ตัดกระเพาะ วิธีทางการแพทย์ ที่ใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน
การตัดกระเพาะ หรือการผ่าตัดกระเพาะเป็นวิธีทางการแพทย์ ที่ใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน ที่ไม่ว่าจะใช้วิธีไหนเพื่อลดน้ำหนักก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทำให้กลับมาอ้วนอีก ซึ่งวิธีตัดกระเพาะสามารถทำให้กลับมีน้ำหนักปกติได้อีกครั้ง แต่ก็ไม่ใช่คนอ้วนทุกคนจะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดกระเพาะ ดูดไขมันได้ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาการผ่าตัด ซึ่งจะใช้ค่าดัชนีมวลกาย* (BMI) เป็นเกณฑ์
ปกติคนที่มี BMI มาตรฐานจะอยู่ที่ 18.5-24.9 กก./ตร.ม. ส่วนคนที่มี BMI มากกว่า 30 กก./ตร.ม. ขึ้นไปถือว่าเป็นคนอ้วน ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นโรคอ้วน
ส่วนคนที่เป็นโรคอ้วนขั้นรุนแรง มีค่า BMI อยู่ที่ 35 กก./ตร.ม. ขึ้นไป
หากคนที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 35 ขึ้นไป ไม่ว่าจะลดน้ำหนักด้วยวิธีไหนก็เอาไม่อยู่ สมควรเข้ารับการผ่าตัด เพราะส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือทานยาไม่ได้ผล ก็จะกลับมาอ้วนอีกบางคนถึงกับเป็นโยโย่เอฟเฟค และมีโรคอื่น ๆ ตามมา ทั้งไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิต และเบาหวาน ดังนั้นการตัดกระเพาะถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน
Table of Contents
ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก มีอยู่ 5 วิธี
1.การใส่บอลลูนในกระเพาะ
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Intragastric Balloon) แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการผ่าตัด เหมาะสำหรับ ผู้ที่อยากจะลดน้ำหนัก แต่ยังไม่อยากผ่าตัด ต้องทำการใส่บอลลูนในกระเพาะก่อน เพื่อให้ช่วยให้น้ำหนักลดลงเบื้องต้น หากภายใน 6-12 เดือนน้ำหนักลงสามารถเอาออกได้
2.การใส่ห่วงรัดกระเพาะ
การใส่ห่วงรัดกระเพาะ ใช้วิธีการส่องเครื่องมือ ผ่านแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง 3-4 แผลแพทย์จะใช้ห่วงไปคล้องเพื่อเข้าไปรัดส่วนบนของกระเพาะอาหารโดยไม่ได้ตัดอะไรออก ทำให้อาหารถูกกักไว้ รู้สึกอิ่มเร็ว ทานได้น้อยลง ทำให้น้ำหนักลดลง ซึ่งห่วงรัดทำจากซิลิโคนและวัสดุที่ทนการกัดกร่อนได้ จึงใส่ได้เป็นเวลานาน สามารถปรับระดับความแน่นของห่วงมากหรือน้อยได้ โดยเพิ่มหรือลดระดับน้ำเกลือผ่านท่อเล็ก เมื่อห่วงแน่นมากก็จะกินได้น้อย แต่ถ้าห่วงหลวมเกินไปก็จะทำให้น้ำหนักก็กลับมาอ้วนอีก ดังนั้นจึงต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
3.การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ (Gastric Sleeve)
วิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วนมาก ไม่ว่าจะลดน้ำหนักด้วยวิธีไหนก็ไม่สามารถทำให้น้ำหนักลงได้ ทั้งออกกำลังการ ควบคุมอาหาร หรือแม้แต่ใช้ยาช่วย ดังนั้นการผ่าตัดกระเพาะด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตัดเอากระเพาะออกไป ซึ่งจะเอาทิ้งราว ๆ 85% จะทำให้คุณรับประทานอาหารได้ลดน้อยลง ซึ่งวิธีนี้ช่วยทำให้ลดความอ้วนได้ถึง 40-60 % จากน้ำหนักเดิมด้านในปีแรกหลังผ่าตัด การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ท่านควรพิจารณาในการตัดสินใจให้รอบคอบ เพราะหากตัดออกแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ สำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้ยังเป็นการรักษาโรคที่เกิดจากภาวะน้ำหนักตัวมากอีกด้วย ไขมัน ความดัน และหยุดหายใจขณะนอนหลับ สามารถทำผ่าตัดได้ ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
4.การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Gastric Bypass – RYGB)
