HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคเครียดคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคเครียด

โรคเครียด (Acute Stress Disorder)

โรคเครียด คือ ภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้ายแรง ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดอาการเครียดประมาณ 1 เดือน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตราย

โรคเครียด (Acute Stress Disorder)

ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี (Fight or Flight) ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ความดันโลหิตสูง และ กล้ามเนื้อหดตัว

หลังเผชิญสถานการณ์อันตรายผู้ที่ป่วยเป็นโรคความเครียดจะรู้สึกกลัว หวาดระแวง และ ตื่นตระหนก อาจเกิดอาการวิตกกังวล ว้าวุ่น และ ฟุ้งซ่าน หรือ ไม่กังวล เกิดการฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง

 

อาการของโรคเครียด

อาการของโรคความเครียดจะเกิดขึ้นทันทีที่ผู้ป่วยเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด โดยที่อาการของโรคจะเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายวัน หรือ หลายสัปดาห์ หากมีอาการที่นานกว่านี้จะกลายเป็นโรคความเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ โดยที่อาการของโรคความเครียดจะมีดังนี้

1. อารมณ์ขุ่นมัว ผู้ป่วยจะรู้สึกอารมณ์ไม่ดี มีความทุกข์ ไม่ร่าเริง แจ่มใส รู้สึกไม่มีความสุข ซึ่งอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ป่วยโรคความเครียดมักแสดงออกในเชิงลบ

2. เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำ ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคความเครียดจะนึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรงไม่ดีที่เคยเกิดขึ้น
ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ โดยที่ผู้ป่วยบางคนถึงขั้นฝันร้าย

3. หลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคความเครียดจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้นึกถึงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดไม่ว่าจะเป็น สถานที่ ส่งของ ผู้คน กิจกรรม หรือ บทสนทนา ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ

4. มีพฤติกรรมแยกตัวออกมา ผู้ป่วยโรคความเครียดจะไม่มีสติ หรือ ไม่รับรู้การมีอยู่ของตัวเอง เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ และรู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง

5. ไวต่อสิ่งเร้า ผู้ป่วยโรคความเครียดจะไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โมโหหรือก้าวร้าว และ จะทำให้หลับยาก

โดยทั่วไป คนเราจะเกิดความเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและอารมณ์ ซึ่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายอารมณ์ ความรู้สึก และ พฤติกรรม ดังนี้

 

อาการของโรคเครียด

ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และ ความรู้สึก

-ซึมเศร้า

-ไม่มีสมาธิ หมดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ

-วิตกกังวล และ ฟุ้งซ่าน

-รู้สึกกดดันอยู่เสมอ และ ทำให้ตื่นตัวได้ง่ายกว่าปกติ

-อารมณ์แปรปรวนง่าย

 

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

-อ่อนเพลีย

-กล้ามเนื้อหดตัว จึงส่งผลให้ปวดหลัง เจ็บขากรรไกร และ ยังรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับเอ็นตามกล้ามเนื้อ

-ร่างกายจะตื่นตัวมาก ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกที่ฝ่ามือ มือเท้าเย็น เวียนศีรษะ ปวดไมเกรน หายใจไม่สะดุด เจ็บหน้าอก

-แรงขับทางเพศลดลง

-ปวดท้อง หรือ รู้สึกไม่สบายท้อง ซึ่งเกิดจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กรดในกระเพาะอาหาร แรดไหลย้อน ท้องผูก ท้องร่วงท้องอืด

-มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ

ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

-ไม่เข้าสังคม ไม่สนใจสิ่งรอบตัว

-รับประทานอาหารมากขึ้น หรือน้อยลงกว่าปกติ

-มักโกรธ และ อาละวาดได้ง่าย

-การทำกิจกรรมต่าง ๆ จะลดน้อยลง

 

สาเหตุของโรคเครียด

โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการที่ได้รับรู้เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรงมาก โดยที่เหตุการณ์นั้นทำให้รู้สึกกลัวตื่นตระหนก และ รู้สึกสะเทือนขวัย เช่น การประสบอุบัติเหตุจนเกือบเสียชีวิต การได้รับข่าวการเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ

การป่วยร้ายแรงของคนในครอบครัว หรือ เพื่อนสนิท นอกจากนี้ โรคความเครียดยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย โดยผู้ที่เสี่ยงป่วยเป็นโรคเครียดได้สูงจะมีลักษณะดังนี้

1. มีประวัติว่าเกิดอาการของโรคดิสโซซิเอทีฟ เมื่อเผชิญเหตุการณ์อันตราย เช่น อารมณ์แปรปรวนกะทันหัน และ ลืมตัวเอง หรือ สิ่งต่าง ๆ วิตกกังวล หรือ รู้สึกซึมเศร้าไม่มีสมาธิ

2. มีประวัติประสบปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง

3. เคยเผชิญเหตุการณ์อันตรายอย่างรุนแรงในอดีต

4. มีประวัติป่วยเป็นโรคความเครียด หรือ ภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ การวินิจฉัยโรคความเครียด

 

การวินิจฉัยโรคเครียด

การวินิจฉัยโรคความเครียด

แพทย์จะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ได้พบ หรือ ได้รับรู้รวมทั้งอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย และ เมื่อได้รับการตรวจแล้ว แพทย์อาจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการป่วยว่าเกิดจากสาเหตุอื่น หรือไม่ เช่นการใช้สารเสพติด

