HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคลิ้นหัวใจรั่วคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคลิ้นหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation)

โรคลิ้นหัวใจรั่ว คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท จึงเป็นเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอ โรคนี้รักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยา และ การผ่าตัดซ่อมแซม และ การใส่อุปกรณ์บางชนิด เพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ

โรคลิ้นหัวใจรั่ว

ตำแหน่งของลิ้นหัวใจที่มีการรั่ว‍

1. ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว (Pulmonary Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ที่อยู่ระหว่างห้องขวาล่างและปอด ทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องล่างขวา จนทำให้ปอดได้รับออกซิเจนที่ถูกลำเลียงไปกับเลือดไม่เพียงพอ

2. ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างห้องล่างซ้าย และ หลอดเลือดเอออตาร์ทำให้เลือดไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หัวใจห้องล้างซ้าย

3. ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (Tricuspid Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจขวาบนและล่าง ทำให้เลือดไหลย้อนกลับจึงทำให้ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอดลดลง

4. ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบน และ ล่างซ้าย ทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนหลังจากสูบฉีดเลือด

 

สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจมาจากความบกพร่อง ‍‍ หรือ ความผิดปกติของหัวใจที่อาจเกิดจากโรคแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่ว
CR. https://www.columbiaheartvalve.org/

 

 1. ปฐมภูมิ (Primary Cause)

เกิดจากการสะสมของแคลเซียมที่ลิ้นหัวใจมากผิดปกติ หรือ ผู้ที่มีลิ้นหัวใจยาว และ สาเหตุที่เกิดจากโครงสร้างของลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ ทำให้ลิ้นหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ และ ปิดไม่สนิทขณะสูบฉีดเลือด

2. ทุติยภูมิ (Secondary Cause)

เกิดจากโรคหัวใจ และ หลอดเลือดส่งผลให้ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่ ลิ้นหัวใจยาว โรคไข้รูมาติก หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เนื้อเยื่อไขสันหลังเสียหาย เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดลิ้นหัวใจผิดปกติ ได้แก่

– โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart valve Disease) เนื่องจากความผิดปกติของหัวใจที่เกิดมาพร้อมกับความพิการจะมีความเสี่ยงลิ้นหัวใจรั่วมากกว่าคนอื่น ๆ และด้วยความผิดปกตินี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานทั้งหมดของหัวใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

– ความดันโลหิตสูง เนื่องจากความดันโลหิตที่สูงอาจทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด และ เกิดลิ้นหัวใจรั่วตามมาได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จึงมีความเสี่ยงต่อลิ้นหัวใจรั่วชนิดลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว

– โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว

– หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นปัจจัยที่ทำให้หัวใจเกิดความเสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบถุงลิ้นหัวใจได้

– ผู้ป่วยที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคลิ้นหัวใจ จะมีความเสี่ยงลิ้นหัวใจรั่วมากขึ้น

– อายุ ลิ้นหัวใจโดยธรรมชาติแล้วยิ่งอายุมากก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะเสื่อมสภาพไปตามอายุขัย

– การใช้ยา ยาไมเกรนบางตัวจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคลิ้นหัวใจรั่วได้

อาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว

อาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว
cr. healthxchange.sg

 

โรคลิ้นหัวใจจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อ เริ่มมีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งจะแสดงอาการดังนี้
1. ปวดบริเวณหน้าอก โดยเกิดจากการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดหัวใจลดลง ซึ่งอาจจะลามไปถึงแขนข้างซ้าย หรือ ที่หน้าท้อง
2. เหนื่อยง่าย เกิดจากการคั่งของเลือด และ ของเหลวภายในหลอดเลือดที่อยู่ในปอด โดยจะมีอาการในระหว่างออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงจะทำให้เหนื่อยง่ายถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงพักก็ตาม
3. วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
4. มีอาการบวมที่เท้า และ ข้อเท้า เนื่องมาจากการบวมน้ำ
5. รู้สึกหัวใจเต้นผิดปกติ คล้ายกับอาการใจสั่น

ลิ้นหัวใจแต่ส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้น อาการลิ้นหัวใจรั่วแต่ละชนิดก็จะมีอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว
cr.intermountainhealthcare.org

– ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว ลิ้นหัวใจรั่วชนิดนี้จะต่างจากชนิดอื่น ๆ และ จะตรวจพบจากการตรวจร่างกายในลักษณะมีเสียงหัวใจที่ผิดปกติ และ ยังอาจพบอาการชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ ไอ เวียนศีรษะ มีปัญหาในการนอน เพราะหายใจไม่สะดวก และ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งหากมีอาการรุนแรงมาก ๆ จะทำให้หัวใจห้องล่างทำงานได้ไม่เต็มที่ เสี่ยงกับภาวะหัวใจรายได้ และ  อาการที่ส่งสัญญาณเตือนของหัวใจวายได้แก่ รู้สึกเหนื่อย ผิดปกติ หายใจสั้น

– ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว จะทำให้สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดดำที่คอ ตับโต ทำให้มีอาการบวมที่ผิดปกติบริเวณหน้าท้องขา เท้า และ ข้อเท้า

– ลิ้นหัวใจไมตรัสรั่ว จะเกิดขึ้นเมื่อมีอาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น โดยเฉพาะเวลานอนตะแคงซ้ายจะมีอาการใจสั่นมากขึ้น

– ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว จะมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหงาย มีอาการอ่อนแรงมีอาการบวมที่ข้อเท้า และ เท้า โดยที่หากมีอาการรุนแรงขึ้น จะทำให้ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น และ นำมาสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้

การวินิจฉัยลิ้นหัวใจรั่ว

การวินิจฉัยลิ้นหัวใจรั่ว
CR. https://www.heart.org/

หากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ว่ะจเป็นอาการหายใจสั้น ปวดหน้าอก รู้สึกเหนื่อย และ มีอาการบวมที่เท้า และ ข้อเท้า ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ซึ่งมีวิธีการวินิจฉัยดังนี้

 1. การตรวจทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) โดยจะให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อที่จะดูว่าหัวใจของผู้ป่วยทำงานได้ดีหรือไม่

 2. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) โดยอุปกรณ์จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไป และ จำลองภาพของหัวใจ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์เห็น ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ

3. การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : ECG) เป็นการตรวจด้วยวิธีการบันทึกการทำงานของกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ ซึ่งจะติดเครื่องมือบริเวณหน้าอก และ ผลจะแสดงออกมาในรูปแบบของกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

4. การตรวจด้วยการเอกซเรย์ทรวงอก วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์เห็นว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจโตหรือไม่ และ จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วหรือปัญหาเกี่ยวกับปอด

 5. การตรวจหัวใจด้วยภาพสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (Cardiac Magnetic Resonance Imaging) วิธีนี้จะทำให้เห็นการทำงาน และ ความผิดปกติของหัวใจได้ชัดมากขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ ฉายให้เห็นภาพรายละเอียดของหัวใจ

6. การสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization) เป็นการสอดท่อ และ ฉีดสารทึบแสงผ่านทางข้อพับ และ ขาหนีบ แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดหัวใจจะช่วยให้แพทย์ระบุความรุนแรงของโรค และ วางแผนการรักษาในขั้นตอนต่อไป

 

การรักษาโรคลิ้นหัวใจ

โดยแพทย์จะดูจากอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก และ เลือกวีการรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วจากความรุนแรงของโรค การรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น และ ฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ และ ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยควรจะดูแลตัวเองดังนี้

1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ

ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสเค็มจัด และ อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจ

2. ควบคุมระดับความดันโลหิต

การรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ จะช่วยทำให้หัวใจไม่ทำงานหนักจนเกินไป และ ทำให้ลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติไม่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

3. ควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ หากน้ำหนักตัวมากก็จะนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันในเลือด

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ก่อนออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาการออกกำลังกายที่เหมาะกับตัวเราเพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักจนเกินไป และควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะจะได้ช่วยให้หัวใจทำงานได้มากขึ้น

6. ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว อาการยิ่งหนักขึ้นควรเลิกดื่มไปเลยจะดีที่สุด

7. พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

เพื่อที่จะช่วยให้แพทย์ควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น

การใช้ยา

หากอาการไม่รุนแรง แพทย์จะสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยให้การทำงานของหัวใจเต็มประสิทธิภาพ และ ยาที่ใช้ในการรักษาได้แก่

1. ยาเอซีอี อินฮิปิเตอร์ (ACE Inhibitor) ใช้เพื่อปรับสภาพการทำงานของหัวใจ และชะลอการเกิดอาการหัวใจโต ช่วยลดความดันโลหิตไม่ให้หัวใจทำงานหนักมากเกินไป

2. ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เพื่อขับของเหลวส่วนเกินที่สะสมอยู่ในปอด และ ส่วนต่าง ๆ ในร่างกายออกมา ทำให้น้ำในร่างกายลดลง ลดอาการเหนื่อย และ อาการบวมได้

 

การผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด จะมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจที่นำมาใช้มีทั้งที่ผลิตจากไทเทเนียม หรือ ลิ้นหัวใจของสัตว์ เช่น หมู และ หลังจากผ่าตัดแล้วผู้ป่วยจะต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามอาการ

2. การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ วิธีนี้จะเป็นการรักษาที่ใช้ในบางกรณีเท่านั้น ทำเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติให้กลับมาทำงานได้

การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่ว สามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากโรค เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง คอเรสเตอรอลสูง และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด และ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ และ หลอดเลือดควรพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามอาการและหากมีสัญญาณของลิ้นหัวใจรั่ว แพทย์จะได้ทำการรักษาได้ แต่เนิ่น ๆ

ข้อมูลอ้างอิง https://www.pobpad.com/ลิ้นหัวใจรั่ว