HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคคุดทะราดคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคคุดทะราด

โรคคุดทะราด

โรคคุดทะราด (โรค Yaws หรือ Frambesia)  คือโรคผิวหนังเรื้อรัง มักจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งแม้จะรักษาให้หายได้แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ทำให้ผู้ไข้มีอาการเป็นแผลหรือเป็นตุ่มนูนแดงคล้ายดอกกะหล่ำปลี

โรคคุดทะราด
CR. http://www9.who.int/features/factfiles/yaws/en/

หรือคล้ายหูด และต่อมากลาย เป็นแผลเกิดขึ้นตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ลุกลามไปถึงกระดูก ทำให้กระดูกกุด สั้น ผู้ป่วยที่เป็นหนัก ๆ จะรู้สึกเจ็บปวดมาก บางคนเดินไม่ได้ ต้องรีบรักษา

ก่อนที่เจ้าโรคนี้จะทำลายผิวหนังและกระดูกจนพิการ โรคนี้พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง แต่ปัจจุบันประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถควบคุมโรคนี้ได้แล้ว

 

โรคคุดทะราด สาเหตุ

คือเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา เพอร์นู (Treponema pertenue) และพวกสไปโรซิส เชื้อโรคเหล่านี้แพร่กระจายได้ง่ายด้วยการสัมผัส และเชื้อมักจะเข้าสู่ร่างกายทางแผลบริเวณผิวหนังหรือ อยู่ที่เยื่อบุช่องปากและจมูก

เป็นเชื้อแบคทีเรียพวกที่มีรูปร่างเป็นเกลียวสว่าน แหล่งของโรค ได้แก่มนุษย์หรือผู้ป่วย แมลงวันสามารถเป็นพาหะของโรคได้ โรคคุดทะราดเป็นโรคติดต่อชนิดเรื้อรัง สามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทาง อ้อม โดยผู้ป่วยเป็นผู้แพร่เชื้อ ระยะฟักตัวของโรค จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

การติดต่อทางตรง โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเช่นสัมผัสกับน้ำเหลือง น้ำหนองจาก บาดแผล ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อร่างกายของผู้สัมผัสมีบาดแผล

การติดต่อทางอ้อม โดยการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรืออาจ ติดต่อโดยแมลงวัน ซึ่งตอมบาดแผลของผู้ป่วยแล้วเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนปกติ ซึ่งมีบาดแผลเปิด

ระยะติดต่อ

โรคนี้มีระยะการติดต่อไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น บาดแผลที่มีน้ำเลือดน้ำหนองอยู่ ซึ่งการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยที่มีบาดแผลเป็นๆหายๆอาจกินเวลา นานเป็นปีหรือหลายปี

ความไวต่อโรคและความต้านทาน ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้เชื่อว่าน่าจะมีความ ต้านทานตามธรรมชาติ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันและมีข้อมูลแน่นอน ผู้ที่ได้รับเชื้อมีโอกาสเป็น โรคนี้ได้ทุกคน

 

กลุ่มเสี่ยง

เด็กและผู้สูงอายุหรือผู้ที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย

พฤติกรรมเสี่ยง

สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเช่นสัมผัสกับน้ำเหลือง น้ำหนองจาก บาดแผล

โรคคุดทะราด อาการ
CR. https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(12)62130-8/fulltext

โรคคุดทะราด อาการ

หลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลแล้วประมาณ 3-6 สัปดาห์ จะเกิดโรคระยะแรกคือ บนผิวหนังจะเริ่มเป็นแผลแบบรอยย่นปูดเป็นตุ่มนูนคล้ายหูดที่ผิวหนัง ตุ่มนี้เรียกว่า ตุ่มแม่ (mother yaw) ส่วนใหญ่เกิดบริเวณของใบหน้าและขา

รอยโรคเป็นได้นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน มักไม่มีอาการเจ็บนอกจากมีการติดต่อมาอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ตุ่มนี้จะค่อย ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นการกระจายของตุ่มนูนแดง หรือเป็นแผล หรือโตคล้ายดอกกะหล่ำปลี ต่อมน้ำเหลืองซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้แผลอาจจะอักเสบและบวมโต

ในระยะแรกผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการไข้ แผลคุดทะราดจะพบได้ทั่วร่างกาย มีตุ่มนูนและผิวหนังหนาขึ้น รอยลักษณะหนาคล้ายหนังคางคกบนฝ่ามือและฝ่าเท้าอาจเกิดขึ้นในระยะแรกและระยะสุดท้าย แผลจะหายเองแต่ก็เกิดแผลใหม่ขึ้นอีกในตำแหน่งอื่นได้

ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากจนเดินหรือทำงานไม่ได้ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาส่วนใหญ่จะหายเองได้ในระยะแรก มีประมาณร้อยละ 10 ที่ไม่หายและเข้าสู่ระยะหลังของโรค มีการทำลายของผิวหนังและกระดูก ทำให้เกิดความพิการ โรคคุดทะราดทั้งระยะแรกและระยะหลังอาจหายเอง และอาจกลับเป็นใหม่ได้

 

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค

1.จะเกิดแผลเป็นตุ่มขึ้นคล้ายหูด   ลักษณะแผลแตกต่างจากแผลของโรคเรื้อนและซิฟิลิส

2.ตรวจหาเชื้อจากน้ำหนองของแผล โดยวิธี Dark-Fied examination

3.ตรวจทางน้ำเหลือง ให้ผลบวกต่อ VDRL เหมือนซิฟิลิส

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค
CR. https://www.isglobal.org/en/healthisglobal/-/custom-blog-portlet/pian-como-erradicar-una-enfermedad-del-planeta/1689601/0

