HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคหนองในคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคหนองใน

โรคหนองใน

โรคหนองใน (Gonorrhea) หรือเรียกอีกชื่อว่าหนองในแท้ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย  ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae พบได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคหนองใน
CR. https://www.slideshare.net/RaviPratapUdawat/gonorrhea-22316472

ซึ่งเชื้อดังกล่าวสามารถแพร่จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก ลำคอ และมักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหรือการสัมผัสของเหลวจากร่างกาย โดยที่ไม่ได้สวมใส่ถุงยางอนามัย รวมทั้งสามารถติดต่อจากหญิงตั้งครรภ์ไปสู่ทารกในช่วงระหว่างคลอดได้

โดยผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ อาการมักเป็นรุนแรงและชัดเจนจนผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาการจะดีขึ้นได้เองเพียงเล็กน้อย แต่ตัวโรคยังคงเป็นอยู่ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

หนองใน สาเหตุ

หนองในแท้เกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่าไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria Gonorrhoeae) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถเติบโตและเพิ่มจำนวนในเยื่อเมือกบุผิวของร่างกายได้อย่างง่ายดาย ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิและสารน้ำในช่องคลอด   โดยสามารถเติบโตในพื้นที่ที่มีความอุ่นและชื้นอย่างระบบสืบพันธุ์

จึงถ่ายทอดผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเจริญได้ดี ได้แก่ ปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ และท่อปัสสาวะ รวมถึงบริเวณปาก ลำคอ และทวารหนัก ซึ่งเชื้อนี้จะแพร่จากคนไปสู่คนผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางด้านหน้าและทางทวารหนัก รวมถึงการใช้ปากสำเร็จความใคร่

โรคหนองใน สาเหตุ
CR. https://greenlifehealths.com/product/gonorrheastaphylococcus/

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนองในแท้ ได้แก่

-มีการเปลี่ยนคู่นอนใหม่ ไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

-มีคู่นอนหลายคน โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

-ใช้คู่นอนร่วมกับผู้อื่น โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

-ติดยาเสพติด

-เคยตรวจพบว่าเป็นหนองในมาก่อน

-ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น เช่น โรคซิฟิลิส

 

การวินิจฉัยหนองใน

แพทย์สามารถวินิจฉัยได้หลากหลายวิธี

การวินิจฉัยในเพศหญิง แพทย์หรือพยาบาลมักจะใช้สำลีป้ายเก็บตัวอย่างจากช่องคลอดหรือปากมดลูกระหว่างที่ตรวจภายใน หรือบางกรณีก็อาจมีการเก็บตัวอย่างจากบริเวณท่อปัสสาวะด้วย

การวินิจฉัยหนองใน
CR. https://www.contagionlive.com/news/oral-gonorrhea-may-be-spread-through-kissing-in-msm

ทั้งนี้ผู้ป่วยจะขอเก็บตัวอย่างจากภายในช่องคลอดด้วยสำลีหรือผ้าอนามัยแบบสอดด้วยตนเองก็ได้ แต่การตรวจหนองในเพศหญิงจะไม่ตรวจโดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะเหมือนการตรวจในเพศชาย

การวินิจฉัยในเพศชายมักใช้การตรวจปัสสาวะ

การวินิจฉัยในเพศชายมักใช้การตรวจปัสสาวะ หรือเก็บตัวอย่างจากของเหลวที่ถูกขับออกมาจากปลายอวัยวะเพศ ซึ่งผู้ป่วยต้องไม่ปัสสาวะเป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนหน้าการเก็บตัวอย่าง เนื่องจากการปัสสาวะจะไปล้างเชื้อแบคทีเรียหนองในแท้ ส่งผลต่อความแม่นยำของการวินิจฉัยโรค

 

โรคหนองใน อาการ

อาการของโรคมักปรากฏให้เห็นประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ แต่ส่วนใหญ่อาจไม่แสดงอาการใด ๆ  จนกระทั่งผ่านไปหลายเดือนแล้ว อาการจึงเริ่มปรากฏ โดยผู้หญิงอาจแสดงอาการช้ากว่าผู้ชาย

อาการติดเชื้อหนองในที่ปรากฏในเพศหญิง

-มีตกขาวผิดปกติขับออกมาจากช่องคลอด ลักษณะเป็นน้ำ หรือเส้นบาง ๆ สีออกเขียวหรือเหลือง หรือตกขาวมีปริมาณมากขึ้น

-ปัสสาวะแล้วรู้สึกเจ็บหรือแสบ

-เจ็บหรือฟกช้ำบริเวณท้องน้อย แต่พบได้ไม่บ่อย

-มีเลือดออกระหว่างรอบเดือนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือประจำเดือนมามากผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้น้อย

