HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคกลัวรู รุนแรงเมื่อพบเห็นพื้นผิวของวัตถุที่มีลักษณะเป็นรู

โรคกลัวรู

สัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ย่อมมีความกลัว มนุษย์ทุกคนจะมีความกลัว ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความอยู่รอด บางคนอาจจะกลัวแมลง สัตว์มีพิษ หรือกลัวคนแปลกหน้า แต่ถ้าหากกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป หรือกลัวในสิ่งที่คนอื่นไม่กลัวจนกลายเป็นโรคกลัวนั่นย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางพฤติกรรมที่อาจเป็นปัญหาได้ 

โรคกลัว เป็นโรคที่มักจะแสดงอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งจะเป็นไปอย่างไร้เหตุผล และจะกลัวเฉพาะสิ่งเร้าบางอย่างเท่านั้น เช่น โรคกลัวเจ้านาย โรคกลัวการลงโทษ โรคกลัวความล้มเหลว โรคกลัวรู เป็นต้น โรคเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่ไม่น่ากลัวและคนทั่วไปไม่กลัวกัน อาการกลัวที่เจอบ่อยและอาจจะเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้น่าจะเป็น โรคกลัวรู

โรคกลัวรู (Try pophobia) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคเกี่ยวกับความกลัว (Specific phobia) มีอาการ คือ ความรู้สึกอึดอัด ขยะแขยง เกลียด ไม่สบายใจ และกลัวอย่างรุนแรงเมื่อพบเห็นพื้นผิวของวัตถุที่มีลักษณะเป็นรู หลุม ช่องกลม ๆ เช่น รังผึ้ง ฝักเมล็ดบัว ปะการัง ฟองน้ำ ฟองสบู่ ผิวหนังของสัตว์ เป็นต้น อาจสัมพันธ์กับประสบการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นในวัยเด็กมาก่อนอาการจะเกิดขึ้นอย่างทันทีเมื่อเห็นรูบนพื้นผิววัตถุต่าง ๆ ที่ตนเองกลัว ทำให้พยายามหลีกเลี่ยงโอกาสการเผชิญหน้ากับสิ่งนั้น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการ โรคกลัวรู pantip ขึ้นซ้ำอีก

อาการของโรคกลัวรู

1.รู้สึกกระวนกระวาย

2.มีอาการกรีดร้อง ร้องไห้ โวยวาย

3.มีอาการตกใจ แน่นิ่ง เสียขวัญ

4.ขนลุกเวลามอง ขยะแขยง

5.รู้สึกไม่สบายตา ไม่กล้ามอง กลัวที่จะมอง

6.คลื่นไส้

7.กล้ามเนื้อตึงตัว รู้สึกชาวูบขึ้นมาทั้งตัว

8.ใจสั่น หายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง

9.มือสั่น ปากสั่น เหงื่อออก

10.อาจมีอาการรู้สึกวิงเวียน และหมดสติได้

แม้อาการดังกล่าวจะถูกเรียกว่า โรคกลัวรู แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ความกลัวแต่เป็นความรู้สึกขยะแขยง กระอักกระอ่วน ไม่อยากเข้าใกล้ และไม่อยากมองมากกว่า เพราะรูเหล่านั้นไม่ได้เป็นอันตรายใด ๆ

สาเหตุของโรคกลัวรู

สาเหตุของการเกิด โรคกลัวรู ยังไม่เป็นที่แน่ชัดในปัจจุบัน แต่ปัจจัยต่อไปนี้อาจจะมีส่วนให้เกิดอาการกลัวได้

1.เผชิญหน้าหรือมีประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดีเกี่ยวกับวัตถุที่มีรู ติดค้างอยู่ในจิตใต้สำนึก

2.ความผิดปกติทางสมอง หรือการทำงานของสมองเปลี่ยนไป

3.เป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลทั่วไป  

4.พันธุกรรมและสภาพแวดล้อมในครอบครัว โรควิตกกังวลของพ่อแม่อาจส่งผลต่อลูกโดยตรง หรืออาจเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้

