HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคไม่ติดต่อคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคไม่ติดต่อ หรือ โรค NCDs 

โรคกลุ่ม NCDs (Non-communicable diseases) คือ โรคไม่ติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส คลุกคลี หรือมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่าง ๆ เพราะโรคของกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อ ผ่านตัวนำโรค โรคในกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

โรคไม่ติดต่อ
CR. https://www.healtheuropa.eu/early-deaths-noncommunicable-diseases/85838/

จากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากไลฟ์สไตล์วิธีการใช้ชีวิต ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่าง เหล้า บุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียด

การเจริญเติบโตของโรคจะค่อย ๆ สะสมอาการทีละนิด ค่อย ๆ เกิดและค่อย ๆ ทวีความรุนแรง สุดท้ายจะเกิดอาการเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้องและทันเวลา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง

 

โรคไม่ติดต่อแบ่งเป็นชนิดหลัก ๆ ได้ดังนี้

-โรคหัวใจ โดยโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้บ่อย คือ โรคความดันโลหิตสูง เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด มักเกิดขึ้นจากการสะสมของไขมันในเส้นเลือดจนทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

-โรคมะเร็ง เกิดจากความผิดปกติของการแบ่งเซลล์ภายในร่างกาย ทำให้เซลล์แบ่งตัวไม่สิ้นสุดจนกระทั่งกลายเป็นเนื้องอก โดยชนิดของมะเร็งนั้นแบ่งได้ตามอวัยวะหรือระบบร่างกายที่เกิดโรค เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

-โรคในระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โดยโรคในกลุ่มนี้ที่พบได้บ่อย คือ โรคผดผื่นคัน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง และโรคปอดอื่น ๆ

-โรคเบาหวาน โดยมีสาเหตุมาจากร่างกายขาดอินซูลินหรืออินซูลินในร่างกายทำงานผิดปกติ เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตหรือนำอินซูลินมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและเกิดโรคเบาหวานขึ้นในที่สุด

-โรคเกี่ยวกับระบบประสาทชนิดเรื้อรัง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ไมเกรน อัลไซเมอร์ และภาวะสมองเสื่อม โรคนอนไม่หลับ เป็นต้น

-โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นความผิดปกติเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อต่าง ๆ ใน ได้แก่ โรคข้ออักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคไขข้อเสื่อม เป็นต้น

โรคไม่ติดต่อ สาเหตุ

สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น

ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่น ๆ และปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เป็นปัจจัยที่ติดตัวมาแต่กำเนิดหรือเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่ อายุ เพศ เชื้อชาติ และพันธุกรรม โดยบุคคลบางช่วงอายุ บางเพศ บางเชื้อชาติ หรือบุคคลที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง อาจมีโอกาสเกิดโรคนั้น ๆ ได้มากกว่าคนทั่วไป

 

พฤติกรรมเสี่ยงต่อกลุ่มโรค NCDs

– การทานอาหารรสจัด อาหารเค็มมัน ปิ้งย่าง มีน้ำตาลและไขมันสูงเป็นประจำ และไม่ได้ทานผักผลไม้อย่างเพียงพอ ทำให้มีกลูโคส คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และโซเดียมในเลือดสูง และร่างกายเกิดการอักเสบได้ง่าย

– ขาดการออกกำลังกาย ทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายมาก และระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดี

– การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ส่งผลให้ตับเกิดการอักเสบ

– การสูบบุหรี่จัด ทำให้ถุงลมภายในปอดเสียหาย

– ความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ระบบต่างๆ ทำงานผิดปกติ และเจ็บป่วยได้ง่าย

– การซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาทานเองบ่อยๆ อาจส่งผลให้มีสารบางอย่างสะสมในร่างกายจนเกิดโทษได้

– การสัมผัสกับแสงและมลภาวะ เช่น รังสี UV ควันไอเสีย และการสัมผัสกับสารเคมีเป็นประจำ เช่น เบนซิน สารกำจัดศัตรูพืช

