โรคนิมโฟมาเนียคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน
Table of Contents
โรคนิมโฟมาเนีย
โรคนิมโฟมาเนีย เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง เป็นอาการป่วยขั้นรุนแรงของผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศมากกว่าปกติ มีความผิดปกติในการควบคุมพฤติกรรมในเรื่องเพศ มีความคลั่งไคล้ในเรื่องเพศ มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้ มีเพศสัมพันธ์วันละหลาย ๆ ครั้ง มักจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
ใช้บริการทางเพศ ชอบโชว์ พูดจาลามก ชอบความเจ็บปวด หรือชอบใช้ความรุนแรง อาการเสพติดทางเพศ สามารถเกิดได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายหากเป็นในผู้หญิงจะเรียกว่า นิมโฟมาเนีย (Nymphomania) ถ้าเป็นในผู้ชายเรียกว่า แซทไทริเอสิส (Satyriasis) เป็นโรคที่เกิดจากการเสพติดการมีเพศสัมพันธ์
แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้เช่นเดียวกับอาการป่วยทางจิตโรคอื่น ๆ โดยผู้ป่วยสามารถเข้ารับการบำบัดได้ด้วยการใช้ยา ควบคู่กับการปรึกษาจิตแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถรับมือและจัดการควบคุมพฤติกรรมด้านเพศของตัวเองได้มากขึ้น
นิมโฟมาเนียมีกี่ประเภท
นิมโฟมาเนียสามารถที่จะแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. แบบใคร่ไม่รู้อิ่ม (Hypersexuality) ซึ่งเป็นอาการหลัก ๆ ของผู้ป่วยนิมโฟมาเนีย
2. แบบมโน (Erotomania) เป็นความผิดปกติที่คิดคิดว่า อีกฝ่ายหลงชอบตัวเองเอามาก ๆ
3. แบบกามวิปริต (Paraphilia-related disorder) เป็นรูปแบบความต้องการที่จะมีเพศสัมพันธ์แบบซาดิสต์ หรือบางรายอาจจะมีการจำลองสถานการณ์ และบางรายอาจจะชื่นชอบการใช้อุปกรณ์
4.แบบยับยั้งไม่ได้ (Sexual disinhibition) เป็นรูปแบบที่คล้ายกับแบบแรก โดยจะเกิดการมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่ได้คิดถึงความเหมาะสมหรือความถูกต้อง
สาเหตุของโรคนิมโฟมาเนีย
-ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งสารสื่อนำประสาท (Neurotransmitters) ในสมองมากกว่าปกติ เช่น เซโรโทนิน (Serotonin), นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine) รวมถึงการเกิดความผิดปกติในสมองตรงบริเวณที่ส่งผลต่อการเกิดความต้องการทางเพศ
-ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ซึ่งมีทั้งในชายและหญิง ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อการควบคุมทางเพศ ขาดการยับยั้งชั่งใจ
-เกิดจากพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ การย้ำคิดย้ำทำเป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ โดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งจากการวิจัยผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยจะมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 30 ครั้ง ในเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งก็จะทำให้เป็นนิมโฟมาเนียได้
-บาดแผลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยบางรายอาจจะเคยพบเจอกับประสบการณ์ที่สร้างบาดแผล เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง หรือการถูกข่มขืน โดยเฉพาะปมเรื่องเพศในวัยเด็ก
-ปัญหาครอบครัว การขาดความรักความอบอุ่นจากคนในครอบครัว ทำให้ต้องออกไปหาความรักนอกบ้าน ยิ่งถ้าได้คบเพื่อนไม่ดี ก็จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงขึ้น
-สภาพแวดล้อม สังคมที่อยู่อาศัยแออัด เต็มไปด้วยความเครียด จะยิ่งเป็นตัวเร่งอาการ
-ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต อาการคลั่ง ความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นผิดปกติ สำส่อนทางเพศ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงการขาดสมดุลทานด้านอารมณ์ และจิตใจ จนเกิดเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์
-ได้รับยาบางชนิดมากเกินไป เช่น แอมเฟตามีน หรือเสพยาเสพติดมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อระบบประสาท การควบคุมตัวเอง
-ยารักษาพาร์กินสัน เป็นยาที่มีส่วนผสมของสารเอนโดพามิน ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทโดยตรงที่จะควบคุมให้สามารถทำงานได้ปกติ และมีผลต่อการควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกาย อีกทั้งประมาณ 25 % ของผู้ใช้ยา ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดนิมโฟมาเนียตามมาได้อีกด้วย
ลักษณะผู้ป่วยนิมโฟมาเนีย
1. มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้
2. มักจะสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง
3. แสดงออกทางเพศผิดปกติ เช่น ชอบความเจ็บปวด (Masochistic) ชอบความรุนแรง (Sadistic) รวมถึงพฤติกรรมอื่น ๆ
4. ชอบโชว์ และใช้บริการทางเพศจากการแชท เสพภาพลามก ใช้บริการทางเพศออนไลน์
5. พูดจาลามก หรือแสดงกิริยาส่อไปในทางเพศ ว่ามีความต้องการตลอดเวลา
อาการของนิมโฟมาเนีย
