HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ใบบัวบก สมุนไพรไทยชื่อเสียงเลื่องลือไกลไปทั่วโลก

ใบบัวบก

สมุนไพรไทยชื่อเสียงเลื่องลือไกลไปทั่วโลก ของดีใกล้ตัว ราคาถูก ตัวเด่น ๆ คงหนีไม่พ้น ใบบัวบก อย่างที่รู้กันเมื่อพูดถึงบัวบก นึกไปสรรพคุณเด่นคือช่วยแก้อาการช้ำใน อย่างที่มักจะเห็นแซว ๆ กันว่าอกหักมาเหรอ ดื่มน้ำใบบัวบกสิ ประโยคที่มักจะเคยได้ยินกันมาบ้างตามบทละคร หรือในหมู่เพื่อน และยังมีสรรพคุณดี ๆ อีกมากที่ไม่ต้องรอให้อกหักก่อน เพราะได้รับการกล่าวขานว่ามีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร 

สมุนไพรบัวบกมีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย ใบบัวบก สรรพคุณ ผล ข้าง เคียงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน เหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ)  ผักแว่น (ภาคใต้) เป็นต้น มีสารประกอบสำคัญหลายชนิด เช่น บราโมซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ มาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียมในระดับปานกลางถึงสูง ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม และกรดอะมิโน

สรรพคุณของใบบัวบก

1.แก้อาการช้ำใน ลดอาการอักเสบ ช่วยแก้กระหายน้ำ

2.เสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลาเจน และอิลาสติกให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง คืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ

3.บำรุง และรักษาดวงตา และสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะ ใบบัวบก มีวิตามินเอสูง ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา 3-4 ครั้งต่อวัน

4.สารไตเตอปิโนอิดส์ในใบบัวบก ที่ช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในร่างกาย ซึ่งอาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวแตกลายได้ และเยียวยารอยแตกลายที่มีอยู่

5.ใบบัวบก เป็นพืชที่ย่อยได้ง่าย ช่วยทำให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น

6.ไตเตอร์ปิโนอิดส์ในใบบัวบก เป็นสารที่มีประโยชน์ต่ออาการเส้นเลือดขอด เนื่องจากกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่จำเป็นในการสร้างความแข็งแรงของเยื่อบุและผนังเส้นเลือด เส้นเลือดที่แข็งแรงทำให้มีโอกาสเป็นเส้นเลือดขอดน้อยลง

7.บรรเทาอาการเจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ น้ำใบบัวบก เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับหน้าร้อนเป็นอย่างมาก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็น

8.ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี

9.รักษาโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความยืดหยุ่นให้หลอดเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

10.ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงโลหิตในร่างกาย ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง บำรุงหัวใจ ฟื้นฟูสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่

11.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย

12.ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยเพิ่มความจำ ชะลออาการของโรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์หรืออาการหลงลืมระยะสั้น ในผู้สูงอายุ สรรพคุณเหมือนใบแปะก๊วย

13.ช่วยเพิ่มไอคิว ความฉลาด ความสามารถในการเรียนรู้ ทำให้ความจำดีขึ้นและมีปฏิภาณไหวพริบเพิ่มมากขึ้น

14.ช่วยเพิ่มสมาธิ แก้สมาธิสั้น

15.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ

16.ช่วยเสริมการทำงานของกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ จึงช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น ช่วยทำให้จิตใจสดชื่น อารมณ์แจ่มใส

17.ช่วยบำรุงเสียง รักษาอาการเจ็บคอ โดยใช้บัวบกสดประมาณ 1 กำมือ ตำแล้วคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง แล้วจิบบ่อย ๆ

18.ช่วยรักษาโรคดีซ่านจากภาวะร้อนชื้น ใช้บัวบก 30 กรัม น้ำตาลทรายกรวด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม

19.ช่วยรักษาอาหารหืด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ

20.ช่วยรักษาโรคลมชัก

21.ช่วยรักษาอาการเต้านมอักเสบเป็นหนองในระยะแรก ด้วยการใช้บัวบกและเปลือกของลูกหมาก 1 ผล นำมาต้มกับเหล้าดื่ม

22.ช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคบิดหรือมีมูกเลือดปนเมื่อขับถ่าย

