โรคแพนิคคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน
Table of Contents
โรคแพนิค (Panic Disorder)
โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก ซึ่งจะมีอาการตื่นตกใจกลัวอย่างรุนแรง และ บางครั้งตัวผู้ป่วยเองก็ไม่ทราบว่าอาการที่ตนแสดงออกมานั่นเป็นอาการของโรคแพนิค
คนที่ป่วยเป็นโรคแพนิค มักจะมีความกังวลอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่รู้ว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด อาการตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีเหตุผล จะต่างจากความหวาดกลัว หรือ ความวิตกกังวลทั่วไป จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
อาการของโรคแพนิค
ลักษณะเด่นของโรคแพนิค คือ จะมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการดีขึ้นภายในไม่กี่วินาที แต่ก็อาจจะกลับไปเป็นได้อีกภายในไม่กี่ชั่วโมง
อาการที่แสดงออกถึงภาวะตกใจกลัวอย่างรุนแรง สามารถแสดงออกได้ 2 ทาง ดังนี้
1. อาการโรคแพนิคทางกาย
– หายใจลำบาก หรือ หายใจขัด
– ใจเต้นแรง ใจสั่น หรือ ใจเต้นเร็วมาก
– แน่นหน้าอก หรือ เจ็บหน้าอก
– มีอาการสั่นเทา
– เหงื่อออก
– รู้สึกร้อนผิดปกติ
– คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการสำลัก ปวดท้อง
– มีอาการเหน็บชา ตามร่างกาย
2. อาการโรคแพนิคทางใจ
– รู้สึกกลัวตาย
– การรับรู้ต่อสิ่งต่าง ๆ บิดเบือนไป
-ควบคุมตัวเองไม่ได้ แสดงอาการบางอย่างที่น่าอายออกไป เหมือนจะเป็นบ้า ผู้ป่วยที่มีภาวะแพนิคกำเริบ (panic attack) จะมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ ควรเข้ารับการตรวจกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
อาการของโรคแพนิค จะปรากฏให้เห็นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือ ผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งบางคนอาจมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง 1 – 2 ครั้งในชีวิต และอาการนี้ก็ไม่ได้เป็นโรคแพนิค แต่อย่างใด โรคแพนิค จะต้องมีอาการภาวะแพนิค กำเริบร่วมกับมีอาการกังวลต่อเนื่องมากกว่า 1 เดือน
สาเหตุของโรคแพนิค
โรคแพนิค นั้น ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่จะมาจากลหายปัจจัยที่จะนำไปสู่การเกิดโรคนี้ ทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม การบาดเจ็บในวัยเด็ก โครงสร้างของสมอง เพราะในส่วนต่าง ๆ ของสมองจะทำหน้าที่ควบคุมความวิตกกังวล และ ความกลัวต่างกัน
เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต เช่น การมีลูกคนแรก การเรียนมหาลัย การแต่งงาน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะเชื่อมโยงกับโรคแพนิค และ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคแพนิค
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และ อาจทำให้มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงบางสิ่งบางอย่างอย่างรุนแรง เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงอีกครั้ง เช่น หากเคยมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงในการอยู่ในที่มืด
ก็จะทำให้คุณหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มืด และ ทำให้เกิดอาการกลัวที่มืดในภายหลัง หรือ หากเคยมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงในลิฟต์ ก็จะทำให้คุณหลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ และ เกิดอาการกลัวลิฟต์ในภายหลัง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค จะไม่กล้าไปไหนมาไหนคนเดียว เนื่องจากมีอาการกลัวที่ชุมชนกลัวสถานที่ หรือ สถานการณ์ที่จะทำให้หลีกหนีผู้คนได้ยาก จนอาจทำให้ผู้ป่วยเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน
โรคแพนิค อาจจะส่งผลกระทบอื่น ๆ ดังนี้
– ใช้แอลกอฮอล์ และ สารเสพติด
– เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา
– เป็นโรคซึมเศร้า หรือ โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
– ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจกรรม
– มีปัญหา กับที่ทำงานหรือที่โรงเรียน
– มีปัญหาทางการเงิน เพราะต้องจ่ายค่ารักษา
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และ ตรวจเลือด เพื่อหาโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบไทยรอยด์ และ แพทย์จะให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา และ แบบทดสอบสุขภาพจิต
เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และ รวดเร็ว คุณควรจะจดบันทึกอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และ แจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด ซึ่งผู้ป่วยอาจจะต้องเข้าพบแพทย์มากกว่า 10 ครั้ง ก่อนที่จะตรวจพบโรคแพนิค
โรคแพนิค รักษา
โรคแพนิค รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
โรคแพนิค ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากอาการของโรคจะหลากหลายกันไปในแต่ละคน ซึ่งการรักษาที่ได้ผลในคนหนึ่ง อาจไม่ได้ผลในอีกคนหนึ่ง
คุณสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคแพนิค เพื่อไม่ให้ไปรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยวิธีการรักษาหลัก ๆ 2 วิธี คือ การบำบัดทางจิตวิทยา และ การใช้ยาโดยเลือกใช้วีใดวิธีหนึ่ง หรืออาจใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และ ความต้องการของผู้ป่วย
