HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ประจําเดือนไม่มา สาเหตุที่อาจมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน

ประจําเดือนไม่มา

ผู้หญิงเมื่อโตขึ้นจะเป็นสาว ก็จะมีการเปลี่ยนทางร่างกายหลายอย่าง ไม่ว่าจะ โครงสร้าง หน้าอกหน้าใจ หรือนมนั่นเอง อารมณ์ที่พูดกันง่าย ๆ คือเลือดร้อนขึ้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และหนีไม่พ้นเลยสำหรับสาว ๆ คือ ประจำเดือน ซึ่งเป็นสิ่งคู่กันและจะติดตัวไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอีกครั้ง เช่น การตั้งครรภ์ หรือถีงวัยหมดประจำเดือน เพราะประจำเดือนนั้นจะวนเวียนเป็นประจำทุกเดือน เมื่อไหร่ที่ประจำเดือนเกิดหายหน้าหายตาไป หรือมาช้าไปจากเดิม ก็จะทำให้เกิดความกังวลใจ ประจําเดือนไม่มา แต่มีตกขาว เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบอกความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์ที่น่ายินดีที่สุดหรืออาจจะเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยก็ได้

ประจำเดือน (Menstruation) คือ เป็นเลือดมาทางช่องคลอดในทุก ๆ เดือน หรือทุก ๆ 21-35 วัน(รอบเดือน) แต่ละเดือนจะมาประมาณ 3-7 ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรกตอนอายุประมาณ 10-15 ปี โดยเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เพื่อลองรับการฝังตัวของตัวอ่อนหลังเกิดการปฏิสนธิ แต่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นไม่มีการฝังตัวของคัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดออกมาเป็นเลือดประจำเดือนนั่นเอง

ประจำเดือนไม่มา หรือการขาดประจำเดือน (Amenorrhea) คือ ภาวะประจำเดือนไม่มาเลย หรือเคยมีประจำเดือนแต่ขาดไม่มาตามปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 กรณี 

1.กรณีแรกเกิดขึ้นกับผู้ที่รอบเดือนครั้งแรกไม่มาเมื่ออายุถึงเกณฑ์ 

2.กรณีเกิดขึ้นกับผู้ที่เคยมีประจำเดือนแต่รอบเดือนขาดหรือไม่มาตามปกติ โดยรอบเดือนปกติจะประมาณ 28 วัน (อยู่ในช่วง 21- 35วัน) แต่ในบางครั้งประจำเดือนอาจไม่มาตามกำหนด คือ เกิน 35 วัน โดย 2-3 ปีแรกนับตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ประจำเดือนอาจจะยังมาไม่สม่ำเสมอ ต้องใช้เวลาในการปรับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการมีรอบเดือนให้สมดุล และในช่วงปีสุดท้ายของการมีรอบเดือน 

สาเหตุของการประจำเดือนไม่มา

หากประจำเดือนไม่มา 1 เดือนหรือ 2 เดือนแรก และยังไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วม ยังไม่ถือว่าอันตราย เนื่องจากการที่ประจำเดือนไม่มา มีหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อประจำเดือนขาดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ควรจะต้องตรวจการตั้งครรภ์เป็นอันดับแรก แนะนำให้ตรวจการตั้งครรภ์ห่างจากวันที่มีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 14-21 วัน เพราะการตรวจเร็วเกินไปอาจทำให้ผลตรวจไม่ถูกต้อง และยังมีอีกหลายสาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา เช่น

1.เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน ในผู้หญิงที่ประจำเดือนเพิ่งเริ่มมา หรือเคยมีแล้วหายไปเป็นปีก่อนจะกลับมามีอีกรอบ ถือเป็นช่วงที่รอบเดือนยังไม่คงที่อาจต้องใช้เวลาในการที่จะให้ร่างกายปรับตัว  

2.ความเครียด เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยในคนที่ประจำเดือนไม่มา เนื่องจากความเครียดจะไปรบกวนการผลิตฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (Gonadotrophin)ซึ่งเป็นฮอร์โมนควบคุมระบบสืบพันธุ์ ทำให้ประจำเดือนอาจจะเลื่อนออกไปหรือไม่มาได้

3.การออกกำลังกายหนักเกินไป เพราะเมื่อเราออกกำลังกายหนักมาก ๆ ทำให้รบกวนการทำงานของต่อมใต้สมอง (Pituitary) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตกไข่และการเกิดประจำเดือน ดังนั้นการออกกำลังกายมากเกินไป จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับรอบเดือน เนื่องจากร่างกายสูญเสียไขมันมากเกินไปจากการหักโหมทำกิจกรรม