ความรุนแรงของโรค NCDs

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

 

โรคไม่ติดต่อ อาการ

โรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรังมักจะค่อย ๆ มีอาการและรุนแรงขึ้นทีละน้อยหากไม่ได้มีการรักษาควบคุม ส่วนอาการก็ขึ้นอยู่กับโรคนั้น ๆ  เช่น

1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

30% ของผู้ป่วยมักไม่ปรากฏอาการ โดยจะรู้ตัวอีกทีเมื่อพบว่าอาการถึงขั้นรุนแรงแล้ว สัญญาณอันตรายที่ควรสังเกต ได้แก่ อึดอัด หายใจไม่สะดวก แน่นเหมือนมีอะไรมาบีบรัดหรือกดทับที่หน้าอก คลื่นไส้ เหงื่อออก

2. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

สัญญาณอันตรายที่ควรสังเกต ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปวดศีรษะเฉียบพลัน หรือวูบแบบเฉียบพลัน

3. โรคเบาหวาน

อาการ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน หิวน้ำบ่อย

หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด ผิวแห้ง เป็นแผลแล้วหายยาก ตาพร่ามัว

ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

4. โรคมะเร็งปอด/ถุงลมโป่งพอง

สัญญาณอันตรายที่ควรสังเกต ได้แก่ ไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด หลอดลมอักเสบบ่อย

5. โรคอ้วนลงพุง

เมื่อมีรอบเอวเกินมาตรฐาน เมื่อผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90 ซม. และผู้หญิงรอบเอวเกิน 80 ซม. นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกแล้วว่าเรากำลังเป็นโรคอ้วนลงพุง

6. โรคความดันโลหิตสูง

ภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง คือจะมีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

7. โรคมะเร็ง

อาการก็ขึ้นอยู่กับมะเร็งชนิดนั้น ๆ

โรคไม่ติดต่อ รักษา
CR. https://www.publichealthnotes.com/ageing-non-communicable-disease-ncd-related/

โรคไม่ติดต่อ รักษา

การรักษาก็ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคนั้น ๆ เช่น

1. โรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง

การรักษา ได้แก่ กินอาหารให้เป็นเวลา งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง งดดื่มน้ำชา กาแฟ งดสูบบุหรี่ งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด

การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลา ที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย

2. โรคมะเร็ง

สาเหตุ เกิดจากการได้รับสารก่อมะเร็ง ซึ่งมาจากการได้รับควันบุหรี่ การเป็นแผลเรื้อรัง และยังคาดว่าเกิดจากยีนที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

การรักษา ควรเริ่มตั้งแต่เริ่มมีอาการผิดปกติจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันมีทั้งการรักษาทางยา รักษาด้วยการผ่าตัดและรักษาด้วยรังสี

โรคไม่ติดต่อ ป้องกัน

การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้

-หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง

-ห้ามอดมื้อเช้า หากไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ห้ามอดมื้อเช้าเด็ดขาด ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์มากมายแสดงให้เห็นความสำคัญของอาหารเช้า โดยพบว่าการกินมื้อเช้าจะช่วยควบคุมเบาหวาน และยังช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคอ้วนด้วย

-ลดกินเค็ม หากกินอาหารเค็มมากจนเกินไปจะทำให้ปริมาณโซเดียมในเลือด ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงในที่สุด

-ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ เพราะน้ำมันที่เคยผ่านความร้อนไปแล้วหนึ่งครั้งจะเกิดการแปรสภาพไปแล้วระดับหนึ่ง ไม่เหมาะกับการบริโภคอีกต่อไป

-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง

-งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

-งดสูบบุหรี่

-พักผ่อนให้เพียงพอ

-ผ่อนคลายความเครียด

-ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

-รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก…
1. https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2016/ncds-non-communicable-diseases-symptoms-prevention
2. https://www.pobpad.com /โรคไม่ติดต่อ-ภัยใกล้ตัว