HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคงูสวัด คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าเป็นโรคผิวหนัง

โรคงูสวัด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Herpes Zoster หรือ Shingles คือโรคเกี่ยวกับปลายประสาทที่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าเป็นโรคผิวหนัง เกิดจากการรับเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpese) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อหายแล้วเชื้อจะไปซ้อนที่ปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอเชื้อก็จะกำเริบอีกครั้ง โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่อันตรายและสามารถเกิดซ้ำได้เมื่อร่างกายอ่อนแอลง การรักษาโรคงูสวัด ติดต่อไหม จะเน้นที่การรักษาตามอาการ คือ ทายาบริเวณที่เป็นผื่น ทานยาแก้ปวด หรือทานยาต้านไวรัสร่วมด้วย

สาเหตุของโรคงูสวัด

โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpese) หรือชื่อเดิมคือ วาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำใสที่แตกและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย แต่การรับเชื้อครั้งแรกจะรับทางการหายใจ และออกผื่นเป็นโรคสุกใสก่อน ต่อมาเมื่อร่างกายอ่อนแอจึงกำเริบ ออกผื่นเป็นแบบงูสวัด ผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสไปสัมผัสเชื้อก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสได้ และในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเป็นงูสวัดแบบแพร่กระจาย จะสามารถแพร่เชื้อทางลมหายใจได้ด้วย ส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติและเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้ว การสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วยมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้น้อยกว่า 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด

ผู้ที่มีเชื้อโรคงูสวัด ในสร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอทำให้เชื้อกำเริบได้ เช่น

1.พักผ่อนไม่เพียงพอ 

2.ผู้สูงอายุที่ร่างกายเสื่อมลง 

3.ผู้ที่มีความเครียดสะสม 

4.ผู้ที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน 

อาการของโรคงูสวัด

อาการ โรคงูสวัด ไม่ได้อันตรายร้ายแรงแต่ไม่อยากให้มองข้าม อาการจะเริ่มจากมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดแสบหรือเจ็บแปลบเหมือนเข็มทิ่มที่บริเวณผิวหนังชายโครง ใบหน้า และแขน เมื่อผ่านไปได้สัก 2-3 วันจะมีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวดแสบและกลายเป็นตุ่มน้ำใส โดยผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่มหรือเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาทซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเท่านั้น ก่อนที่จะแตกออก ตกสะเก็ด ตามปกติหายเองได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่สำหรับผู้ที่ขาดภูมิต้านทาน จะมีผื่นขึ้นได้รอบตัว และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งเชื้องูสวัดสามารถซ่อนอยู่ที่ปมประสาทได้นานหลายปี เมิ่อร่างกายอ่อนแอก็จะแสดงอาการ ดังนี้

     ➡ ระยะก่อนเกิดผื่น (Prodromal Stage) โดยอาการเริ่มแรกมีไข้ ปวดศีรษะ รู้สึกเจ็บแปลบที่บริเวณผิวหนัง มีรอยแดงเกิดขึ้นที่ผิวหนัง อ่อนเพลียและท้องเสีย อาการจะเริ่มขึ้นที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของร่างกายก่อน 

     ➡ ระยะมีผื่นงูสวัด (Active Stage) เริ่มมีผื่นแดงและตุ่มน้ำใสขึ้นเรียงกันเป็นกลุ่มตามแนวยาวของเส้นประสาท หลังจากนั้นตุ่มน้ำใสจะแตกและตกสะเก็ดในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา หลังจากแผลหายแผลเป็นได้ 

อาการของงูสวัดขึ้นตา

งูสวัดที่เกิดบริเวณดวงตาจะพบผื่นแดงที่หน้าผากด้วย ซึ่งจะมีอาการอักเสบและมีอาการปวดตารุนแรง เปลือกตาบวมน้ำ ตาแดง ภาวะเลือดคั่งในเยื่อบุกระจกตา และมีอาการตาสู้แสงไม่ได้