วิธีรับมือกับโรคกลัวรู

โรคกลัวรู เป็นโรคที่เกิดจากภายในจิตใจไม่ใช่มาจากทางกาย มีต้นเหตุมาจากความกลัวที่เกิดมาจากจิตใจ การรับมือกับโรคกลัวรู มีหลายวิธี ในเบื้องต้นควรดูแลตนเอง เพื่อคลายความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากโรคกลัวรูโดยปฏิบัติตามวิธีต่อไปนี้           

1.ฝึกผ่อนคลายร่างกายเมื่อตกอยู่ในอาการกลัว เช่น ควบคุมการหายใจ ขยับร่างกายช้า ๆอย่างเป็นจังหวะ

2.พยายามเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว ควบคู่กับการผ่อนคลายบรรเทาความกลัวลง

3.หากอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นปัญหารบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถมาพบจิตแพทย์เพื่อรับการบำบัดหรือหาแนวทางในการรักษาและควบคุมจัดการความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น 

4.ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและลดความเครียด เช่น หายใจเข้าออกลึก ๆ ฝึกสติหรือทำสมาธิ และเล่นโยคะ

5.ออกกำลังกายที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล

6.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีน

7.นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

8.ค่อย ๆ ฝึกเข้าใกล้สิ่งของหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกกลัวให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจให้รางวัลตนเองหากอาการดีขึ้นพื่อเป็นกำลังใจในการรักษา อาจจำลองสถานการณ์และแสดงวิธีรับมือเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่กลัว เพื่อให้เรียนรู้และควบคุมความกลัวได้

 9.เข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง พูดคุยและรับฟังความคิด ความรู้สึกกลัว หรือความวิตกกังวลต่าง เพื่อแบ่งปันประสบการณ์กับคนอื่น ๆ ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมให้เข้าใจสถานการณ์และอาการของโรคได้ดีขึ้น จนเกิดการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิผลที่ดี ๆ 

10.ปรับมุมมองที่มีต่อความกลัวแทนที่จะมองความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่อยากพูดถึง ลองปรับเป็นว่าความกลัวที่กำลังจะเผชิญอยู่นั้น เป็นเหมือนเส้นทางที่จะทำให้เติบโต ดังนั้นจงบอกตัวเองทุกครั้งที่รู็สึกกลัวว่า ฉันพร้อมจะเติบโตละนะ แล้วความกลัวนั้นจะเปลี่ยนเป็นพลังผลักดันในที่สุด

11.หยุดเปรียบเทียบ หยุดทำสิ่งต่าง ๆ เพียงเพื่อหวังให้ใครมาชื่นชมยอมรับ เพราะอันนี้แหละคือต้นตอของความกลัวทั้งหมด

12.ฝึกให้มองเห็นความกลัวของตัวเอง กลัวอะไร ให้แก้ที่ตรงนั้น เช่น ถ้ากลัวว่ายังทำไม่ได้ ให้ไปฝึก ถ้ากลัวถูกเหงา ให้ลองหาอะไรทำด้วยตัวเอง วิธีเหล่านี้จะช่วยให้คุณเห็นว่าแท้จริงแล้ว สิ่งที่คุณกลัวนั้น มีทางออกเสมอ

13.หากมีอาการซึมเศร้าจิตแพทย์อาจต้องใช้ยาร่วมด้วย ทั้งนี้การรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าร่วมกับการบำบัดทางจิตวิทยาให้ชนะความกลัวจะต้องทำควบคู่กันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของจิตแพทย์ว่าควรจะต้องทำอย่างไร

โรคกลัวรู เป็นโรคแปลก ๆ ที่มีอยู่จริง ซึ่งจะมีความรู้สึกอึดอัด ขนลุก ขยะแขยง และกระอักกระอ่วน ในทุก ๆ ครั้งที่มองเห็นวัตถุที่มีรูรวมกันเป็นกระจุก ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในวัยเด็กมีความทรงจำที่ไม่ดีเมื่อเห็นรูเยอะ ๆ รวมกัน และอาจสัมพันธ์กับความวิตกกังวัลของพ่อแม่ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของลูก ดังนั้น healthdoo การรับมืออาจจะการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายความวิตกกังวล ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ งดดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน และให้ลองฝึกเผชิญหน้ารับมือเพื่อเอาชนะความรู้สึกกลัว โดยปรึกษาแพทย์ โรคกลัวรู pantip อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้แนวทางปฏิบติที่ถูกต้อง