4.การเป็นโรคเรื้อรัง ทั้งโรคไทรอยด์ กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ (PCOS) เกิดเนื้องอกต่อมใต้สมอง โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต เป็นซีสต์ที่รังไข่ โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับตับ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ ซึ่งอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ หรือระดับเทสโทสเตอโรนสูง ซึ่งทำให้ประจำเดือนขาด

5.การรับประทานยาบางตัว เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาต้านอาการทางจิต ยารักษาโรคไทรอยด์ ยากันชัก หรือการรักษาโดยใช้เคมีบำบัด ก็อาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่ปกติได้

6.รับประทานยาคุมกำนิด ซึ่งอาจทำให้มีประจำเดือนมาน้อย มามาก มาไม่สม่ำเสมอ หรือไม่มาเลย โดยยาคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นยาคุมแบบฉีด หรือห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนก็รวมด้วย เพราะอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาได้ อย่างไรก็ตาม หากหยุดใช้ยาคุมแล้ว จะกลับมามีประจำเดือนตามปกติ 

7.น้ำหนักตัวผิดปกติ คือ น้ำหนักมากเกินไป น้อยเกินไป หรือมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักกะทันหันอาจเกิดอาการประจำเดือนไม่มา เพราะการที่น้ำหนักตัวเยอะหรือเป็นโรคอ้วนจะทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนผิดปกติ ส่วนน้ำหนักตัวน้อยมักเกิดจากรับประทานอาหารน้อย ทำให้ไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ไม่มีไขมันหรือพลังงานเพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ โดยเฉพาะผู้เป็นโรค Anorexia Nervosa

8.เริ่มเข้าสู่วัยทอง หรือเข้าสู่วัยทองแล้ว ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ อาจจะมามากผิดปกติ มากะปริดกะปรอย มาบ่อยกว่าปกติ หรืออาจหายไปเลย ซึ่งมักจะเริ่มเข้าสู่วัยทองที่อายุประมาณ 45 ปี และเข้าสู่วัยทองเต็มตัวเมื่ออายุประมาณ 48-52 ปี เป็นความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ เมื่อเลยวัยทองแล้ว รอบเดือนจะหยุดมา 

9.อยู่ในระยะกำลังให้นมบุตร หากอยู่ในระยะหลังคลอดและกำลังให้นมบุตร เนื่องจากการที่เด็กดูดนมมารดา บริเวณหัวนมหรือหน้าอกจะได้รับการกระตุ้น ทำให้ไข่ไม่ตก ประจำเดือนจึงไม่มาหรืออาจจะมากระปริดกระปรอยได้ เป็นการตอบสนองปกติของร่างกาย

การรักษาอาการประจำเดือนไม่มา

การรักษาประจำเดือนไม่มาสาเหตุ จะรักษาตามสาเหตุของแต่ละคน เช่น 

1.พักผ่อนให้เพียงพอ ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง

2.ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อช่วยแนะนำหลักการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง โดยปรับการรับประทานอาหารอย่างถูกหลัก เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ 

3.ทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อลดความเครียด เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำงานอดิเรก เดินทางท่องเที่ยว หรือพบปะเพื่อนฝูงที่ทำให้สบายใจ รวมทั้งปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิตเพื่อให้ร่างกายและอารมณ์กลับมาเป็นปกติ

4.ถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์อาจจ่ายยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยรักษาอาการ

5.ฮอร์โมนไม่สมดุล ผู้ที่ประสบภาวะขาดประจำเดือนจากปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลจะได้รับฮอร์โมนเสริมหรือฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้เป็นปกติ

6.ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป แพทย์อาจจะทำการรักษาโดยการให้ยาที่ช่วยหยุดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ของต่อมไทรอยด์เพื่อรักษาอาการของโรค

จะเห็นได้ว่าการที่ประจำเดือนไม่มา  สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการใช้ชีวิตประจำวันหรือความเครียด ซึ่งอาจต้องพักผ่อนและทำตัวเองให้รู้สึกผ่อนคลาย สำหรับนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก ควรลดเวลาการฝึกซ้อมให้น้อยลงหรือเบาลง โดยอาจปรึกษาทีมและแพทย์เพื่อหานวทางในการแก้ไขที่ถูกต้อง เช่น อาจจะเสริมด้วยอาหารเสริมจำพวกฮอร์โมนหรือแคลเซียมที่ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก นอกจากนี้ ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาหลังจากมีเพศสัมพันธ์และสงสัยว่าอาจเกิดจากการตั้งครรภ์ ประจําเดือนไม่มา แต่มีตกขาว ให้ทำการทดสอบเป็นอันดับแรกก่อนที่จะไปแก้ไขด้วยวิธีผิด ๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ และหากประจำเดือนไม่มาเพราะสาเหตุดังกล่าว healthdoo.today ควรดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอาหารเสริมที่มีกรดโฟลิก เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพครรภ์ ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ใช้สารเสพติด เป็นต้น