-หากเชื้อมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ อย่างมดลูกหรือท่อนำไข่ เชื้อจะทำให้เกิดอาการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการปวดท้องน้อย มีไข้ และเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

 

อาการติดเชื้อหนองในที่อวัยวะเพศในเพศชายที่อาจเกิดขึ้น

-มีหนองสีเหลืองหรือเขียวไหลออกมาจากส่วนปลายของอวัยวะเพศ โดยอาจเกิดขึ้นหลังการมีเพศสัมพันธ์

-มีอาการเจ็บหรือแสบในลำกล้องเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือถ่ายปัสสาวะขัด

-เกิดการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

-เจ็บ บวม หรือฟกช้ำที่ลูกอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง แต่พบไม่บ่อย

 

อาการที่พบได้ทั้งชายและหญิง

-หากติดเชื้อในลำคอ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ เป็นไข้

-หากติดเชื้อในทวารหนัก อาจทำให้เกิดอาการปวดหน่วง คัน หรืออาจมีน้ำคล้ายหนองออกมา โดยเฉพาะในขณะขับถ่าย

-อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ (ไข่ดัน) บวมและเจ็บด้วย

-การติดเชื้อที่ดวงตาสามารถทำให้ระคายเคือง เจ็บ บวมหรือมีของเหลวไหลจากดวงตา

-การติดเชื้อที่ข้อต่อ จะส่งผลให้ข้อต่อที่ติดเชื้อรู้สึกอุ่น บวมแดง และเจ็บมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวบริเวณดังกล่าว

-การติดเชื้อที่ลำคออาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอและต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

อาการที่พบได้ทั้งชายและหญิง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองใน

-ฝ่ายชาย หากไม่ได้รับการรักษา อาจมีหนองไหลอยู่ประมาณ 3-4 เดือน ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ ซึ่งอาจทำให้ท่อปัสสาวะตีบตันได้

-ฝ่ายชายบางรายอาจทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือเป็นฝีที่ผนังของท่อปัสสาวะ และทำให้เกิดการอักเสบของอัณฑะ และท่อนำอสุจิ ซึ่งอาจทำให้มีบุตรได้ยากหรือกลายเป็นหมันได้

-สำหรับผู้หญิง เชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบที่อุ้งเชิงกรานและอาจทำให้เกิดแผลในส่วนต่างๆ ที่เชื้อเข้าถึง ทั้งยังอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากด้วย หรืออาจตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีอันตรายถึงชีวิตได้

-ผู้ที่เป็นหนองในจะติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ได้ง่ายกว่าคนที่ไม่เป็นหนองใน

-และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) ซึ่งอาจทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว และหัวใจวาย

 

โรคหนองใน รักษา

การรักษาหนองในสามารถทำได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะในช่วงสั้น ๆ โดยฉีดยาปฏิชีวนะแล้วตามด้วยการให้ยาปฏิชีวนะแบบเม็ด หลังจากได้รับยา ผู้ป่วยจะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แต่อาการเจ็บบริเวณเชิงกรานหรือลูกอัณฑะนั้นอาจต้องใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์จึงจะหายดี

หลังจากการรักษา 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรไปตามการนัดหมายของแพทย์ แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจดูอีกครั้งให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดออกไปจนหมด และเป็นการป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อขึ้นอีกครั้งหรือเกิดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

ส่วนทารกที่ได้รับเชื้อจากมารดา การรักษาทารกที่ได้รับเชื้อหนองใน แพทย์จะให้ยาหยอดตาเด็กทันทีที่คลอดออกมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่หากอาการติดเชื้อพัฒนาขึ้นแล้วจึงรักษาด้วยปฏิชีวนะที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็น รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

 

โรคหนองใน การป้องกัน

ถุงยางอนามัย

-สามารถป้องกันหนองในด้วยการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

-มีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะจะยิ่งเสี่ยงต่อการได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

-หลีกเลี่ยงการเที่ยวกลางคืนหรือการสำส่อนทางเพศ

-ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง หากมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งการใช้ถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันโรคนี้ได้เกือบ 100 %

-หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดหน้าและผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

-ควรดื่มน้ำก่อนร่วมเพศและถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ หรือฟอกล้างสบู่ทันทีหลังร่วมเพศ อาจช่วยลดการติดเชื้อลงได้บ้าง

-ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยหนองในหรือคู่นอนที่มีความเสี่ยง แต่หากเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ก็ควรป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางด้านหน้า ทางทวารหนัก หรือการใช้ปากสำเร็จความใคร่ก็ตาม

-ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีอาการผิดปกติ โดยเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ เจ็บหรือมีผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศ

-รับการตรวจหนองในแท้เป็นประจำ หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี หรือหญิงอายุมากกว่านี้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://medthai.com/หนองในแท้/
2. https://www.pobpad.com /หนองในแท้