HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ก้างปลาติดคอ เรื่องเล็กแต่ไม่เล็ก ๆ อย่างที่คิด

ก้างปลาติดคอ

ใคร ๆก็บอกอยากมีสุขภาพดี แข็งแรง ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกลัวอ้วน คงหนีไม่พ้นเนื้อปลาเพราะมีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายประเภท แต่การรับประทานก็ต้องระมัดระวังเพราะจะมีก้างปลา และหลายคนอาจเคยมีประสบการณ์ก้างปลาติดคอซึ่งสร้างความเจ็บปวดมาก

การที่ ก้างปลาติดคอ นั้น สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ เหมือนจะเรื่องเล็กแต่ไม่เล็ก ๆ อย่างที่คิด เพราะก้างปลาชิ้นเล็ก ๆ อาจทำให้เกิด เกิดการติดเชื้อ เป็นหนองลามเข้าไปในคอ ลามเข้าไปในช่องอก ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม และแก้ไขแบบผิด ๆ ซึ่งก้างปลาติดคอ หายเองได้ไหม อาจส่งผลกระทบมากมายต่อร่างกายได้ 

อาการก้างปลาติดคอ

1.รู้สึกเจ็บจี๊ดเฉียบพลันบริเวณที่ถูกก้างตำ

2.เวลากลืนน้ำลายแล้วรู้สึกเจ็บ

3.รู้สึกว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่และสามารถบอกตำแหน่งได้ว่าอยู่บริเวณใด หรือรู้สึกว่ามีบางอย่างติดอยู่ในคอ

4.ขย้อนเมื่อกลืนอาหาร

5.คลื่นไส้ อาเจียน

6.หากสิ่งแปลกปลอมไปอุดกั้นทางเดินหายใจ จะมีอาการไอ สำลัก หายใจลำบาก หายใจเสียงดังหวีด หรือหน้าเขียวปากเขียว

7.เด็กอาจปฏิเสธการรับประทานอาหาร

8.เจ็บหน้าอก ปวดท้อง 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นของก้างปลาติดคอ

 1.ก้างปลาขนาดเล็ก ให้ดื่มน้ำแล้วกลั้วคอแรง ๆ ก้างจะสามารถหลุดออกเองได้

2.ห้าม กลืนก้อนข้าวเหนียว ขนมปังหรือกล้วย ลงไปเพื่อให้ก้างปลาหลุด เพราะอาจทำให้ก้างปลามลึกลงไปและเกิดบาดแผลที่หลอดอาหารมากขึ้น

3.หลีกเสี่ยงการเอานิ้วล้วงเอาก้างปลาออก การนวด หรือบีบคอจากภายนอก เพราะจะทำให้ก้างปลาหล่นลึกลงไปมากกว่าเดิม

4.หลีกเลี่ยงการไอหรือการยืดคอ เพราะอาจจะทำให้ก้างปลาที่ติดอยู่ในคอหลุดลงไปในหลอดอาหารจนเป็นอันตรายกับหลอดอาหารได้

5.อย่าปล่อยให้ก้างปลาติดคอนานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองได้

6.ห้ามใช้อุปกรณ์แหย่ลงในคอเพื่อเขี่ยเอาก้างปลาออกมา เพราะอาจจะทำให้อุปกรณ์ที่ใช้เขี่ยหลุดลงไปในคอและเกิดอันตรายได้

7.ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อนำก้างปลาออกอย่างถูกวิธี เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน

ดังนั้น หากประสบกับปัญหาก้างปลาติดคอ ควรใช้วิธีการดื่มน้ำแล้วกลั้วคอเพื่อให้ก้างปลาหลุดเท่านั้น หากเป็นก้างชิ้นอาจจะหลุดออกมาได้เองแต่หากเป็นชิ้นใหญ่ควรรีบไปพบแพทย์ ไม่แนะนำให้ทำตามความเชื่อบางอย่างเช่น กลืนข้าวเหนียวเพราะอาจทำให้ก้างกรีดตามแนวลงไปทำให้เกิดบาดแผลเพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อการอักเสบ ติดเชื้อมากขึ้น ซึ่งก้างปลาอาจติดได้ตั้งแต่เพดานอ่อน ต่อมทอนซิล ผนังคอหอย โคนลิ้น ฝาปิดกล่องเสียง หรือติดอยู่ในหลอดอาหารก็ได้ แต่ตำแหน่งที่พบบ่อย ๆ น่าจะเป็นบริเวณข้าง ๆ ต่อมทอนซิล โคนลิ้น ฝาปิดกล่องเสียง บริเวณใกล้หลอดรูเปิดทางเดินอาหาร 

หากก้างปลามีขนาดใหญ่จะทำให้มีอาการเจ็บบริเวณนั้น ๆ เมื่อยิ่งกลืนก็ยิ่งเจ็บ และถ้าติดอยู่เป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ เป็นหนองและมีไข้ได้ อาจมีเลือดออกมาปนกับน้ำลายหรือมีเสียงเปลี่ยนได้ด้ หากมีการอักเสบลุกลามไปที่กล่องเสียง ซึ่งจะทำให้มีปัญหาของการออกเสียงและมีปัญหาเรื่องของการหายใจตามมาได้ จะเห็นได้ว่าก้างปลาติดคอไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ อย่างที่หลายคนคิด ไม่ควรประมาทแก้ปัญหาแบบผิด ๆ โดยเฉพาะการที่พยายามเอามือเข้าไปล้วงเอาก้างปลาออกเอง อันตรายมากเพราะอาจจะไปดันให้ก้างปลาเคลื่อนลงลึกไปอีกและที่สำคัญทำให้เกิดบาดแผลเป็นแนวยาวลงไป ทำให้การรักษายากขึ้นและใช้เวลานานขึ้น ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีจะดีที่สุด เพราะหากมัวแต่รักษาด้วยตัวเองก็อาจจะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นหรือเกิดอาการอักเสบได้ ซึ่งคราวนี้ก็คงต้องกินยารักษาไปอีกนานเลยกว่าจะหาย

เมื่อไปถึงโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่และแพทย์จะทำการซักประวัติถามวันเวลาที่เกิดเหตุ ก้างปลาติดคอ หายเองได้ไหม ลักษณะของก้างปลา ตำแหน่งที่เจ็บว่าอยู่ลึกขนาดไหน อยู่ข้างซ้ายหรือข้างขวา และตรวจร่างกาย เช่น ส่องดูในคอเพื่อดูตำแหน่งที่ถูกต้องว่าก้างปลาติดอยู่ตรงไหน เพราะถ้าสามารถมองเห็นอาจจะคีบออกมาได้เลย แต่ถ้ามองไม่เห็นก็จะเอามาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาหาวิธีที่เหมาะสมในการช่วยเหลือการนำเอาก้างปลาออก สำหรับความยากง่ายในการคีบออกนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของก้างปลาหรือเศษกระดูกว่าใหญ่เพียงใด ตำแหน่งที่คิดว่าอยู่ลึกหรือซ่อนในร่องหลืบลึกลับขนาดไหน ซึ่งก็จะมีเครื่องมือในการคีบหลายแบบหลายมุมให้เลือกใช้ healthdoo.today เป็นวิธีรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด