HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคหิดคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคหิดคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคหิด (Scabies)

โรคหิด เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจาก “ตัวหิด” (Scabies mite) ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องประเภทไรชนิดที่เป็นปรสิต (Parasite) ซึ่งตัวหิดนี้จะดำรงชีวิตอยู่บนผิวหนังของคน และ กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร และตัวหิดนี้จะเป็นตัวก่อโรค

โรคหิด (Scabies)
CR. https://www.mydr.com.au/skin-hair/scabies

โดยที่ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ คัน และ มีผื่นตามผิวหนัง และ โรคนี้สามารถติดต่อได้ด้วยการสัมผัสผิวหนังของผู้ที่เป็นหิด โดยจะรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์

ปัจจัยสำคัญของการระบายของโรคนี้คือ

ความสกปรกและการต้องอาศัยอยู่ในที่แออัด อาจพบการระบาดได้ตามวัด โรงเรียน หรือ โรงงาน และ ส่วนใหญ่พบโรคนี้ในประเทศด้อยพัฒนา หรือ กำลังพัฒนา

สาเหตุของโรคหิด

เกิดจากตัวหิดที่เป็นสัตว์ขาปล้องประเภทไรชนิดหนึ่งที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ชาริคอบ ติส สเคบิอาย (Sarcopies scabiei) และ จัดเป็นปรสิต โดยที่ดำรงชีวิตอยู่บนผิวหนังของคน และกินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร สามารถติดต่อได้ง่าย โดยการสัมผัส หรือ ใช้สิ่งของร่วมกัน ในบางรายอาจติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์

 

โรคหิดมีอยู่ 2 ประเภท

1. โรคหิดนอร์เวย์

ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือ ได้รับยากดภูมิต้านทาน ผู้ขาดสารอาหาร ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยอัมพาต สมองพิการ ผู้ที่เป็นโรคทางระบบประสาท และ สมอง การสัมผัสผิวหนังในทุกรูปแบบ

โรคหิดนอร์เวย์
CR. https://dermnetnz.org/topics/crusted-scabies/

2. โรคหิดต้นแบบ

การติดหิดประเภทนี้เกิดจากการอยู่ใกล้ชิด และ มีการสัมผัสผิวหนังกับผู้ป่วยที่เป็นหิดเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดหิดประเภทนี้ได้แก่ เด็ก คนยากจน ในเรือนจำ ค่ายกักกัน การมีเพศสัมพันธ์ ก็ทำให้ติดโรคหิดประเภทนี้ การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน ก็มีโอกาสทำให้ติดหิดประเภทนี้ได้

โรคหิดต้นแบบ
CR. https://factdr.com/health-conditions/scabies/

 

อาการของโรคหิด

หลังจากที่ได้รับหิดมาแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งอาจจะเร็ว หรือ ช้ากว่านี้ ตั้งแต่ 2 – 6 สัปดาห์ ก็จะเริ่มแสดงอาการคันที่เกิดจากหิด โดยเกิดจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไวต่อตัวหิด ซึ่งเรียกปฏิกิริยานี้ว่า Delayed type iv hypersensitivity

โดยที่ร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวออกมา และ จะมีการหลั่งสารเคมีต่าง ๆ เพื่อพยายามกำจัดหิด แต่สารเคมีเหล่านี้กลับทำให้เกิดอาการ และ สำหรับผู้ที่ติดหิดซ้ำในครั้งหลัง ๆ จะทำให้เกิดอาการคันเร็วขึ้นที่เป็นเช่นนี้ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้มีการจดจำปฏิกิริยาที่มีต่อตัวหิดไว้แล้ว

– โรคหิดต้นแบบ (Classic scabies) เกิดจากหิดตัวเมียที่ไซลงไปอาศัยอยู่ในชั้นหนังกำพร้า จะพบลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง มีตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือ ผื่นที่เกิดจากการเกา (คัน) บางรายอาจพบผื่นที่มีลักษณะเป็นรอยนูนคนเคี้ยวไปมาคล้ายเส้นด้ายยาวประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร ลักษณะของผื่นจะพบขึ้นกระจายไปทั่ว

โรคหิดต้นแบบ
CR. https://factdr.com/health-conditions/scabies/

โดยเฉพาะตามบริเวณที่ร่างกายอบอุ่น เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า หัวหน่าว อวัยวะเพศชาย ลูกอัณฑะ ขาหนีบ แต่จะไม่พบหิดที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ศีรษะ และ ลำคอ เพราะชั้นผิวหนังบริเวณนี้จะหนา และ มีไขมันมาก ลักษณะที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการคันมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืนจะคันมากเป็นพิเศษ

ในคนปกติจะมีหิดอาศัยอยู่ประมาณ 5 – 15 ตัว โดยที่ในบางครั้งอาจทำให้มองเห็นตัวหิดเป็นจุด
กลม ๆ ขาว ๆ ได้

ในผู้ป่วยบางรายจะมีตุ่มนูนแดงขนาดใหญ่มากกว่า 0.5 เซนติเมตร ปรากฏตรงผิวหนัง ตำแหน่งอื่นที่ไม่มีตัวหิดอยู่ ซึ่งอาจจะมี 2 – 3 ตุ่ม หรือ หลาย ๆ ตุ่ม ขึ้นที่ผิวหนัง โดยเฉพาะรักแร้ และ ขาหน

 

