โรคชิคุนกุนยาคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน
Table of Contents
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูล Togaviridae ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 1 – 12 วัน
และจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 3 – 7 วัน หลังจากได้รับเชื้อชิคุนกุนยา หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ “โรคไข้ปวดข้อยุงลาย” ซึ่งระหว่างนี้หากผู้ได้รับเชื้อถูกยุงกัด ยุงก็จะเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
คำว่า “ชิคุนกุนยา” มาจากภาษาถิ่นของแอฟริกา ซึ่งหมายถึงอาการบิดเบี้ยวที่เกิดกับข้อ เพราะ เมื่อเกิดโรคแล้วจะทำให้มีอาการข้อบวม และ อักเสบจนเกิดการผิดรูป โรคไข้ปวดข้อยุงลายสามารถพบได้ทุกทวีป แต่พบได้บ่อยในทวีปเอเชีย
พบมากสุดในประเทศอินเดีย ส่วนในประเทศไทยนั้นพบชิคุนกุนยาเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพ และปัจจุบันนี้พบโรคนี้ได้ทุกภาค และ เกิดการระบาดอยู่หลายครั้งจนปี พ.ศ. 2551 – 2552 เกิดการระบาดในภาคใต้ และ พบโรคนี้ได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย
สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา
ชิคุนกุนยาเกิดจาก การที่ถูกยุงลายตัวเมียที่มีเชื้อไวรัสกัด โดยเป็นยุงชนิดเดียวกับกับยุงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก และ โรคไข้ซิกา ชิคุนกุนยา เป็นโรคที่แพร่กระจายได้ง่าย
การติดต่อของชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
ชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อ และ สามารถเกิดการระบาดได้เสมอ โดยมีวงจรของโรคที่เรียกว่า “คน – ยุง – คน ซึ่งหมายถึงยุงลายจะเกิด และ ดูดเลือดคนที่มีไข้ หรือ เป็นโรค และ ในช่วงนี้เองที่เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ยุง
และ แบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำลายของยุง หลังจากนั้น เมื่อยุงไปกัดคน ไวรัสจากยุงจะเข้าสู่กระแสเลือด จึงเกิดการติดโรค วนเวียนเป็นวงจรการติดต่อ และ การระบาด
ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็นยุงที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวน ซึ่งเป็นยุงที่ออกหากินในตอนกลางวัน มีลายขาวดำตามลำตัว และ ขา และ มักวางไข่ในน้ำสะอาด เช่น อ่างเก็บน้ำ ภาชนะที่มีน้ำขัง จากนั้นภายใน 7 – 10 วัน ไข่ก็จะกลายเป็นยุง
อาการของโรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
1. มีไข้สูง แต่ในบางรายก็อาจมีไข้ต่ำ และ ไข้สูงที่ว่านี้บางรายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
2. มีอาการปวดหัว ปวดตา รวมไปถึงมีอาการอ่อนเพลีย
3. มีผื่นแดงขึ้นคล้ายกับโรคไข้เลือดออก ที่บริเวณลำตัว และ บางรายก็อาจพบได้ที่แขน และ ขาด้วย
4. มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และ ปวดบริเวณข้อ เป็นอย่างมาก โดยจะค่อย ๆ ปวดเพิ่มไปทีละข้อ
ปกติแล้วจะมีไข้ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลงทันที แต่อาการอื่น ๆ ยังคงอยู่อีกประมาณ 5 – 7 วัน ซึ่งได้แก่อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ
การวินิจฉัยชิคุนกุนยา
โดยเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติว่าผู้ป่วยได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรค หรือ อยู่ในพื้นที่ที่มียุงจำนวนมาก หรือไม่ โดยที่แพทย์จะต้องแยกความแตกต่างของการติดเชื้อจากโรคที่โดนยุงกัน
เช่น โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้มาลาเรีย และ สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด แต่ผลตรวจต้องใช้เวลา ซึ่งทางเลือกของการตรวจโรคจะมีดังนี้
– การตรวจเลือด โดยที่การตรวจเลือดจะหาแอนติบอดี้ของชิคุนกุนยา
– การเพาะเชื้อจุลินทรีย์เพื่อแยกไวรัสออกจากเลือด สามารถทำได้ช่วงวันแรก ๆ ของการติเชื้อ แต่จะทราบผลภายใน 1 – 2 สัปดาห์
– ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส แบบย้อนกลับ (RT-PCR) RT – PCR ใช้เพื่อตรวจยีนส์ชิคุนกุนยาในเลือด ซึ่งการตรวจสามารถทำได้ภายใน 8 วันแรกของการติดเชื้อ และ จะทราบผลภายในเวลา 1 – 2 วัน
การรักษาโรคชิคุนกุนยา
ปัจจุบันนี้ในทางการแพทย์ ยังไม่มียาที่จะฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ ดังนั้นแนวทางในการรักษาจึงต้องเป็นไปตามอาการ ซึ่งแพทย์อาจสั่งยาลดไข้ ยาแก้ปวด และแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ ยาที่แพทย์สั่ง
เช่น พาราเซตามอล ยานาพรอกเซน แต่ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน และ ยาไอบรูโรเฟน จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่ได้เป็นไข้เลือดออก เพื่อห้องกันภาวะเลือดออกผิดปกติ
ภาวะแทรกซ้อนของชิคุนกุนยา
ผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออก มีแผลตุ่มน้ำที่ผิวหนัง และ ในหลายเดือนต่อมาผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เช่น ปวดข้อ ข้ออักเสบ และ ภาวะรุนแรง ที่อาจพบในผู้ป่วยบางราย
ซึ่งพบได้น้อย เช่น จอตาอักเสบ ม่านตาอักเสบ ตับอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไตอักเสบ สมองและไขสันหลังอักเสบ เส้นประสาทสมองเป็นอัมพาต
ดูแลตัวเองอย่างไร หากเกิดชิคุนกุนยา
ให้รีบเดินทางไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่องภายใน 1 – 3 วัน หากมีไข้สูงร่วมกับเกิดผื่นแดงที่ผิวหนัง เพื่อที่แพทย์จะได้แยกอาการระหว่างชิคุนกุนยา และ โรคไข้เลือดออก ซึ่งในระหว่างนี้ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดในกลุ่มเอนเสดส์
การป้องกันโรค ชิคุนกุนยา
1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยการคว่ำภาชนะทุกชนิดที่น้ำสามารถขังได้ ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน หรือ นอกบ้าน และ บริเวณใกล้บ้าน หมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือ กระถางทุกวัน เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย
พยายามจัดส่วน หรือ ปลูกต้นไม้ให้โปร่งแสงแดด เข้าถึง ส่วนภาชนะที่เอาไว้กักเก็บน้ำบริโภคต้องมีฝาปิดที่มิดชิด เพื่อที่จะป้องกันยุงมาวางไข่ ซึ่งช่วยที่ยุงวางไข่ คือ ช่วงที่เข้าสู่หน้าฝนไปจนถึงหลังฤดูฝน
2. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยกางมุ้งให้กับเด็ก ๆ ถึงแม้จะเป็นเวลากลางวันก็ตาม ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทายากันยุง ใช้ยาไล่ยุง
3. อยู่ในห้องที่มีประตูและหน้าต่างมุ้งลวด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/1670233
2. https://www.sanook.com/health/14129/
3. https://www.pobpad.com/โรคชิคุนกุนยา
4. https://www.honestdocs.co/chikungunya/chikungunya-symptom