HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

ร้อนใน อาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุในการเกิด

อากาศเปลี่ยนแปลง มลพิษที่เพิ่มขึ้น ภาวะเศรษฐกิจ วิถีการดำเนินชีวิต การใช้ชีวิตที่เร่งรีบและเคร่งเครียด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมให้สุขภาพทรุดโทรม อ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่าย อย่างเช่น ร้อนใน ซึ่งพบได้บ่อยมาก พบได้ในทุกเพศทุกวัย และร้อนใน เป็นไข้ ในบางคนเป็นบ่อยมาก ๆ 

อาการ ร้อนใน เป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน หรือเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย การแพ้อาหาร หรือการขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 วิตามินซี ธาตุเหล็ก ความเครียด พักผ่อนน้อย หรือเกิดจากการกินของร้อนเกินไป หรือเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น เผลอกัดกระพุ้งแก้มระหว่างเคี้ยวอาการ โทรศัพท์มือถือหล่นใส่ปาก แก้วน้ำกระแทก ซึ่งสามารถหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่ระหว่างนั้นหากเกิดร้อนใน เป็นไข้ ภาวะลุกลามหรืออาการไม่ดีขึ้นให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

อาการของร้อนใน

อาการโดยทั่วไปของภาวะนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน คือ 

1.แผลขนาดเล็กและตื้น บริเวณที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากหรือเหงือก มีสีเหลืองหรือขาวขอบแผลเป็นสีแดง

2.บวมแดง 

3.เจ็บตามจุดต่าง ๆ ในช่องปาก เช่น ที่ริมฝีปากด้านใน ลิ้น แก้มด้านใน

4.มีไข้ หรือรู้สึกไม่สบาย

5.ต่อมน้ำเหลืองบวม 

ชนิดของแผลร้อนใน

1.แผลร้อนในขนาดเล็ก (Minor Mouth Ulcer) ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดสีขาวด้านใน ขนาดประมาณ 5 มม. ไม่เกิน 1 ซม. สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน เป็นร้อนในชนิดที่พบได้บ่อย

2.แผลร้อนในขนาดใหญ่ (Major Mouth Ulcer) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 มม. แผลมีความลึกและเจ็บได้มากกว่า ใช้เวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์จึงจะหายไป อาจเกิดรอยแผลเป็นได้ด้วย

3.แผลร้อนในชนิดคล้ายเริม (Herpetiform Ulcer) จะมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นพร้อมกันประมาณ 10 จุดขึ้นไป สามารถหายได้ใน 2-3 สัปดาห์

ภาวะแทรกซ้อน

แต่ก็ใช่ว่าภาวะร้อนในจะไม่มีอันตราย เนื่องจากยังมีอาการที่ควรเฝ้าระวัง และเมื่อหากเกิดขึ้นควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ได้แก่

1.แผลที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากกว่าจุดเดียว และเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้ว่าแผลเก่าจะยังไม่หาย หรือไม่มีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

2.แผลที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าปกติ หรือลุกลามและเกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณข้างเคียง เช่น แผลที่ลุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก

3.มีอาการไข้สูงร่วมด้วยขณะมีแผลร้อนใน

4.แผลที่ไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง

5.รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มได้ลำบากมาก

6.เกิดความเจ็บในการพูด แปรงฟัน

7.เกิดความอ่อนเพลีย

การรักษาร้อนใน

 หากเป็นแผลร้อนในโดยทั่วไปจะสามารถหายได้เองในระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์

1.การดูแลสุขภาพของช่องปากอยู่เสมอ ๆ ดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากด้วยการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร การแปรงฟันให้ใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่มและแปรงฟันอย่างระมัดระวัง

2.การใช้ย้ำยาบ้วนปากอ่อน ๆ เพื่อไม่ให้เพิ่มการระคายเคืองในช่องปาก แต่ยังช่วยในการต่อต้านแบคทีเรีย เพื่อลดอาการอักเสบ

3.ใช้น้ำผสมเกลือเพื่อกลั้วปากเช้า-เย็น ดื่มน้ำมากๆ ระหว่างวัน

4.การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ หมั่นทานผักและผลไม้เพื่อเพิ่มวิตามินที่จำเป็นให้แก่ร่างกาย

5.หลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้เกิดความระคายเคืองในปาก เช่น ถั่วทอด มันฝรั่งทอด

6.หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น สับปะรดหรือส้ม

7.ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ ลดการระคายเคืองในช่องปาก 

8.เมื่อเป็นแผลร้อนในสามารถดื่มน้ำเย็น ๆ ได้แต่ไม่ควรดื่มน้ำหวาน น้ำเย็นสามารถบรรเทาอาการเจ็บแสบจากการการอักเสบได้

9.ไม่ใช้ฟันปลอมที่ขนาดไม่พอดีเพื่อลดการเสียดสีจนทำให้เกิดแผล ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขฟันปลอมให้พอดีกับช่องปาก

10.ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและสร้างภูมิคุ้นกันให้กับร่างกาย

11.รับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและวิตามินที่ครบถ้วน

12.ใช้ยาป้ายแผลชนิดสเตรียรอยด์ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone) ช่วยลดอาการอักเสบในช่องปาก ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

13.ใช้แผ่นแปะแก้ร้อนใน ช่วยให้แผลการสัมผัสน้ำลาย ฟัน หรืออาหารน้อยลง และมีตัวยาที่ช่วยรักษาแผล

14.พยายามฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังอย่างพอเหมาะ และลดความเครียด

โดยส่วนใหญ่ แผลร้อนในจะสามารถหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์ healthdoo.today โดยที่ไม่ต้องรักษา แต่ก็มีวิธีต่าง ๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการของแผลร้อนในได้ เช่น การรักษาสุขอนามัยในช่องปาก อาทิ กลั้วปากด้วยน้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน แปรงฟันโดยใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด แต่หากพบว่าแผลร้อนใน มีขนาดใหญ่กว่าปกติหรือมีความเจ็บปวดมากกว่าปกติ และไม่มีทีท่าว่าจะหายไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาร้อนใน เป็นไข้ ซี่งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาบ้วนปากต้านแบคทีเรีย หรือยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาเดกซาเมทาโซน หรือยาลิโดเคน เพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวด นอกจากนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น ยาไตรแอมซิโนโลน เป็นต้น