HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ล้างจมูก ทำความสะอาดโพรงจมูกโดยการใส่หรือหยอดน้ำ

ล้างจมูก ทำความสะอาดโพรงจมูกโดยการใส่หรือหยอดน้ำ

สุขภาพดีแข็งแรง ปราศจากโรคภัย นั่นต้องอยู่ที่การดูแลตนเองว่า ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ดูแลความสะอาดสะอ้าน(เสริมสร้างสุขอนามัยที่ดี) ลดปัจจัยเสริมที่จะสะสมเชื้อโรคของร่างกาย เพราะเมื่อร่างกายอ่อนแออาจจะส่งเสริมให้โรคเกิดความรุนแรงขึ้นได้ โรคที่พบบ่อยที่สุดหนีไม่พ้น ก็คือ โรคภูมิแพ้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของไซนัสอักเสบ

อาการอักเสบของไซนัสมักเริ่มจากอาการของโรคหวัดหรือภูมิแพ้ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดบริเวณโพรงอากาศที่อักเสบ โดยมีอาการตลอดเวลาแม้จะทานยาแล้วก็ตาม มีน้ำมูกและเสมหะสีเหลืองหรือเขียว บางครั้งน้ำมูกไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว มีกลิ่นเหม็นในจมูก มีไข้ หรือไข้สูงจนหนาวสั่น ไอเรื้องรัง และมีเสมหะ อาการปวดไซนัสจะเป็นมากขึ้นเวลาเช้าหลังตื่นนอน เพราระขณะนอนหลับจะเกิดการคั่งค้างของหนองภายในโพรงไซนัส และมีการคั่งของหลอดเลือด ทำให้การถ่ายเทอากาศในโพรงไซนัสไม่ดีจนเกิดการสะสมของของเหลวจำนวนมาก วิธีดูแลรักษาที่ดีที่สุด คือ การล้างจมูก ล้างจมูก ภูมิแพ้ เพื่อเอาสิ่งสกปรกออกจากโพรงจมูก

การ ล้างจมูก (Nasal Irrigation) คือ การทำความสะอาดโพรงจมูกโดยการใส่หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูก ช่วยชะล้างน้ำมูก คราบมูก หรือหนองบริเวณโพรงจมูก และหลังโพรงจมูกออก ช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก และทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต ช่วยลดการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงจมูก และชะล้างสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ 

ประโยชน์ของการล้างจมูก

1.ช่วยล้างมูกเหนียวข้นที่ไม่สามารถระบายออกได้เอง ทำให้โพรงจมูกสะอาด

2.อาการหวัดเรื้อรังดีขึ้น บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ทำให้หายใจโล่งขึ้น บรรเทาอาการระคายเคืองในจมูก

3.ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด ช่วยลดจำนวนเชื้อโรค ของเสีย สารก่อภูมิแพ้ผลโดยรวมจะทำให้จมูกโล่งขึ้นและบรรเทาอาการคัดจมูกและน้ำมูกไหล

4.ให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก

5.การ ล้างจมูก ก่อนใช้ยาพ่นจมูกจะช่วยให้ยาสัมผัสกับเยื่อบุจมูกได้มากขึ้นส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น

6.ชะล้างคราบสะเก็ดแผลและคราบสกปรกจากการผ่าตัดหรือฉายแสงบริเวณโพรงจมูกหรือไซนัสออกมา

การเตรียมอุปกรณ์ล้างจมูก

การล้างจมูกจะล้าง เมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมากและก่อนใช้ยาพ่นจมูก ก่อนล้างจึงควรตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ดังนี้

1.น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา (น้ำเกลือที่ใช้เหลือให้เททิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม)

2.ถ้วยสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ

3.กระบอกฉีดยาพลาสติก (Syringe) ขนาด 5-50 มิลลิลิตร ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของผู้ป่วย

4.ภาชนะรองน้ำจมูกและเสมหะ

5.กระดาษทิชชู

วิธีล้างจมูก

1.ล้างมือให้สะอาด

2.อุ่นน้ำเกลือก่อน ล้างจมูก เสมอ

3.เตรียมภาชนะที่จะมารองรับน้ำที่จะไหลออกมาจากทางจมูกหรือปาก อาจจะไปล้างที่บริเวณอ่างล้างหน้าในห้องน้ำ

