HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

mydocalm บรรเทาอาการปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

หากต้องทำกิจกรรมหนักที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น การออกกำลังกายแบบหนัก ๆ หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยจะรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก จากกล้ามเนิ้อที่หดตัวเนื่องมาจากการเกิดภาวะขาดเลือด ขาดออกซิเจน และขาดพลังงาน มีการคั่งของสาร เช่น kinins  prostaglandin serotonin histamine เป็นตัวกระตุ้นปลายประสาทรับความเจ็บปวด ทำให้เกิดอาการปวดขึ้น หลายคนอาจเคยได้รับยาคลายกล้ามเนื้อจากแพทย์ ซึ่งคงเคยได้ยินชื่อยา Norgesic และ Mydocalm อยู่บ้าง เพราะมักจะนำ mydocalm ยาคลายกล้ามเนื้อ มาใช้รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ อีกทั้งทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและผ่อนคลาย

Mydocalm® เป็นชื่อการค้าของยาชื่อสามัญ Tolperisone hydrochloride เป็นยาคลายกล้ามเนื้อเช่นเดียวกัน ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยบรรเทาอาการปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เพราะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ จึงนำมาใช้บรรเทาอาการปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขนาดยาที่ใช้ คือ วันละ 300-450mg โดยให้แบ่งทานเป็น 3-4 มื้อ ไม่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนแต่อย่างใด ไม่มี sedative effect เกิดขึ้น อาการข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ ความดันโลหิตต่ำ เกิดผื่นแพ้ยา ปากแห้ง ไม่สบายท้อง ท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ง่วงซึม อ่อนเพลีย

สาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อ

จริงๆ แล้วอาการกล้ามเนื้อยอก กล้ามเนื้ออักเสบมักมีสาเหตุมาจากการใช้ร่างกายแบบฝืนธรรมชาติ ควรตรวจสอบสาหเหตุของอาการปวดและเปลี่ยนรุปแบบการทำร้ายกล้ามเนื้อ อาการปวดกล้ามเนื้อ เกิดได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้

1.ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม

2.งาน อาชีพ ที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นการใช้คอมพิวเตอร์

3.การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ

4.พักผ่อนไม่เพียงพอ การขาดการดูแลและการบริหารกล้ามเนื้อ ที่ถูกต้อง

การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ

ยาคลายกล้ามเนื้อมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่ละประเภทของยาคลายกล้ามเนื้อก็จะออกฤทธิ์ใกล้เคียงกัน ซึ่งยาคลายกล้ามเนื้อสามารถแบ่งออกได้ตามนี้

1.ยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาท โดยยับยั้งการสั่งความรู้สึกปวดผ่านระบบประสาท ซึ่งก็ได้แก่ ยา Orphenadrine และยา Tolperisone (Mydocalm)

Mydocalm (มายโดคาล์ม) ขนาด 50 มิลิกรัม คือ ยาคลายกล้ามเนื้อชนิด Tolperisone ขนาด 50 มิลลิกรัม เป็นยาคลายกล้ามเนื้อที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นจะไม่รับประทานยานี้ร่วมกับยากลุ่ม NSAIDs และสำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะ โรคแผลในกระเพาะ หรือมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร 

2.ยาลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบและอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ มี 2 กลุ่มด้วยกันคือ

– ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid)

– ยาลดการอักเสบและลดปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ได้แก่ Diclofenac, Nappraxen, Piraxicam, Nidol, Aspirin, lndomethacin

3.ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ลดอาการไข้โดยการยับยั้งศูนย์ควบคุมอุณหภูมิความร้อน และบรรเทาอาการปวดทั่ว ๆ ไป

อย่างไรก็ดี ยาในกลุ่มคลายกล้ามเนื้อที่มีขายในไทยจะประกอบไปด้วย Carisoprodol, Chlorzoxazone, Methocarbamol, Orphenadrine และ Tolperisone (Mydocalm) ซึ่งก็มักจะผลิตออกมาจำหน่ายในรูปยาผสม 

ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อ

บางคนเมื่อรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อแล้ว อาจมีอาการมึนงง วิงเวียน และตาพร่ามัว ที่สำคัญอาจไปกระตุ้นให้เกิดภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกทำงานลดลง

ข้อควรระวังในการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ

ยาคลายกล้ามเนื้อไม่ใช่ยารักษาโรค เพียงแค่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อได้ในระยะเวลาไม่เกิน 2 อาทิตย์ และการใช้ยาควรต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะในตัวยามักมีส่วนผสมของยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอลผสมอยู่ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดเพิ่มเข้าไปอีก ที่สำคัญการใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs ต้องระวังมากเป็นพิเศษ เพราะยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะ จึงไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกินไป 

นอกจากนี้ยาคลายกล้ามเนื้อยังอาจมีปฏิกิรยากับยาบางชนิด เช่น หากใช้ยาร่วมกับยา Haloperridol (ยาทางจิตเวช) อาจทำให้อาการจิตเภทแย่ลง หรือให้ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมกับยา Diazepam เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาแก้ปวด Tramadol อาจทำให้อาการข้างเคียงมีโอกาสเกิดได้มากขึ้น

อาการปวดเมื่อยเนื้อตัวเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น พนักงานออฟฟิศ หรือคนที่ออกแรงกล้ามเนื้อมากเกินไป หลายคนเลือกที่จะบรรเทาอาการปวดด้วยยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้อาการปวดเมื่อยเนื้อตัวหายไปโดยเร็ว ยาคลายกล้ามเนื้อคือยาที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน จากการที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง เนื่องจากการบาดเจ็บหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและกระดูก โดยยาคลายกล้ามเนื้อจะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง และอาจจำเป็นต้องใช้ร่วมกับการพักกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัด และการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย จึงจะช่วยคลายปวดเมื่อยอย่างได้ผลจริง ๆ

อาการปวดกล้ามเนื้อจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป มีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว ซึ่งการหดตัวของกล้ามเนื้อนี้เป็นการตอบสนองของร่างกายเพื่อปกป้องกล้ามเนื้อไม่ให้มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นอีก ยาคลายกล้ามเนื้อนี้ เป็นยาที่ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ตลอดไป 

การไปยับยั้งการตอบสนองด้วยยาคลายกล้ามเนื้อ จึงเป็นการใช้เพื่อรักษาตามอาการไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ โดยฤทธิ์ในการรักษาความปวดของยาคลายกล้ามเนื้อเกิด จากการที่ยามีฤทธิ์สองประการ คือ ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ เกิดจากการที่ยามีผลลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อด้วยการลดการกระตุ้น motor neuron หรือทำให้เซลล์กล้ามเนื้อลายมีระยะพัก (refractory period) นานขึ้น และออกฤทธิ์ลดอาการปวด ยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิดสามารถลดอาการปวดได้โดยยับยั้งการทำงานของ nociceptive fiber เช่น orphenadrine เป็นต้น

จริง ๆ แล้วอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นสามารถหายไปได้เองจากการประคบ นวด และจะใช้ mydocalm ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อก็ต่อเมื่อรู้ต้นสายปลายเหตุของอาการปวดเมื่อยแล้ว เช่น ปวดเมื่อยเพราะนั่งท่าเดิมนาน ๆ หรือปวดเมื่อยเพราะฝืนใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก หรือปวดเมื่อยเนื่องจากอาการเกร็ง เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยาคลายกล้ามเนื้อควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์  healthdoo.today ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองพร่ำเพรื่อเกินไป เพราะอาจทำให้ได้รับยาเกินขนานได้