– โรคหิดนอร์เวย์ (Norwegian scabies Crusted scabies) หิดชนิดนี้มักเกิดในคนที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันโรค ระบบประสาท และ สมอง ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้จะสูญเสียความรู้สึกทางผิวหนัง จึงไม่แสดงอาการคันให้เห็น ไม่มีรอยเกา ไม่มีตุ่มนูนแดง หรือ ตุ่มน้ำใสบนผิวหนัง

โรคหิดนอร์เวย์
CR. https://dermnetnz.org/topics/crusted-scabies/

จนเวลาผ่านไปนานเข้า เมื่อไม่ได้รับการรักษา หิดก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยอาจมีปริมาณมากถึง 2 ล้านตัว ใน 1 คน จึงทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความหนา โดยจะเห็นได้ชัดบริเวณข้อศอก ข้อเข่า ฝ่ามือ และ ฝ่าเท้า

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหิด

-ผู้ที่เป็นหิดนาน ๆ ผิวหนัง และ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อนตามมา จนกลายเป็นผิวหนัง เนื้อเยื่ออักเสบ เกิดฝีหนองได้

-โรคที่แบคทีเรียมีโอกาสทำให้เกิดได้ เช่น โรคกรวยไตอักเสบ โรคปอดอักเสบ และ การติดเชื้อในกระแสเลือด หากได้รับการรักษาล่าช้า จะมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้

-ในเด็กอาจมีอาการคัน จนพักผ่อนไม่เพียงพอ กินไม่ได้ และ น้ำหนักตัวลดลง

 

การวินิจฉัยโรค

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหิดต้นแบบ แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากอาการคัน และ การตรวจร่างกายที่พบโพรงของหิด ผื่นที่เป็นตุ่มนูนแดง หรือ ตุ่มน้ำใส เป็นสำคัญ ส่วนผู้ป่วยที่เป้นโรคหิดนอร์เวย์ แพทย์จะตรวจร่างกายที่พบโพรงของหิด

และ ตรวจจากลักษณะของผิวหนัง ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการคัน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และ รับการรักษาที่ถูกต้อง โยแพทย์จะวินิจฉัยด้วยการซักประวัติ อาการ และ ดูรอยของโรคเป็นสำคัญ และ อาจจะมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรค
CR. https://www.mamamia.com.au/what-is-scabies/

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยในผู้ป่วยได้ทั้ง 2 แบบ ด้วยการหยดน้ำมันพืชลงบนโพรงของหิด แล้วใช้ใบมีดสะอาดขูดผิวหนังบริเวณนั้น แล้วนำผิวหนังที่ขูดได้ไปวางบนแผ่นสไลด์ โดยไม่ต้องหยดน้ำยาใด ๆ และ ตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

ซึ่งจะพบตัวหิด หรือไข่หิด ในกรณีที่หาโพรงหิดไม่เจอ อาจใช้ยาทาชื่อ เตตราไซคลีน (Tetracycline) ทาบนผิวหนังบริเวณที่สงสัย แล้วนำไปส่องตรวจด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงคลื่นความยาวสูง ก็จะทำให้เห็นโพรงที่เกิดจากหิดได้ง่ายขึ้น

 

การรักษาโรคหิด

โรคหิดต้องรักษาผู้ที่เป็นหิด และ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดทุกคน โดยการรักษาจะแบ่งเป็นการฆ่าตัวหิด การบรรเทาอาการคัน และ การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

-การฆ่าตัวหิด

การรักษาจะเป็นการใช้ยาในรูปแบบทา ซึ่งเป็นการรักษาโรคหิดชนิดต้นแบบซึ่งจะมีอยู่หลายชนิด เช่น Benzyl benzoate 25% Permethrin cream 5% Lindane Lotion 1% โดยจะต้องนำมาทาให้ทั่วตัว โดยที่ยาส่วนใหญ่จะต้องทาทิ้งไว้ประมาณ 8 –  24 ชั่วโมง แล้วจึงล้างออก แล้วทาซ้ำอีกครั้งภายใน 7 – 10 วัน

การฆ่าตัวหิด
CR. https://dermnetnz.org/topics/scabies/

ข้อควรระวัง ยาบางชนิดมีฤทธิ์ระคายเครืองต่อผิวหนัง ดังนั้นการเลือกใช้ยาจึงควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

-การบรรเทาอาการคัน

เมื่อได้รับการรักษาด้วยยาทาไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ก็อาจจะมีอาการคันหลงเหลืออยู่อีกประมาณ
2 – 4  สัปดาห์ ซึ่งแพทย์อาจให้ยาสเตียรอยด์ อ่อน ๆ มาทาวันละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการคัน

-การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยจะใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจจะเป็นยาทา ยากิน หรือ ยาฉีด

 

วิธีป้องกันโรคหิด

1. อย่าสัมผัส หรือนอนบนเตียงเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นโรคหิด หากต้องสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีอาการคัน ในกรณีของผู้ดูแล ควรสวมถุงมือทุกครั้ง

2. อย่าใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้ป่วย

3. เนื่องจากตัวหิดจะมีชีวิตอยู่ภายนอกตัวคนได้ไม่เกิน 3 วัน ดังนั้น ช่วงที่ทำการรักษา ควรนำเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอนไปซักทำความสะอาด

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคหิด

1. ตัวหิดไม่สามารถกระโดดได้ ซึ่งจะต่างจากตัวหมัด

2. หิดที่อยู่ในร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้นาน 1 – 2 เดือน แต่หากอยู่ภายนอกร่างกายคนจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2 – 3 วัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก…
https://medthai.com/โรคหิด/