HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคแพ้ภูมิตัวเองคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคแพ้ภมูิตัวเอง

โรคแพ้ภูมิตัวเอง

โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานตัวหนึ่งในร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคภายนอก ร่างกาย กลับเปลี่ยนเป็นสร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ของตนเอง

โรคแพ้ภูมิตัวเอง
CR. https://advancedfunctionalmedicine.com.au/autoimmune-disease-treatment-perth-reversing-autoimmunity/

ทำให้เกิดมีภูมิคุ้มกัน ที่เป็นพิษต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย อวัยวะที่พบเกี่ยวข้องบ่อยคือ ผิวหนัง ข้อ ไต หัวใจ ปอด สมอง และระบบโลหิต โดยภูมิคุ้มกันจะต่อต้านและทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ จนเกิดเป็นอาการอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีอาการป่วยรู้สึกเหนื่อยล้า มีผื่นแดงตามใบหน้า ตาแห้ง ตัวบวม ขาบวม ปวดหัว ปวดบวมตามข้อต่อกระดูก ผมร่วง

ชนิดของโรคแพ้ภูมิตัวเอง

SLE: โรคแพ้ภูมิตนเองชนิดที่มักพบบ่อย ภูมิคุ้มกันจะทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดอาการและความเจ็บป่วย เช่น ผื่นแดงทางผิวหนัง ข้ออักเสบ สมองและระบบประสาทได้รับความเสียหาย อาจเกิดอาการทางประสาทอย่างเห็นภาพหลอนร่วมด้วย รวมถึงข้อต่อ ไต และอวัยวะอื่น ๆ

Neonatal Lupus: โรคแพ้ภูมิในทารกแรกเกิด

Drug-induced Lupus: โรคแพ้ภูมิจากยา อาการแพ้เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่มและจะหายเมื่อหยุดใช้ยานั้น

Discoid Lupus Erythematosus: โรคที่มีผื่นแดงขึ้นที่ใบหน้าและสร้างรอยแผลเป็นหลังผื่นหาย

Subacute Cutaneous Lupus Erythematosus: โรคผื่นกึ่งเฉียบพลัน โดยผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดจะเป็นผื่น

โรคแพ้ภูมิตัวเอง สาเหตุ

สาเหตุการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่อาจเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่

โรคแพ้ภูมิตัวเอง สาเหตุ
CR. https://www.verywellhealth.com/autoimmune-disease-symptoms-3232847

พันธุกรรม การถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจส่งต่อลักษณะบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคได้

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงในช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต

การติดเชื้อ การได้รับเชื้อต่าง ๆ อย่างไวรัสบางชนิด

การใช้ยา ยาบางประเภท เช่น ยาต้านอาการชัก ยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มควบคุมความดันโลหิต

การได้รับสาร เช่น สารเคมี การสูบบุหรี่ และยาสูบต่าง ๆ

แสงแดด สำหรับคนที่มีผิวไวต่อแดด การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดรอยโรค เป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา

สังเกตอาการที่เสี่ยงว่าจะเป็นแพ้ภูมิตัวเองหรือไม่

– เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน

– เมื่อมีผื่นคันที่หน้าโดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด

– เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น

– เมื่อมีอาการบวมตามหน้าตามเท้า

– เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ

การวินิจฉัยโรคแพ้ภูมิตัวเอง

และเมื่อพบอาการที่น่าสงสัย ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการ โดยแพทย์จะตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยโรค

การตรวจเลือด

โดยตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อดูปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และฮีโมโกลบินในเลือด

ตรวจการทำงานของตับและไต

ตรวจหาภูมิคุ้มกัน ANA (Antinuclear antibody) หากมีผลเป็นบวก แสดงว่าอาจกำลังป่วยด้วยโรคนี้อยู่

การตรวจปัสสาวะ

ตรวจหาระดับโปรตีนที่เพิ่มขึ้นหรือเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นในปัสสาวะ

การฉายภาพ

แพทย์จะเอกซเรย์ช่วงอก หรือตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อดูผลกระทบที่เกิดจากโรคต่อปอดและหัวใจ

แพ้ภูมิตัวเอง อาการ

-อาการทางผิวหนัง มีผื่นเฉพาะโรค ผื่นวงแดงตามใบหน้า หนังศีรษะ และใบหู แผลที่เพดานปาก เป็น ๆ หาย ๆ และอาการทางผิวอื่น ๆ ที่พบได้บ่อย คือ ผมร่วง ผื่นตามตัว ตามเท้า ทั่วไปจากการแพ้แสงแดด ปลายมือปลายเท้าซีด

-อาการทางระบบประสาท มีอาการคล้ายมีพยาธิสภาพที่สมอง ชัก เพ้อ เอะอะ โวยวาย คลุ้มคลั่งคล้ายโรคจิต

-อาการทางระบบหายใจ มีการอักเสบของเยื่อบุหัวใจ ทำให้เกิดอาการ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการกล้ามเนื้อหัวใจ อักเสบพบได้บ้างแต่น้อย

-อาการทางปอด ที่พบบ่อยคือการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด หรือมี การติดเชื้อร่วมด้วย อาการทั่วไป มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

