจำ

 

การป้องกันการกำเริบของโรคแพ้ภูมิตัวเอง มีดังนี้

-ต้องเรียนรู้สัญญาณเตือนภัย

-ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

-ตั้งเป้าหมายการรักษา

-รักษาสุขภาพให้ดี

-ควบคุมอาหาร

-หลีกเลี่ยงความเครียด

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ และต้องไม่ปฏิบัติตัวที่จะเป็นการกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นมาใหม่ และเป็นที่น่าเสียดายที่โรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเองไม่มีวิธีป้องกันได้ 100%

แต่ผู้ป่วยโรคนี้ก็ควรปฏิบัติตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพบแพทย์ตามเวลาที่นัดหมายทุกครั้ง เพื่อให้การติดตามอาการ การควบคุมอาการของโรคเป็นไปอย่างต่อเนื่องค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://www.pobpad.com/โรคพุ่มพวง-แพ้ภูมิตัวเอง
2. https://www.sanook.com/health/7733/
3. https://www.siamhealth.net/public_html/Health/Photo_teaching/SLE/sle_definition.htm
4. https://www.pobpad.com/โรคพุ่มพวง-แพ้ภูมิตัวเอง
5. https://www.posttoday.com/life/healthy/591986