HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคสมาธิสั้นคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น คือ ภาวะที่เกิดจากสมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่ควบคุมสมาธิ และ พฤติกรรมมีการทำงานลดลง ซึ่งภาวะนี้เพิ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทย เมื่อไม่นานมานี้

 

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของโรคสมาธิสั้นเกิดจากหลายปัจจัย โดยปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยทางชีวภาพ ซึ่งได้แก่ ด้านพันธุกรรม โดยพบว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดภายในครอบครัวได้ร้อยละ 75 ปัจจัยทางด้านระบบประสาท  โดยเฉพาะบริเวณที่ทำงานเกี่ยวกับการคิด การวางแผน การควบคุมตัวเอง รวมถึงสารในสมองที่สำคัญบางตัวมีน้อยกว่าคนปกติ

โรคสมาธิสั้น

สิ่งเหล่านี้คือ การทำงานของสมองส่วนหน้าที่ทำงานผิดปกติ และ ยังพบอีกว่าคุณแม่ที่สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยช่วงแรกคลอด เนื่องจากคลอดก่อนกำหนด ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เด็กมีโอกาสเป็นสมาธิสั้น และ อีกปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เด็กสมาธิสั้นมีอาการมากขึ้น

หรือ ทำให้เด็กปกติดูมีอาการคล้าย สมาธิสั้น หรือที่เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม” คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู เช่น ไม่มีกฎระเบียบในบ้าน การเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย ไม่มีการควบคุมที่สม่ำเสมอ การเลี้ยงดูที่ไม่ตรงกันของพ่อกับแม่ และ ที่สำคัญที่สุด คือ การใช้เทคโนโลยี เช่น มือถือ ไอแพด แทบเลต รวมถึง โทรทัศน์ เป็นเวลานาน โดยขาดการควบคุม

เด็กที่ใช้สื่อเหล่านี้มาก ๆ จะกลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้า โดยเฉพาะด้านการพูด การสื่อสาร ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสมัยนี้ คุณพ่อคุณแม่มักจะบ่นว่าลูกตัวเองทำไมถึงพูดช้า เนื่องจากเด็กขาดการสื่อสาร ขาดการมีปฏิสัมพันธ์ จึงทำให้พูดช้า

และ ในกรณีที่เด็กติดสิ่งเหล่านี้ก็จะขาดทักษะสังคม ใจร้อน รอคอยอะไรไม่เป็น หงุดหงิดง่าย ซึ่งอาจจะรวมไปถึง อาจมีปัญหาเรื่องการมีพฤติกรรมที่รุนแรงที่เกิดจากการเลียนแบบสื่อเทคโนโลยี

 

อาการที่สังเกตได้

อาการที่สังเกตได้

1. ขาดสมาธิ ไม่ชอบทำงานที่ต้องอาศัยการใช้สมาธิ ไม่รอบคอบ ทำงานไม่เสร็จตามเวลา ขี้ลืม เบื่อง่าย วอกแวก เหม่อลอย จดจ่ออะไรนาน ๆ ไม่ได้

2. ซุกซนอยู่ไม่นิ่ง หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ “เด็กไฮเปอร์” จะมีอาการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา พูดมาก พูดเก่ง ยุกยิก ชอบเล่น หรือ ทำเสียงดัง ๆ เล่นกับเพื่อนแรง ๆ

3. ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความระมัดระวังในการทำสิ่งต่าง ๆ พูดโพล่ง พูดแทรก รอคอยอะไรไม่ค่อยได้ ใจร้อน วู่วาม

โรงสมาธิสั้นยังรวมไปถึงภาวะซึมเศร้าจากปฏิกิริยาทางใจ เช่น อาการซึมเศร้า หลังจากคู่แต่งงานเสียชีวิต ตกงาน หย่าร้าง ภาระมากเกินไป ภาวะซึมเศร้า ชนิดนี้มักเกิดในหญิง ซึ่งต้องรับภาระทั้งครอบครัว และ ทำงานนอกบ้าน และ ในชายที่มีอายุในช่วง 50 – 60 ปี

เด็กบางคนอาจมีทั้ง 3 กลุ่มอาการร่วมกันได้ หรือ อาจมีอาการเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

 

การรักษาโรคสมาธิสั้น

หากสงสัยว่าลูกมีอาการสมาธิสั้น ควรเข้ารับการปรึกษาจากจิตแพทย์เด็ก และ วัยรุ่น เพื่อการวินิจฉัย และ การรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสม

การช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นนั้นจะมีการปรับพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยา ซึ่งในเด็กที่มีอาการไม่มาก ไม่ได้รบกวนเรื่องการเรียน หรือ การใช้ชีวิตประจำวันมาก หรือ เด็กที่เป็นสมาธิสั้นเทียม

การรักษาโรคสมาธิสั้น

ในเบื้องต้นก็จะใช้การปรับพฤติกรรม ส่วนในเด็กสมาธิสั้นที่มีอาการค่อนข้างมาก มีปัญหารบกวนเรื่องการเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยาคุมอาการควบคู่กันไป

1. การปรับพฤติกรรม หลักการปรับพฤติกรรมคุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความร่วมมือกับเด็กไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยหลักการปรับพฤติกรรมเพื่อช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีอาการดีขึ้น มีดังนี้

การปรับพฤติกรรม

– ใช้การสื่อสารที่สั้นกระชับ ตรงไปตรงมา ควรให้เด็กหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ เมื่อต้องการพูดหรือออกคำสั่งให้เด็กมองหน้า หรือสบตากับพ่อแม่ และ ให้เด็กทวนสิ่งที่พ่อแม่ออกคำสั่ง เพื่อเช็คว่าเด็กรับฟังได้ครบ และ เข้าใจถูกต้อง

– ทำตารางเวลาที่ชัดเจน เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กเห็นความสำคัญของเวลา และรู้จักวางแผนแบ่งเวลา โดยกำหนดเวลาให้กับเด็กว่าเวลาไหนต้องทำอะไรบ้าง และ ติดไว้ในที่ ที่เด็กเห็นได้ชัดเจน เพื่อให้ดูได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้พ่อแม่คอยเตือนซ้ำในทุก ๆ วัน โดยที่พ่อแม่ต้องคอยกำชับดูแลในช่วงแรก จนเด็กคุ้นเคย และ ปฏิบัติจนเป็นนิสัย

– ในเด็กที่มีพลังงานเยอะ ควรหากิจกรรมให้เด็กทำในแต่ละวัน เช่น เล่นกีฬา เพื่อให้มีการใช้พลังงานที่เหมาะสม

– จำกัดเวลาในการดูไอแพด แทบเลต หรือ โทรทัศน์ พ่อแม่ควรอยู่กับเด็กในขณะที่เด็กเล่น เพื่อดูความเหมาะสมของสิ่งที่เด็กเล่นหรือดู และ ควรจะจำกัดเวลาวันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีเวลาให้เด็กเล่นที่ชัดเจน

– ปรับบรรยากาศการทำการบ้านของเด็กให้สงบ พ่อแม่ควรนั่งประกบเด็กเวลาทำการบ้าน เพื่อคอยกระตุ้นไม่ให้เด็กเหม่อ หรือ ว่อกแว่ก ไม่ควรมีอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนต้องไม่มีเสียงโทรทัศน์

– ชื่นชมในสิ่งที่เด็กทำได้ดี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดี อาจมีการใช้ตารางสะสมดาว หรือ หากต้องมีการลงโทษ ควรใช้การจำกัดสิทธิ เช่น ลดเวลาในการเล่นเกม ลดค่าขนม

– พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับเด็กในเรื่องของความมีระเบียบวินัย การให้เด็กรู้จักอดทนรอคอย รวมไปถึงการใช้ไอแพด แทบเลต หรือ โทรทัศน์ด้วย

 

2. การรักษาด้วยยา ยาที่ใช้รักษาสมาธิสั้นมีหลายกลุ่ม ได้แก่

การรักษาด้วยยา

– ยาในกลุ่มไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท  ได้แก่ Atomoxetine ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นในเด็กที่ไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยา Methylphenidate ได้

– ยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ได้แก่ Methylphenidate ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้น และ ให้ผลในการรักษาดีที่สุดในคนส่วนใหญ่ ซึ่งยากลุ่มนี้จะมี 2 รูปแบบ คือ แบบออกฤทธิ์สั้น ครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง โดยต้องกินยานี้ประมาณ 2 – 3 ครั้ง ใน 1 วัน และ แบบออกฤทธิ์ยาวครั้งละประมาณ 10  – 12 ชั่วโมง ซึ่งจะกินเพียงวันละ 1 ครั้ง