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางอย่าง หรือ โรคทางจิตเวชอื่น ๆ  หากอาการที่ผู้ป่วยเป็นไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น แสดงว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคความเครียด

การรักษาโรคความเครียด

เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดการรักษาโรคเครียด คือ การรับมืออาการของโรค โดยที่ผู้ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ และ พยายามพูดคุยกับครอบครัว หรือ เพื่อนเพื่อระบายความเครียด

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือ เกิดความเครียดเรื้อรังจำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยตรง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. พบแพทย์ เพื่อปรึกษา โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด และ ช่วยให้ผู้ป่วยจัดการอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งการปรึกษาจิตแพทย์ถือเป็นวิธีรักษาโรคความเครียดที่มีประสิทธิภาพ

2. บำบัดความคิด และ พฤติกรรม การบำบัดความคิด และ พฤติกรรมเป็นวิธีบำบัดที่มีแนวคิดว่าความคิดบางอย่างของผู้ป่วยส่งต่อปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งผู้ป่วยโรคความเครียดจะได้รับการบำบัดระยะสั้น

โดยที่แพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับความคิด และ ความรู้สึกของผู้ป่วย และจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าความคิดบางอย่างไม่ถูกต้องช่วยปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ให้มองทุกอย่างได้ถูกต้อง และ ตรงตามความเป็นจริง

3. ใช้ยารักษา ซึ่งแพทย์จะให้ยารักษาโรคความเครียดแก่ผู้ป่วยบางราย โดยที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดของร่างกาย ปัญหาการนอนหลับ หรือ การซึมเศร้า โดยแพทย์จะใช้ยารักษาโรคความเครียดดังนี้

 

– เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) จะช่วยบรรเทาอาการป่วยทางร่างกาย ซึ่งเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา เช่น อาการหัวใจเต้นรัว ผู้ป่วยรับประทานเมื่อเกิดอาการป่วย ยาเบต้า บล็อกเกอร์

ไม่ก่อให้เกิดอาการง่วง เนื่องจากไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาระงับประสาท จึงไม่ก่อให้เกิดอาการง่วง และ ไม่มีผลต่อการทำงาน และ จะไม่ทำให้ผู้ป่วยเสพติดจากการใช้ยานี้

– ไดอาซีแพม (Diazepam) เป็นยารังับประสาท ซึ่งส่วนมากแพทย์จะไม่นิยมนำมาใช้รักษาผู้ป่วย เว้นแต่บางกรณีจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาไดอาซีแพม ซึ่งแพทย์จะใช้รักษาเป็นระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งตัวยาไดอะซีแพมอาจทำให้ผู้ป่วยเสพติดยา

นอกจากนี้แพทย์อาจจะจ่ายยาตัวอื่น เพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาระงับอาการวิตกกังวล ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ และ ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอื่น หรือการรักษาจิตบำบัดด้วยการสะกดจิต

และ ในรายผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย หรือ มีแนวโน้มที่จะทำร้ายผู้อื่น จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

เพื่อให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลายผู้ที่มีความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ควรดูแลตัวเอง ด้วยการหากิจกรรมทำยามว่าง และ ผู้ป่วยที่เกิดความเครียดเรื้อรัง เป็นเวลานาน อาจจะประสบปัญหาสุขภาพอื่นตามมาดังนี้

1. โรคความเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ

โดยอาการเครียดจะรุนแรงขึ้น หากผู้ป่วยเป็นโรคความเครียดที่มีอาการโรคนานกว่า 1 เดือน และทำให้การดำเนินชีวิตตามปกติได้ยาก ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ป่วยเป็นโรคความเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ

ดังนั้นผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงไม่ทำให้อาการของโรคแย่ลง และผู้ป่วยภาวะเครียดหลักเกิดเหตุสะเทือนขวัญร้อยละ 50 รักษาให้หายได้ภายใน 6 เดือน ในขณะที่ผู้ป่วยรายอื่นอาจประสบภาวะดังกล่าวมานานหลายปี

2. ปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ

โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือ บุคลิกภาพแปรปรวนจะเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโรคความเครียดที่ไม่ได้รับการรักษา

 

การป้องกันโรคเครียด

โรคความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของโรคความเครียดนั้นควบคุมไม่ได้ แต่ผู้ป่วยโรคความเครียดสามารถดูแลตนเอง และ จัดการอาการของโรคไม่ให้แย่ลงได้

1. ต้องรับเข้ารับการรักษาจากแพทย์ หลังจากเผชิญกับสถานการณ์ร้ายแรง เพื่อที่จะช่วยลดโอกาสป่วยเป็นโรคความเครียด

2. ออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ

3. ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เสี่ยงกับอันตราย เช่น ทหาร ซึ่งจะต้องเข้ารับการฝึก และ เผชิญกับเหตุการณ์ และ ควรปรึกษาจิตแพทย์

4. พบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือ พูดคุยกับคนในครอบครัว

5. พยายามหางานอดิเรกทำ

6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

7. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
https://www.pobpad.com/โรคเครียด