การรักษาโรคแพนิค ด้วยวิธีบำบัดทางจิต
การบำบัดทางจิต เป็นการรักษาที่นิยมนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคแพนิค เทคนิคในการใช้จิตบำบัด รักษาโรคแพนิค คือ การบำบัดความคิด และ พฤติกรรมที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้ว่าอาการแพนิค ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้อันตรายแต่อย่างใด และ เป็นการบำบัดความคิดที่บิดเบือน
ให้สามารถกลับมารับรู้สิ่งต่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริงได้ ปรับวิธีคิด เรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อความรู้สึกหวาดกลัวที่เกิดขึ้น เรียนรู้การผ่อนคลายจัดการกับความเครียดเปลี่ยนแปลงความคิดในแง่ลบ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการรับมือกับโรคแพนิค
เทคนิคการเผชิญหน้ากับความกลัว แบบค่อยเป็นค่อยไปถือเป็นการทำพฤติกรรมบำบัดอีกวิธีหนึ่ง โดยเป็นการค่อย ๆ ให้ผู้ป่วยเผชิญกับความกลัว หรือ ความตื่นเต้นในขณะที่ผู้ป่วยเริ่มมีความกังวลนักจิตบำบัดจะสอนให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
เช่น หากผู้ป่วยตื่นกลัวเวลาขับรถ นักจิตบำบัดก็จะเริ่มด้วยการให้จินตนาการว่า ผู้ป่วยกำลังขับรถอยู่ และพยายามคิดว่ารถกำลังวิ่งอยู่บนถนน และเมื่อเริ่มเห็นความตึงเครียดเกิดขึ้นนักจิตบำบัดจะคอยแนะนำให้ผ่อนคลายทั้งร่างกาย และ จิตใจ
ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังนึกถึงสิ่งที่กลัวอยู่ตลอดเวลา และ เมื่อทำไปแล้วหลายครั้งนักจิตบำบัดจะค่อย ๆ เพิ่มความรู้สึกกลัวขึ้นไปอีก ซึ่งระหว่างที่เพิ่มความกลัวขึ้นทีละขั้นก็จะให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะอยู่ในความสงบ และ การจัดการกับความรู้สึกที่ตื่นกลัว
การรักษาโรคแพนิค ด้วยการใช้ยา
ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยาก็ต่อเมื่อมีอาการตลอด มีอาการรุนแรงจนกระทบต่อการทำงาน หรือ การใช้ชีวิต ทั้งที่ได้รับการบำบัดทางจิตที่พยายามควบคุมกับการรับมือด้วยตนเองอย่างเต็มที่แล้ว โดยแพทย์จะสั่งให้ใช้ยาในระยะสั้น ๆ เท่านั้น และ ยาที่แพทย์จะสั่งให้ผู้ป่วยโรคแพนิค จะมีดังนี้ค่ะ
1. ยากล่อมประสาท หรือ ยาระงับประสาทกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)
ยากลุ่มนี้ใช้เพื่อลดความกังวล และ บรรเทาความตื่นกลัว ซึ่งจะนำมาใช้บ่อยในผู้ป่วยโรคแพนิค เพื่อลดอาการอย่างรวดเร็ว เช่น ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) ยาโคลนาซีแปม (Clonazepam) และเมื่อใช้ยาเป็นเวลานาน
อาจทำให้เกิดการติดยาได้ เนื่องจากเมื่อใช้เป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะต้องการยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้ผลเท่าเดิม และ เมื่อหยุดใช้ยาอาการกระวนกระวายก็จะกลับมาได้อีก ดังนั้น ก่อนจะเริ่มใช้ยานี้ควรปรึกษาแพทย์
2. ยาต้านซึมเศร้า
– ยาเอสเอสอาร์ไอ (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors : SSRI) เป็นยาที่มีกลไก เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ที่ช่วยบรรเทาอาการตื่นกลัว โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยเริ่มกินยาในปริมาณที่น้อย
และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อร่างกายของผู้ป่วยปรับตัวได้แล้ว ตัวยาที่ใช้รักษาได้แก่ฟลูออกซิทีน พาร็อกซิทีน เซอริทาลีน และ ไซตาโลแพรม
– ยาเอสเอ็นอาร์ไอ (Serotonin and Norepinephrine Reuptake Inhibitors :SNRIS) เป็นเวลา 12 สัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะใช้ยากลุ่มนี้รักษาซึ่งยากลุ่มนี้จะช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองทำให้ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ป่วยดีขึ้น
ยาเหล่านี้จะมีผลข้างเคียงคือ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีปัญหาในการนอนหลับ น้ำหนักเปลี่ยน ดังนั้นก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงก่อน และ ห้ามหยุดใช้ยาโดยกะทันหัน
3. ยากันชัก ยานี้จะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลได้ ได้แก่ยาพรีกาบาลิน การับมือกับโรคแพนิค ด้วยตนเอง
– ฝึกสมาธิ และ ผ่อนคลาย โดยการใช้ศิลปะบำบัด เช่น การวาดรูป
– ให้กำลังใจและพูดคุยกับตัวเองในแง่ดี
– ใช้เทคนิคในการผ่อนคลาย
– ปรับเปลี่ยนระบบความเชื่อในแง่ลบให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์
– ดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
– เมื่อมีอาการ ควรพยายามตั้งสติ แล้วพุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค
– คอยระวังไม่ให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยา เพราะการได้รับยาไม่ครบอาจทำให้โรคกำเริบได้มากขึ้น
– ช่วยดูแลเรื่องการรับประทานยา
– ควรทำความเข้าใจว่าอาการโรคแพนิค ไม่ได้ร้ายแรง และ ไม่ตอกย้ำหรือ กดดันว่าเป็นความผิดของผู้ป่วย
– พยายามให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพยายามฝึกให้ผู้ป่วยรับมือกับความเครียดด้วยตนเองเป็นประจำ
การป้องกันโรคแพนิค
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
2. เข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง
3. ฝึกคิด และ มองโลกในแง่บวก
4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก…
https://www.honestdocs.co/what-is-panic-disorder