*****ผลข้างเคียงที่พบของยากลุ่มนี้ คือ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ*****

– ยากลุ่มต้านเศร้า เช่น Bupropion ใช้ในเด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย

– ยากลุ่ม Alpha 2 agonist ได้แก่ Clonidine ใช้ในเด็กสมาธิสั้นที่มีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อกระตุก หรือ ในเด็กที่มีอาการหงุดหงิดง่าย มีอารมณ์โกรธรุนแรง รวมถึงเด็กที่มีปัญหาการนอน

การใช้ยาทุกชนิด ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาในการสั่ง และ ติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด และ ต่อเนื่องในเด็กแต่ละราย อาจมีอาการและการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การช่วยเหลือโดยพ่อแม่

การที่จะช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีอาการที่ดีขึ้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ พ่อแม่ โดยที่พ่อแม่ต้องเข้าใจที่มาที่ไปของอาการเด็ก ก่อนว่าเกิดจากการทำงานของสมองบางส่วนที่เสียสมดุลไป ซึ่งทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตนเองได้ พ่อแม่ต้องมีความตั้งใจที่จะร่วมมือกันในการช่วยเหลือเด็กไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

พ่อแม่จะต้องมีความอดทนให้เวลาให้ความรัก ความอบอุ่น การเรียนรู้ และ เข้าใจ เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นจะทำให้เกิดความรักที่มีคุณภาพ เพราะความรักที่เกิดขึ้นจากการยอมรับ และ เข้าใจจะทำให้ความสัมพันธ์ และ บรรยากาศในครอบครัวดีขึ้น จึงส่งผลให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กทำได้ดีขึ้น เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

การช่วยเหลือโดยครู

การที่คุณครูมีโอกาสเจอเด็กที่หลากหลายจะสังเกตเห็นได้ชัดว่าเด็กคนไหนมีความแตกต่างจากเด็กคนอื่น เช่น เด็กคนนี้ค้างงานเป็นประจำ ลืมส่งงาน ทำงานไม่ค่อยเป็นระเบียบ หากคุณครูสงสัยว่าเด็กเข้าข่ายสมาธิสั้น คุณครูควรหาโอกาสพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ และ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาเด็กไปปรึกษาแพทย์

แนวทางการจัดห้องเรียนที่มีเด็กสมาธิสั้น มีดังนี้

1. ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุด

2. กระตุ้นให้เด็กตอบคำถามเป็นระยะ

3. ใช้คำพูดที่สั้น กระชับได้ใจความ

4. ก่อนเริ่มสอนให้สังเกตว่าเด็กมีความพร้อมหรือไม่

5. การสอนด้านวิชาการ ควรใช้คำสั้น ๆ ในการอธิบาย

6. หากเด็กกำลังเหม่อให้แตะตัวเด็กอย่างนุ่มนวล เพื่อให้เด็กรู้สึกตัว

7. ให้เด็กได้มีโอกาสออกกำลังกาย

8. ใช้กิจกรรมที่เด็กชอบ และ สนใจ

การช่วยเหลือโดยเพื่อน

เด็กทุกคนอยากได้รับการยอมรับจากเพื่อน ดังนั้น เพื่อจึงมีความสำคัญไม่น้อยในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น ซึ่งมีวิธีดังนี้

1. เข้าใจเพื่อนที่เป็นสมาธิสั้น ไม่ล้อเลียน ไม่ต่อว่า คอยเตือนเพื่อนเมื่อถึงเวลากินยา

2. ให้ความช่วยเหลือเรื่องงาน หรือ การบ้าน คอยเตือนเพื่อนเรื่องการส่งงาน

3. คอยเตือน หรือ เรียก เมื่อเพื่อนมีอาการเหม่อ ว่อกแว่ก ในขณะเรียน

ในความเป็นจริงแล้วเด็กสมาธิสั้น ก็คือ เด็กปกติคนหนึ่งที่มีอาการควบคุมตัวเองได้น้อยกว่าคนอื่น เด็กสามารถทำกิจกรรม เรียนหนังสือ และ ใช้ชีวิตได้เหมือนเด็กในวัยเดียวกัน

หากทุกคนรอบตัวไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่ ครู หรือ เพื่อน มีความเข้าใจ ยอมรับ และ ให้การช่วยเหลือ ดูแลที่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กสมาธิสั้นมีความสุข

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..

https://www.manarom.com/blog/adhd_disorder.html