HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคมือเท้าปากคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด ทำให้มีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก และสร้างความเจ็บปวด

โรคมือเท้าปาก
CR. https://www.youtube.com/watch?v=j0IFueXQYGw

พบได้บ่อยในเด็กทารก ในโรงเรียนอนุบาล  สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็กสถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ ด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง

โรคจะเป็นอยู่ 3 – 6 วัน และมักจะหายเอง อย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก

หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็กชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กหญิง

การแพร่ติดต่อ

โรคเท้าปากเป็นโรคที่แพร่ติดต่อได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โดยเชื้อไวรัสจะติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และเกิดจากการไอจามรดกัน โดยหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของผู้ป่วย

โรคเท้าปากสาเหตุ

โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต สำหรับผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง

โรคเท้าปากอาการ
CR. https://www.rojakdaily.com/lifestyle/article/5548/debunking-the-myths-surrounding-the-hand-foot-and-mouth-disease-hfmd

โรคเท้าปากอาการ

-โดยหลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน อาการเริ่มต้นของโรคมือเท้าปากจะคล้ายไข้ มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำ ๆ ประมาณ 5 – 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน

-พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ ผื่นหรือแผลในปากจะเกิดหลังจากไข้ 1-2 วัน

-ปวดศีรษะ เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร เบื่ออาหาร

-พบตุ่มพองสีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

-ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก

-เด็กวัยแรกเกิดและเด็กเล็กวัยหัดเดินจะมีอาการงอแงไม่สบายตัว

การวินิจฉัย
CR. https://www.tmj4.com/news/national/experts-warn-hand-foot-and-mouth-disease-can-spread-to-adults

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยโรคมือ-เท้า-ปาก จากลักษณะอาการแสดงของโรค น้อยรายที่อาจต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคจากสิ่งคัดหลั่งในคอหอย อุจจาระ หรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบนผิวหนัง

 

โรคเท้าปาก การรักษา

-ในปัจจุบันโรคมือ เท้า ปาก ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่ว ๆ ไปตามอาการของผู้ป่วย ให้ยาลดไข้ แก้ปวด แก้เจ็บแผลในปาก โรคมือเท้าปากไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดในทันที

-ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล เป็นครั้งคราวเวลา มีไข้สูง

-รักษาแผลในปาก คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ลิโดเคน เจล ซึ่งเป็นยาชาเฉพาะที่ หรือซาลิไซเลตโคลีน เจล ยาช่วยลดความเจ็บปวดจากแผลในปาก โดยแต้มลงบนบริเวณที่เป็นแผลหรือหยอดในปาก

-ให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยสังเกตดูว่ามีปัสสาวะออกมากและใส จึงนับว่าได้น้ำพอเพียง

-หากป่วยด้วยโรคนี้ ผู้ป่วยควรพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

-ในช่วงที่มีอาการเจ็บแผลในปาก ให้เด็กกินอาหารเหลวหรือของน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด นม น้ำเต้าหู้ น้ำหวาน โดยใช้ช้อนป้อนหรือใช้กระบอกฉีดยา ค่อย ๆ หยอดเข้าปาก

-ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยต้องระมัดระวังเรื่องน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ และสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ถ้าสัมผัสต้องรีบล้างทันที ผู้ปกครองต้องรีบพาเด็กไปพบแพทย์ เมื่อมีไข้สูง ซึมลง หรืออาการทั่วไปแย่ลง

-ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้และนอนพักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อน อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวด ดูแลอาการหรือรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการป่วย

-ตามปกติโรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อนแต่เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอนเทอโรไวรัส 71 อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดหากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือน้ำดื่ม อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที

-ในปัจจุบันได้มีการรักษาโดยใช้ยาบางชนิดหรือสารที่ช่วยให้ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยดีขึ้น (Intravenous immunoglobulin – IVIG) ในกรณีที่มีการติดเชื้อชนิด แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ยังอยู่ในวงจำกัด

และยังต้องการหลักฐานจากการศึกษาทางการแพทย์เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลในการรักษาที่ดี มีประสิทธิภาพ และไม่เป็นอันตรายจากยาที่ใช้รักษา

โรคเท้าปาก การป้องกัน
CR. https://www.drugs.com/cg/hand-foot-and-mouth-disease.html

โรคเท้าปาก การป้องกัน

-หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย

-รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด

-ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม

-เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วผู้เลี้ยงต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว

-ผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระต้องรีบซักให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ

-ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนและหลังเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร

-ตัดเล็บ ให้สั้น หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ขวดนม แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ และใช้ช้อนกลาง

-สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ

-หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแยกเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ๆ ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5-7 วัน

-ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก

-ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่นสระว่ายน้ำ ตลาด และห้างสรรพสินค้า

-ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี

-ใช้ผ้าปิดจมูกปากเวลาไอ

-สร้างสุขนิสัยรักความสะอาด โดยเฉพาะการฝึกฝนเด็กไม่ให้ใช้มือจับของเข้าปาก

โรคเท้าปาก การป้องกัน

เมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง  ควรรีบพาไปโรงพยาบาลโดยทันที

เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนผู้ปกครองจึงควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

-ตุ่มน้ำ กลายเป็นตุ่มหนอง พุพองจากการเกา

-มีอาการเจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย

-มีอาการปวดศีรษะมาก ปวดแบบทนไม่ไหว อาเจียนรุนแรง ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

-อาการไข้ไม่ดีขึ้นภายใน ๑ สัปดาห์

-เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น หรือไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม

-มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับมีอาการซึมลง หรือเห็นภาพแปลก ๆ

-มีอาการปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้ที่สับสน ซึมลง และอาเจียน

-เกิดอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่น ๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง

-มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อย ๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจจะมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

 

การเป็นซ้ำ โรคเท้าปาก

เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปากมีโอกาสกลับมาเป็นโรคนี้ได้อีกครั้ง หรืออีกหลายครั้ง ถ้าเชื้อไวรัสที่ได้รับมาเป็นคนละสายพันธุ์กับที่เคยเกิด เพราะร่างกายยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานมาป้องกันนั่นเอง