23.ใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม

24.ช่วยรักษากระเพาะอาหารเป็นแผล

25.ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ช่วยรักษาอาการมีหนองออกจากปัสสาวะ โดยใช้ใบบัวบกประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก 

26.ช่วยแก้อาการน้ำดีในร่างกายมากเกินไป

27.ช่วยรักษาโรคม้ามโต

28.ช่วยรักษาอาการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบ

29.แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์

30.ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น ช่วยแก้อาการฟกช้ำ โดยใช้ใบบัวบก มาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ 

31.ช่วยรักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

32.ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคเรื้อน โรคสะเก็ดเงิน หิด หัด ผิวหนังเป็นด่างขาว โรคไฟลามทุ่ง โดยใช้บัวบกตำนำมาพอกบริเวณที่เป็น

33.ลดอาการอักเสบของแผลและใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้อีกด้วย ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง

34.ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ต้นสดของบัวบกประมาณ 3 ต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลกแล้วนำมาพอกแผลไฟไหม้

35.นำน้ำมันบัวบกมาชโลมศีรษะ ช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วงและผมหงอกก่อนวัย

36.สารสกัดจากใบบัวบก นำมาใช้เพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เช่น สบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงได้

37.ลบรอยตีนกาตื้น ๆ ด้วยน้ำใบบัวบก โดยนำบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นจนละเอียด ใช้สำลีชุบน้ำทาทั่วบริเวณหางตาหรือทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก ควรทาทุกวันก่อนนอน

ผลข้างเคียงขอบใบบัวบก

1.ทาครีมที่มีส่วนผสมของใบบัวบกสกัดอาจทำให้เกิดอาการคันผิว เป็นผื่น

2.ดื่มชาใบบัวบกมากเกินไป อาจมีอาการคลื่นไส้ ง่วงซึม ปวดศีรษะ หรือความดันเลือดต่ำได้

3.ผู้ที่เป็นโรคตับ เช่น ตับอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงใบบัวบกเพราะมีข้อกังวลว่าอาจทำลายตับทำให้อาการแย่ลงได้ 

4.ใบบัวบก อาจทำให้กิดอาการง่วงซึมได้ เมื่อใช้กับยาที่ใช้ระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด 

ปฏิกิริยากับยาที่ควรระวัง

หากรับประทานยาบางชนิดอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรบประทานใบบัวบก เนื่องจากอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ได้แก่

1.ยาที่ส่งผลต่อตับ เนื่องจากใบบัวบกมีสารที่อาจทำร้ายตับ จึงอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อตับได้

2.ยาลดคอเลสเตอรอล ใบบัวบกทำให้ระดับคอลเสเตอรอลสูงขึ้น ทำให้ต้านฤทธิ์กัน

3.ยาเบาหวาน ใบบัวบกทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานใบบัวบก

4.ยาขับปัสสาวะ ใบบัวบกอาจทำหน้าที่คล้ายยาขับปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขับน้ำส่วนเกินออกไป ทำให้เสียสมดุลของระดับอิเลคโทรไลต์ในร่างกาย

5.ยาระงับประสาท เนื่องจากใบบัวบกสามารถออกฤทธิ์คล้ายยาระงับประสาท จึงอาจทำให้ยารักษาโรควิตกกังวลหรือโรคนอนไม่หลับมีฤทธิ์แรงขึ้น

ใบบัวบก เป็นสมุนไพรไทยที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการแก้ร้อนใน ใบบัวบก สรรพคุณ ผล ข้าง เคียงเป็นพืชที่เหมาะจะเป็นเครื่องดื่มและอาหารในช่วงอากาศร้อน ช่วงเที่ยง ถึงบ่ายสอง เนื่องจากใบบัวบก มีรสขม ใช้ลดความร้อนในร่างกาย และยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ไม่ว่าจะช่วยรักษาโรคผิวหนัง โรคประสาท ขับปัสสาวะ ต้นและใบเป็นยาบำรุงร่างกายและหัวใจ แก้อ่อนเพลียเมื่อยล้า แก้ท้องเสีย แต่ต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน healthdoo.today ทำให้ได้ประโยชน์และปลอดภัย