HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ยาขับประจําเดือน ปรับสมดุล กระตุ้นให้ประจำเดือนที่มาไม่ปกติ

ยาขับประจําเดือน

ความทุกข์ใจของสาว ๆ ทุกคนในทุกเดือนที่หนุ่ม ๆ อาจจสงสัยว่าทำไมเมื่อถึงวันนั้นของเดือนชีวิตมนุษย์แฟนถึงได้อยู่ยากเช่นนี้ จะตรงรอบเดือนไม่ตรงก็ทำให้เกิดความกลุ้มใจ กังวลใจกับสาว ๆ อยู่ดีและยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างอีกด้วย ในกรณีที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ แต่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ก็สามารถหาซื้อยาสตรีต่าง ๆ ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดมารับประทานเพื่อขับประจำเดือนได้ เช่น ยาสตรีเบนโล ยาสตรีเพ็ญภา เนื่องจากยาบำรุงเลือดเหล่านั้นจะมีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ปกติสมบูรณ์ ทำให้ความผิดปกติต่างๆ หายไป ยาขับประจําเดือน มาไม่ปกติ และช่วยปรับสมดุล ช่วยกระตุ้นให้ประจำเดือนที่มาไม่ปกติ กลับมาเป็นปกติดังเดิมได้ แต่การใช้จะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

โดยปกติแล้ว รอบประจำเดือนจะอยู่ที่ 21-35 วัน แต่บางคนอาจเจอปัญหาประจำเดือนไม่มาตามปกติ ซึ่งหากเป็นผู้หญิงที่อายุเกิน 15 ปีแล้ว แต่ประจำเดือนครั้งแรกยังไม่มา หรือผู้หญิงที่ประจำเดือนไม่มาเกิน 3 เดือนติดต่อกัน จะถือว่ามีภาวะขาดประจำเดือน

เมื่อมีเพศสัมพันธ์ แล้ว ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ซึ่งอาจเกิดจากมีการตั้งครรภ์ได้ สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อขาดประจำ คือ ควรตรวจว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ หากตั้งครรภ์ การใช้ยาสตรีเพื่อขับประจำเดือน อาจมีผลทำให้ทารกตายในครรภ์ แต่ถ้าทารกนั้นไม่ตาย ก็อาจจะมีผลให้ทารกมีอาการทุพพลภาพได้ ดังนั้นกรณีที่เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การใช้ยาขับประจำเดือนนั้น ควรไปพบแพทย์/เพื่อปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งอายุครรภ์น้อยเท่าไรยิ่งปลอดภัย จะให้ดีต้องอายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ เพราะทำให้การขับประจำเดือนทำได้ง่าย และเกิดผลข้างเคียงน้อย

บางคนมความเข้าใจผิดว่า เมื่อตั้งครรภ์แบบไม่พร้อมแล้วแก้ไขด้วยดื่มยาสตรีเป็น ยาขับประจำเดือน เพื่อยุติการตั้งครรภ์ได้ ยาสตรีเป็นยาที่ใช้สำหรับคนที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีฤทธิ์กระตุ้นฮอร์โมน ปรับฮอร์โมนให้ประจำเดือนมาต่อเนื่อง  แต่จะใช้ไม่ได้ผลกับหญิงที่ตั้งครรภ์ สรุปคือดื่มแล้วนอกจากไม่แท้ง แถมคลอดออกมาอาจจะได้ลูกพิการอีกต่างหาก เพราะส่วนประกอบของยาสตรีนั้นสกัดมาจากสมุนไพรมากมายหลายชนิด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

     🫂 กลุ่มที่ 1 ออกฤทธิ์ขับลม บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด เช่น น้ำมันสะระแหน่ ดอกคำฝอย ชะเอม ขิง เป็นต้น กลุ่มนี้ไม่ได้มีผลกับการขับเลือดประจำเดือน

     🫂 กลุ่มที่ 2 ออกฤทธิ์ฮอร์โมน เช่น ว่านชักมดลูก กวาวเครือขาว เป็นมีฤทธิ์กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว คล้าย ๆ กับยาปรับฮอร์โมนที่ พอหยุดกิน 2-3 วัน ฤทธิ์ฮอร์โมนหมดไปก็จะมีประจำเดือน แต่ในคนท้องจะมีการสร้างฮอร์โมนออกมาตลอดเวลา ดังนั้นจะดื่มยาสตรีเข้าไปมากแค่ไหนก็ไม่สามารถทำให้เลือดออกจนแท้งได้

     🫂 กลุ่มที่ 3 แอลกอฮอล์ ใช้สกัดตัวยาจากสมุนไพรออกมา แอลกอฮอล์นี่แหละหากดื่มเยอะ ๆ แล้วไม่แท้งแล้วยังส่งผลให้ลูกในท้องจะมีความผิดปกติของสมอง ใบหน้า การเจริญเติบโต ได้

สาเหตุที่ประจำเดือนมาช้า

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาช้า หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเกิดจาก

1.เยื่อพรหมจารีไม่เปิด (Imperforate hymen) เยื่อบาง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ปากช่องคลอดและมีขนาดความหนาประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร มีความผิดปกติไม่ขาดเป็นรูหรือเป็นช่องเปิดสู่ภายนอก เพื่อเตรียมให้เลือดประจำเดือนไหลออกมาเมื่อถึงเวลาที่ประจำเดือนมา 

2.กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) หรือ ภาวะต่อมเพศหรือรังไข่ไม่เจริญ (Gonadal dysgenesis) เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม คือ การมีโครโมโซมเดี่ยว X จึงทำให้ต่อมเพศ (รังไข่) ไม่เจริญ ไม่มีประจำเดือน เป็นหมันหรือมีลูกยาก 

3.ภาวะไม่มีการสร้างของระบบท่อมุลเลอเรียน ( Müllerian agenesis) เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อในตัวอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mullerian duct ไม่มีการพัฒนาหรือเจริญไปเป็นมดลูกตามปกติ ซึ่งอาจไม่มีการพัฒนาทั้งหมดหรือมีการพัฒนาแต่เพียงบางส่วน 

4.เนื้องอกของสมอง โตกดเบียดทับสมองหรือต่อมใต้สมองที่สร้างฮอร์โมนเพื่อการมีประจำเดือน หรือมีเนื้องอกของต่อมใต้สมอง จึงทำให้ระบบการทำงานของฮอร์โมนเสีย ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน

5.การตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการขาดประจำเดือน เมื่อประจำเดือนที่เคยมาปกติทุกเดือนกลับไม่มา 

6.ความเครียดทางด้านจิตใจ (Stress) อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ เนื่องจากความเครียดนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือน 

7.โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) ทำให้ประจำเดือนไม่มา ไม่มีความรู้สึกทางเพศ

8.การใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด 

9.หลังคลอดบุตรหรือการให้นมบุตร ถ้ายังมีน้ำนมอยู่ก็เป็นเรื่องปกติที่ประจำเดือนจะยังไม่มาจนกระทั่งหย่านม

10.วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน (Menopausal syndrome)

ประเภทของยาขับประจำเดือน

ยาขับประจำเดือน ที่แพทย์นำมาใช้ในผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ยาขับประจำเดือนแบบฮอร์โมนเอสโทรเจน และยาขับประจำเดือนชนิดสอด 

1.ยาขับประจำเดือนแบบฮอร์โมนเอสโทรเจน 

คือยาที่มีผลต่อการสร้างเนื้อเยื่อผนังมดลูกและต่อมต่าง ๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์ในเพศหญิง ควบคู่ไปกับฮอร์โมนเพศ หากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว ก็อาจทำให้ผนังบุมดลูกฉีกขาดบ้าง ทำให้เลือดออกคล้ายมีประจำเดือนได้ ซึ่งส่วนมากแล้วจะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขับประจำเดือนที่มาไม่ปกติหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือมีแนวโน้มว่าจะตั้งครรภ์ โดยยาชนิดนี้ จำเป็นที่จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ไม่สามารถหาซื้อรับประทานได้โดยทั่วไป เพราะถ้าหากผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์และมีการตั้งครรภ์รับประทานยาชนิดนี้เข้าไป ก็อาจจะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เมื่อทารกคลอดออกมาอาจมีอาการทุพพลภาพ และเป็นมะเร็ง 

2.ยาขับประจำเดือนชนิดสอด 

ปัจจุบัน มียาขับประจำเดือน อีกประเภทคือ ยาขับประจำเดือนชนิดสอด ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ

     👉 ยาสอด ไซโตเทค (Cytotec) มีตัวยา ไมโซพรอสทอล (Misoprostol)

     👉 ยาสอด อาร์ยู 486 (RU 486) มีตัวยา คือ ไมเฟพริสโตน/มิฟิพริสโตน (Mifepristone)

ซึ่งความเห็นทางการแพทย์ การทำแท้งที่ปลอดภัยที่สุด คือใช้ยาโดยแพทย์และในโรงพยาบาลเท่านั้น ยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ยาสอดเพื่อขับประจำเดือนทั้ง 2 ชนิด ซึ่งจะไม่มีวางขายตามร้านขายยาทั่วไป และมีใช้เฉพาะในโรงพยาบาลที่มีคลินิกปรึกษาเรื่องการวางแผนครอบครัวเท่านั้น

วิธีป้องกันการใช้ยาขับประจำเดือน ที่ดีที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการรู้จัก การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด และการใช้ถุงยางอนามัย ดังนั้นหากประจำเดือนไม่มาหรือคาดว่าจะท้อง สิ่งที่ควรทำอันดับแรกก็คือตรวจการตั้งครรภ์ก่อน ดังนั้น healthdoo.today เมื่อไรก็ตามที่รู้สึกว่าประจำเดือนเริ่มผิดปกติ มาไม่ตรงเวลา ให้สังเกตยาขับประจําเดือน มาไม่ปกติ ร่างกายก่อนว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ และรีบไปพบแพทย์