อาการงูสวัดขึ้นหัว

เมื่องูสวัดขึ้นหัวเริ่มแรกจะมีอาการปวดหัว ปวดต้นคอ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีไข้หรืออาจมีไข้อ่อนๆ ต่อมาอาการปวดจะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจปวดเสียวเข้าไปในกกหู เอี้ยวคอไม่ได้ และเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้นชัดเจน จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ และชาที่บริเวณซีกใดซีกหนึ่งของศีรษะ

อาการเชื้องูสวัดขึ้นสมอง

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) เป็นโรคที่พบได้ยาก ทำให้ใบหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก เกิดตุ่มที่หูและปาก มีอาการหูอื้อ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

อาการงูสวัดในคุณแม่ตั้งครรภ์

คนท้องเป็นงูสวัดไม่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์และไม่เป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์มาก หากตั้งครรภ์ไม่เกิน 4 สัปดาห์ อาการเหมือนโรคงูดสวัดทั่วไป คือ มีผื่นขึ้นที่แนวประสาท และจะแตกก่อนตกสะเก็ดในที่สุด แต่หากหากอยู่ในช่วงใกล้คลอด อาจทำให้เด็กทารกเป็นโรคอีสุกอีใสได้

การรักษาโรคงูสวัด

เมื่อมีอาการคล้ายเป็นโรคงูสวัด ให้ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาตามอาการจากดุลพินิทของพทย์ เช่น การให้รับประทานยาแก้ปวด ยาทาแก้ผื่นคันต่าง ๆ การให้ยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง 

ยารักษาโรคงูสวัด

ยาทาภายนอกเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการรักษา และสำหรับสตรีมีครรภ์ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาในกรณีที่จำเป็น เช่น กรณีที่เด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจต้องใช้ยาต้านไวรัส โดยยาทางูสวัดที่สำคัญมีดังนี้

1.คาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion) บรรเทาอาการคันผิวหนัง

2.ครีมแคปไซซิน (Capsaicin Cream) บรรเทาอาการปวดเมื่อย

3.ยาชา เช่น ลิโดเคน (Lidocaine) มีทั้งรูปแบบเจล และครีม

ยาเม็ดรับปรทานที่แพทย์นิยมใช้

1.ยาต้านไวรัสอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) และแฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) เป็นยาที่ช่วยชะลอเชื้อโรคงูสวัด ทำให้ตุ่มน้ำหายเร็วขึ้น ลดอาการปวดในระยะเฉียบพลัน ลดการแพร่กระจายบนผิวหนังและอวัยวะภายใน โดยควรทานภายใน 48 – 72 ชั่วโมงหลังเกิดตุ่มน้ำใส

2.ยาต้านไวรัสรูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยรายที่รุนแรงแบบแพร่กระจาย เพื่อผลการรักษาที่ดีกว่าและลดภาวะแทรกซ้อน

3.ยาบรรเทาอาการปวด เช่น โคเดอีน (Codeine) พาราเซตามอล (Paracetamol)

4.ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

5.ยาในกลุ่มต้านอาการชัก เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin)

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคงูสวัด

การปฏิบัติตนเมื่อมีอาการงูสวัด ที่จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น 

1.รับประทานยาทั้งยาแก้ปวด ยาต้านไวรัส และใช้ยาทาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

2.ประคบแผลด้วยน้ำเกลือ ครั้งละประมาณ 10 นาที 3 – 4 ครั้ง/วัน จะช่วยทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น 

3.ถ้าตุ่มน้ำแตกให้ทำความสะอาดแผลเหมือนแผลทั่วไป รักษาความสะอาดผื่นและตุ่มน้ำด้วยสบู่ตามปกติ และพยายามให้ผื่นแห้งจนผื่นตกสะเก็ด เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย

4.หลีกเลี่ยง กาแฟ ชา ช็อกโกแลต ขนมหวาน

5.ระมัดระวังไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้หญิงตั้งครรภ์

6.ควรตัดเล็บให้สั้น ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัดเพราะอาจทำให้ มีการติดเชื้อแบคทีเรียแบคทีเรียแทรกซ้อน

7.ไม่ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือทายาที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ เพราะจะทำให้หายช้าลง