-อาการทางระบบทางเดินอาหาร พบอาการปวดท้องได้บ่อย บางครั้ง ปวดท้องจากตับอ่อนอักเสบ อาการที่พบได้บ้างแต่ไม่มาก เช่น กลืนลำบาก ตับแข็ง

-อาการทางข้อ จะมีอาการปวดข้อมากกว่าลักษณะอักเสบ มักเป็นที่ ข้อ เข่า ข้อนิ้วมือ อาการทางไต มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ พบเซลล์เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ถ้าอาการมากจะมี อาการเหมือนโรคไต คือ บวม ปัสสาวะน้อย ความดันโลหิตสูงจนถึงไตวาย

-อาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการทางระบบโลหิต ซีดจากมีการแตกของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวต่ำลง เกล็ดเลือดต่ำ ทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย

-อาการทางระบบอื่น ๆ อาจพบต่อมน้ำลายโต ต่อมน้ำเหลืองโต

ภาวะแทรกซ้อนของ แพ้ภูมิตัวเอง

1. อาจเกิดภาวะโลหิตจาง เสี่ยงต่อการเสียเลือด การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และการติดเชื้อในกระแสเลือด

2. อาจเกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ที่สร้างความเจ็บปวดในขณะหายใจ และเสี่ยงต่อปอดอักเสบได้

3. อาจเกิดความเสียหายจากการอักเสบภายใน หรืออาจเกิดภาวะไตวายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

4. อาจเกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดแดง และเยื่อหุ้มหัวใจ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

5. อาจเกิดอาการที่มีความรุนแรงน้อยไปจนรุนแรงมาก ตั้งแต่ปวดหัว เวียนหัว มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มีปัญหาด้านความจำ ประสาทหลอน เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนเกิดภาวะชัก

แพ้ภูมิตัวเอง การรักษา

หลักการรักษาแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามอาการที่ป่วย แพทย์จะพยายามควบคุมโรคให้สงบด้วยการให้ทานยา ทำการรักษาตามอาการที่พบ และติดตามอาการไปเรื่อยๆ หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

จะยิ่งทำให้แพทย์ทำการรักษา และควบคุมอาการได้ดีขึ้น  ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะให้ใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือแอสไพริน หรือยาลดการอักเสบก็ควบคุมอาการได้

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้นอาจต้องใช้ยาประเภทสตีรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันในขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ

ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเองนี้ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการรักษาแพ้ภูมิตัวเองให้ได้ผล

1. พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดตั้งแต่ช่วง 10.00 – 16.00 น. ถ้าจำเป็นให้กางร่ม ใส่หมวก สวมเสื้อแขนยาว ใช้ยาทากันแดด

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

3. หลีกเลี่ยงความตึงเครียด พยายามฝึกจิตใจให้ปล่อยวาง ทำใจยอมรับกับโรคและปัญหาอื่น ๆ

4. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

5. ไม่กินอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ

6. กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง

7. ไม่กินยาเองโดยไม่จำเป็นเพราะยาบางตัวอาจทำให้โรคกำเริบได้

8. หลีกเลี่ยงจากสถานที่แออัดและไม่เข้าใกล้ผู้ที่กำลังเป็นโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด เพราะมีโอกาสติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้ง่าย

9. ถ้ามีลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ เช่น ไข้สูง หนาวสั่น มีฝีตุ่มหนองตามผิวหนัง ไอเสมหะเหลืองเขียว ปัสสาวะแสบขัด ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

10. มาตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติที่เป็นอาการของโรคกำเริบให้มาพบแพทย์ก่อนนัด เช่น มีอาการไข้เป็น ๆ หาย ๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด บวม ผมร่วง ผื่นใหม่ ๆ ปวดข้อ เป็นต้น

โรคภูมิแพ้ตัวเอง การป้องกัน
CR. https://www.consumerreports.org/allergy/a-mold-allergy-might-be-making-you-miserable/

โรคภูมิแพ้ตัวเอง การป้องกัน

– ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

– ไม่ตากแดดที่ร้อนจ้าหรือเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงสารเคมีเป็นพิษในชีวิตประจำวัน

– รับประทานยาตามกำหนด ไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการกำเริบ

– ควบคุมอาหาร รับประทานแต่สิ่งที่มีประโยชน์และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้

– พักผ่อนอย่างเพียงพอ

– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

– รักษาสุขภาพจิต เรียนรู้วิธีการจัดการกับความเครียด

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเองเสียชีวิต

1. ผู้ป่วยมีอาการอักเสบรุนแรงของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต สมอง หลอดเลือด โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

2. จากภาวะติดเชื้อ เนื่องจากโรคนี้ทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติอยู่แล้ว ยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งยาสเตียรอยด์ และยากดภูมิคุ้มกันยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป

3. จากยาหรือวิธีการรักษาที่ไม่ถูกต้อง หรือขนาดยาที่ไม่เหมาะสมก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1.https://www.pobpad.com/โรคพุ่มพวง-แพ้ภูมิตัวเอ
2.https://www.doctor.or.th/article/detail/3608