การผ่าตัดกระเพาะด้วยวิธีนี้ เป็นการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารร่วมกับทำทางเบี่ยงทางเดินอาหาร โดยไม่มีการตัดส่วนใดออกจากร่างกาย ถือเป็นการผ่าตัดรูปแบบมาตรฐานที่สุด และได้ผลดี ทำให้นอกจากลดปริมาณแคลอรีเข้าสู่ร่างกาย ปรับฮอร์โมน แล้วยังลดการดูดซึม เป็นการผ่าตัดที่มีขั้นตอนค่อนข้างมาก ทำให้ใช้เวลาในการผ่าตัดมากกว่า แต่ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ลดน้ำหนักได้ดีกว่า เหมาะกับการผ่าตัดสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อน เบาหวาน หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดแบบสลีฟได้
5.การเย็บกระเพาะ แบบ Overstitch
การเย็บกระเพาะ Overstitch ( Endoscopic sleeve gastroplasty by Overstitch ) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบใหม่โดยวิธีหัตถการ เป็นโดยอุปกรณ์การเย็บกระเพาะ (Overstitch) ซึ่งขณะที่คนไข้หลับ แพทย์จะสอดอุปกรณ์การเย็บกระเพาะ เข้าไปในปาก ทำให้ไม่มีแผลที่หน้าท้องเหมาะสำหรับคนไข้อ้วนที่ไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย การเย็บกระเพาะจะทำให้กระเพาะเล็กลง ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็ว เหมาะกับคนไข้ที่อ้วน มีดัชนีมวลกายมาก เกิน 27.5 ขึ้นไป วิธีนี้จะทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว ลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้ดี ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหยุดหายใจขณะหลับ ไขมันเกาะตับ ที่มีกับภาวะคนที่มีน้ำหนักตัวมากหรือโรคอ้วนเป็นต้น
ประโยชน์ของการผ่าตัด
การตัดกระเพาะจะช่วยให้กระเพาะอาหารเล็กลง ทำให้คนไข้รับประทานอาหารได้น้อยลง โดยที่รู้สึกอิ่มอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้สึกหิว ทำให้ช่วยจำกัดปริมาณอาหารที่เราทานเข้าไป ซึ่งจะส่งผลให้น้ำหนักตัวเราค่อย ๆ ลดลง เป็นการลดน้ำหนักที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ในการผ่าตัด แพทย์จำเป็นต้องทำการให้ยาสลบ ดังนั้นความเสี่ยงจึงมีเท่า ๆ กับการผ่าตัดกระเพาะ ผ่าตัดชนิดอื่น ๆ ส่วนภาวะ การแทรกซ้อนนั้นหากคนไข้ดูดไขมัน ที่เข้ารับการรักษาทำตามคำแนะนะของแพทย์อย่างเคร่งครัด การติดเชื้อหรือแทรกซ้อน ก็แทบจะไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ หากแจ้งประวัติการรักษาให้แพทย์ทราบ แพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าสมควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่ ดังนั้นทางคนไข้ต้องแจ้งข้อมูลจริงให้แพทย์ทราบ เพื่อความปลอดภัยของท่านและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะ
- ก่อนเข้ารับการผ่าตัด คนไข้จะต้องตรวจร่างกาย เพื่อให้ทางแพทย์ทำการประเมินว่ามีสุขภาพแข็งแรงเพียงพอที่จะเข้ารับการผ่าตัด
- ควรเข้ารับฟังคำแนะนำด้านโภชนาการจากทางคลินิกซึ่งจะเป็นผู้นัด ให้มาฟังคำแนะนำตามนัด
- เข้ารับการทดสอบสภาพจิตใจ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังการผ่าตัดหรือไม่
- ประเมินภาวะโรคสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคปอด ที่จะเสี่ยงต่อการผ่าตัดเพื่อให้ทีมแพทย์แน่ใจว่าจะสามารถ ควบคุมโรคต่าง ๆ ได้ในขณะผ่าตัด และเข้ารับการผ่าตัดได้
- หากคนไข้ที่สูบบุหรี่ควรงด ก่อนการผ่าตัด 2-3 สัปดาห์ รวมถึงหลังการผ่าตัดด้วย
- หากกำลังรับประทานยา อาหารเสริม หรือสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์
- งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืนตามแพทย์สั่ง
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดกระเพาะ
- ควรรับประทานอาหารตามวิธีที่แพทย์แนะนำ
- หากมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ปรึกษาแพทย์ทันที เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ มีไข้ หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
- ควบคุมอาหารตามที่นักโภชนาการกำหนด
- ออกกำลังเบา ๆ ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังการผ่าตัด และงดยกของหนัก 3 เดือน
- ต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด เพื่อตรวจเช็คร่างกาย หากมีอาการผิดปกติ สามารถสอบถามปรึกษาได้ตลอดเวลา เพื่อลดการติดเชื้อ