8.ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้านตามความเชื่อ เนื่องจากอาจทำให้แผลลุกลามและเกิดการติดเชื้อมากยิ่งขึ้น

9.หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ ยาแดง หรือยาสมุนไพรทาที่แผล เพราะจะทำให้แผลหายช้า และเสี่ยงติดเชื้อ

การป้องกันโรคงูสวัด

1.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด สำหรับผู้ที่เคยหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน และสำหรับผู้ต้องการตั้งครรภ์ ควรชะลอการตั้งครรภ์ไปช่วงหลังจากรับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตั้งแต่ก่อนเป็น ก็ช่วยป้องกันโรคงูสวัดได้

2.ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหาร 5 หมู่

 3.สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เพื่อลดความรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว 

3.แยกของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่นอน กับเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน

4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่นในผู้ที่เป็นงูสวัด 

5.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ควรแยกตัวไปรักษาในโรงพยาบาล

6.การอาบน้ำเป็นการทำความสะอาดแผลที่ดีที่สุด สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ โดยควรอาบน้ำเย็นเพื่อปลอบประโลมผิว ความเย็นจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและลดอาการคันได้ดี

7.หลีกเลี่ยงโลชั่นที่ผสมน้ำหอม เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด

โรคงูสวัด อาจหายได้เองโดยไม่มีอันตรายใด ๆ มาก แต่ก็สามารถมีอาการแทรกซ้อนได้ หากรักษาไม่ถูกวิธีซึ่งอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น 

1.อาการปวดเรื้อรังอีก 3-12 เดือน ปวดตามแนวประสาท จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา หรือปวดแปลบ ๆ เสียว ๆ (เหมือนถูกมีดแทง) เป็นพัก ๆ ก็ได้ มักปวดเวลาถูกสัมผัสเพียงเบา ๆ ปวดมากตอนกลางคืน หรือเวลาอากาศเปลี่ยนแปลงบางครั้งอาจรุนแรงมาก

2.การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณตา 

3.ภาวะแทรกซ้อนทางหู 

4.ปอดอักเสบ

5.เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ทำให้เสียชีวิตได้

6.เหน็บชา ขยับร่างกายไม่ได้

7.เบื่ออาหาร 

8.นอนไม่หลับ 

9.ซึมเศร้า วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน สูญเสียความมั่นใจ ไม่อยากเข้าสังคม 

ดังนั้น healthdoo หากเริ่มมีอาการเจ็บแปลบที่ผิวหนังเหมือนมีเข็มทิ่ม ปวดร้าวที่ผิว เกิดผื่นแดง มีไข้ ปวดศีรษะ และสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคงูสวัด ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็น โรคงูสวัด หรือไม่ และทำการรักษาอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตามทั้งเริมและงูสวัด โรคงูสวัด ติดต่อไหม ไม่ถือเป็นโรคที่ร้ายแรง และจะหายได้เองหากร่างกายแข็งแรงดี ภายใน 1-2 สัปดาห์ คนที่มีภูมิต้านทานปกติงูสวัดจะไม่ลุกลามเกินแนวกึ่งกลางลำตัว แต่ในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง หรือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้จากยากดภูมิต้านทานอาจจะเกิดผื่นงูสวัดได้หลายกรณี เช่น ผื่นอาจปรากฏขึ้น 2 ข้างพร้อมกัน ทำให้ดูเหมือนงูสวัดพันรอบตัวได้ หรือบางรายที่เป็นงูสวัดขั้นรุนแรงอาจเกิดงูสวัดแบบแพร่กระจายผื่นอาจจะลุกลามเข้าสู่สมองและอวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น ปอดหรือตับ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต การรักษาจะบรรเทาตามอาการ ซึ่งมีทั้งยารับประทานแก้ปวด รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกรณีเป็นหนองลุกลาม และยาทาแก้ผดผื่น อาการปวดแสบปวดร้อน ยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันการแพร่กระจายทั่วตัวและอาจมีการติดเชื้อของอวัยวะภายใน เช่น ปอดบวม สมองอักเสบ เป็นต้น