4.เทน้ำเกลือใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม

5.เริ่มจากก้มหน้าเล็กน้อย หรืออยู่ในท่าศีรษะตรง สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง

6.วางปลายกระบอกฉีดยาชิดรูจมูกด้านบน หายใจทางปากหรือกลั้นหายใจ 

7.ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูก จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกทางปาก หรือไหลย้อนออกมาทางจมูกอีกข้าง 

8.สั่งน้ำมูกพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) บ้วนน้ำเกลือ และน้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอทิ้ง บ้วนเสมหะในคอออก ทำซ้ำหลายๆ ครั้งในแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูกออกมา 

9.หากยังไม่เคยล้างจมูกมาก่อน ให้เริ่มใช้น้ำเกลือจากปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น

10.ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ล้างด้วยน้ำประปาจนหมดน้ำสบู่ ผึ่งให้แห้ง

11.แนะนำให้ทำการ ล้างจมูก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งช่วงตื่นนอนตอนเช้า และก่อนเข้านอน หรือเมื่อรู้สึกว่ามีน้ำมูกมาก แน่นจมูก หรือก่อนใช้ยาพ่นจมูก แนะนำให้ทำในช่วงท้องว่าง เพราะจะได้ไม่เกิดอาการอาเจียน

12.ล้างก่อนใช้ยาพ่นจมูก หรือตามคำแนะนำของแพทย์

ข้อควรระวัง

1.ห้ามใช้ “น้ำเปล่า” ล้างโพรงจมูก เนื่องจากน้ำเปล่า ไม่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย หากใช้น้ำเปล่าจะทำให้เกิดอาการสำลัก และแสบในโพรงจมูก รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้

2.น้ำเกลือและอุปกรณ์ที่ใช้ ล้างจมูก ต้องสะอาด การเปิดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องนานจนกว่าจะหมดจะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ได้  

3.การสั่งน้ำมูกให้สั่งเบาๆ และไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้

4.การ ล้างจมูก สามารถทำได้วันละ 2 ครั้งช่วงเช้าหลังตื่นนอนและก่อนนอน แต่หากช่วงที่เป็นหวัด คัดจมูกและมีน้ำมูกเหนียวข้นก็สามารถล้างได้บ่อยขึ้น

5.ควร ล้างจมูก ก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมงเพื่อเลี่ยงอาการอาเจียนหรือสำลักที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้

6.ควรเริ่ม ล้างจมูก จากข้างที่คัดจมูกน้อยกว่า และไม่จำเป็นต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจจะทำให้แก้วหูทะลุได้ 7.ไม่ควรฉีดน้ำเกลือแรง การฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกแรงๆ อาจทำให้โพรงจมูกเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบได้

7.การ ล้างจมูก ควรใช้เฉพาะในเวลาที่มีน้ำมูกเหนียวข้นเท่านั้น ซึ่งน้ำมูกใส สามารถสั่งออกเอง

คนที่เหมาะกับการล้างจมูก

1.ไซนัสอักเสบ จำเป็นต้อง ล้างจมูก เพื่อระบายน้ำมูก ที่ค้างอยู่ในโพรงจมูกและไซนัส

2.ภูมิแพ้และผู้ป่วยทั่วไปอาจล้างเมื่อมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก น้ำมูกไหลลงคอ หรือจาม

3.ผู้ที่รูจมูกอุดตัน หากมีรูจมูกอุดตันด้านใดด้านหนึ่งตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการล้างจมูก

การ ล้างจมูก ถ้าทำได้ถูกต้องและในเวลาที่เหมาะสมไม่น่าจะมีอันตราย เช่น การสำลัก การนำเชื้อเข้าไปในโพรงไซนัส ปัญหาการสำลักจะไม่เกิดขึ้น ถ้าได้เรียนรู้วิธีการ ล้างจมูก ที่ถูกต้อง และควร ล้างจมูก ก่อนเวลารับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป healthdoo.today เพื่อป้องกันการอาเจียนหรือสำลัก การ ล้างจมูก ทำให้โพรงจมูกสะอาด ชุ่มชื้น ล้างจมูก ภูมิแพ้ ช่วยลดอาการน้ำมูกไหลลงคอ บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น 

บทความที่เกี่ยวข้อง