นิมโฟมาเนียไม่ใช่โรคที่จะแสดงออกผ่านเป็นการเจ็บป่วยของร่างกาย แต่จะมีอาการหรือความผิดปกติทางพฤติกรรมและความคิดของแต่ละบุคคล โดยมีอาการ ดังนี้
-หมกมุ่นคิดแต่เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ ดูสื่อลามกอนาจารเป็นประจำ
-ใช้บริการการค้าประเวณีตลอด
-มีรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง และไม่สามารถควบคุมร่างกายได้
-มักมีเพศสัมพันธ์ในอารมณ์ที่โกรธ หงุดหงิด เครียด หรือกังวล
-ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก หรือคู่แต่งงานได้
-ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาของผู้ป่วยนิมโฟมาเนีย
-ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา จากการเป็นโรค คือความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การเผชิญกับความเครียด ความโศกเศร้า และอาการทางจิตที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ หากนานวันเข้าจะยิ่งรู้สึกด้อยค่า และจมดิ่งลงสู่การตัดสินใจคิดสั้นในที่สุด
-ผู้ป่วยโรคนี้ อาจจะทำอะไรก็ได้เพื่อปลดปล่อยความต้องการทางเพศที่สูงมากของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตของพวกเขา เช่น งาน คนรัก มิตรภาพ หรือที่อยู่อาศัย
-มีการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และอาจเกิดการทำแท้งตามมา
-มีอาการซึมเศร้า มีความเครียดสูง จิตตก และเป็นโรคประสาทที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
-ผู้ป่วยนิมโฟมาเนียต้องต่อสู้กับความรู้สึกผิด อับอาย และมีความภาคภูมิใจตัวเองต่ำ
การรักษาโรคนิมไฟมาเนีย
การรักษานิมโฟมาเนีย ถือเป็นเรื่องที่ยกและต้องใช้เวลาในการรักษา ต้องมีการเอาใจใส่ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย การรักษานิมโฟมาเนีย สามารถรักษาได้ดังนี้
-การบำบัด
การบำบัดแบบ CBT (Cognitive behavioral therapy) นิยมใช้สำหรับผู้ป่วยปัญหาทางสุขภาพจิตเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ หรือเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองได้หากว่าเจอสิ่งเร้า แต่จะต้องอยู่ในความดูแลของจิตแพทย์
-การใช้ยา
แพทย์จะมีการจ่ายยาเพื่อช่วยลดความต้องการทางเพศ เช่น ยาคลายเครียด ยากล่อมประสาทแต่นอกเหนือจากนี้ผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะต้องการยาที่แตกต่างกัน ดังนั้น อาจจะต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย
-การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยนิมโฟมาเนีย สามารถที่จะเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลายได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเลือกการเล่นโยคะ หรือการออกกำลังกายที่จะต้องมีสมาธิอยู่กับตัวเอง เพื่อช่วยให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีความสมดุลยิ่งขึ้น
-รักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ไม่เพียงแค่วิธีการรักษาทางการแพทย์ที่จำเป็นเท่านั้น แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เริ่มจากความคิดของตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยมีวิธีดังนี้
1. ต้องเริ่มเข้าใจกับโรคที่เกิดขึ้นก่อน โดยควรทำความเข้าใจตั้งแต่สาเหตุที่ส่งผล อาการแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นและปัญหาที่มีผลกระทบกับการใช้ชีวิต
2. จัดการความเครียดและความวิตกกังวล เนื่องจากเป็นสาเหตุของนิมโฟมาเนียได้ ดังนั้น จึงจะต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับภาวะดังกล่าว เช่น ออกกำลังกาย หรืออ่านหนังสือ เพื่อให้กายและใจผ่อนคลาย
การป้องกันโรคนิมโฟมาเนีย
โรคนิมโฟมาเนียยังไม่มีวิธีป้องกันที่บอกไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยสามารถเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ก็ย่อมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิมโฟมาเนียลงได้ โดยเฉพาะการควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล เพราะระดับฮอร์โมนสามารถส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์และความคิดได้ หรือมีวิธีดูแลตนเองได้ดังนี้
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล
-เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมอื่น ๆ ที่สร้างความสุขให้แก่ตัวเอง
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับอย่างเพียงพอ
-เข้าร่วมในกลุ่มสนับสนุน
-มองหาการสนับสนุนจากเพื่อน ๆ และครอบครัว
-ปรึกษาจิตแพทย์
บทสรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับนิมโฟมาเนีย ถือว่าเป็นโรคที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง สำหรับผู้ที่อยากศึกษาหารายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับนิมโฟมาเนีย เพื่อเป็นข้อมูลหากมีความเสี่ยงหรือเพื่อป้องกันการเกิดนิมโฟมาเนียได้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
http://peechai.com/health-สุขภาพ/โรคนิมโฟมาเนีย-หรือ-โรค/