 

โรคคุดทะราด รักษา

ใช้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) สำหรับผู้ป่วยและผู้สัมผัสอายุ 10 ปีขึ้นไป โดยฉีดยาเบนซาทีนเพนิซิลลิน จี (Benzathine Penicillin G) ขนาด1.2 ล้านหน่วยเข้ากล้ามครั้งเดียว และเด็กอายุต่ำกว่า10 ปี ใช้ขนาด 0.6 ล้านหน่วย

การรักษาด้วยยาเพนิซิลลิน ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา กลางทวีปอเมริกาใต้ ทวีปเอเชีย และประเทศในหมู่เกาะ แปซิฟิก รวม 46 ประเทศ โดยผู้ป่วยมากกว่า 50 ล้าน ราย ได้รับการรักษาจากการรณรงค์ครั้งนี้ ทำให้โรคคุดทะราดทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่า ร้อยละ 95

โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย แต่โรคคุดทะราดกลับมาปรากฏขึ้นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2523 ในแถบเส้นศูนย์สูตรและตะวันตกของ ทวีปแอฟริกา และพบการติดเชื้อกระจัดกระจายเป็น หย่อม ๆ อยู่ในทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง หมู่เกาะ คาริบเบียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และบางส่วนของ หมู่เกาะแปซิฟิกใต้ เนื่องจากขาดการสนับสนุนทาง ทรัพยากรและทางการเมืองในการกวาดล้างโรคคุดทะราด ต่อมาได้มีความพยายามในการกวาดล้างโรคอีกครั้งใน ปีพ.ศ. 2538 ในบางภูมิภาค แต่ยังขาดการประสานงานใน ระดับนานาชาติอยู่

และในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอินเดียก็ ประกาศว่า ได้กำจัดโรคคุดทะราดให้หมดไปจากประเทศ  ในปัจจุบันความชุกของโรคคุดทะราดในทั่วโลกยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนในประเทศไทยปัจจุบันไม่มี รายงานผู้ป่วยใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน

เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็น โรคคุดทะราด

1.ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างสม่ำเสมอ รักษาความสะอาดของแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

2.ข้าวของเครื่องใช้ควรต้มหรือใส่ยาฆ่าเชื้อก่อนนำไปซักล้างทำความสะอาด        ผ้าพันแผล สำลี ต้องได้รับการฆ่าหรือนำไปเผาทำลาย

 

โรคคุดทะราด การป้องกัน

การควบคุมและป้องกัน โรคคุดทะราดสามารถควบคุมและป้องกัน ได้ดังนี้

การป้องกันก่อนการเกิดโรค

1.ได้โดย ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ให้ทราบถึงการติดต่อของโรค และการป้องกันโดยการรักษาความสะอาดของร่างกาย

2  หมั่นดูแลรักษาสุขภาพ และไม่ใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้ป่วย

 

การควบคุมและป้องกันเมื่อเกิดโรคขึ้น ได้โดย

1. รักษาร่างกายให้สะอาด และทำความสะอาดบาดแผลอย่างดี

2. ทำลายเชื้อโรคโดยต้มภาชนะเครื่องใช้ หรือแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อหรือเผาสำลีและผ้าพันแผลที่เปรอะเปื้อนน้ำเลือด น้ำหนอง

3. เมื่อมีผู้ป่วยควรให้มีการได้รับการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ

4. เมื่อมีแผลควรระมัดระวังในการติดเชื้อจากโรคคุดทะราดและโรคต่างๆ

5. เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคคุดทะราด ควรระมัดระวังในการสัมผัสโรค

 

มาตรการป้องกันโรค 

-มาตรการส่งเสริมสุขภาพทั่วไป ให้ความรู้เรื่องโรคจากเชื้อ Treponema แก่ประชาชนทั่วไป ปรับปรุงสุขาภิบาลให้ดีขึ้น ส่งเสริมสุขนิสัยการใช้สบู่และน้ำส่งเสริมสภาพเศรษฐกิจ และสังคมต่าง ๆ เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรค

-จัดกิจกรรมการควบคุมแบบเข้มในชุมชนที่มีโรคคุดทะราดเป็นโรคประจำถิ่น โดยการตรวจคัดกรองประชากรทั้งหมด และให้รักษาผู้ติดเชื้อทั้งหมดทั้งในระยะไม่แสดงอาการและระยะมีอาการป่วย โดยการรักษาผู้สัมผัสที่ไม่ปรากฏอาการจะมีผลดีที่สุด

-ตรวจหาเชื้อในน้ำเหลืองหาผู้ป่วยระยะที่ไม่แสดงอาการของโรค โดยเฉพาะในเด็ก เพื่อป้องกันโรคกลับมาเป็นใหม่และทำให้เกิดแผลติดเชื้อ เพื่อการควบคุมรักษาการเกิดโรคในชุมชน

-จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการวินิจฉัยโรคและการรักษา โดยจัดทำเป็นโครงการรณรงค์การควบคุมโรคและรวมเป็นแผนบริการสาธารณสุขของท้องถิ่นอย่างถาวร

-ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการที่ผิดปกติของสภาพร่างกายจากโรค

โรคคุดทะราด การป้องกัน
CR. https://news.un.org/en/story/2016/07/534312-feature-eradication-yaws-disease-begins-where-roads-end-within-sight-says-who

มาตรการควบคุมการระบาด 

โครงการรักษาเชิงรุกในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง โดยองค์ประกอบสำคัญของโครงการ ได้แก่

-สำรวจประชากรในชุมชนเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อ

-การรักษาผู้ป่วย รวมไปถึงผู้สัมผัสโรคในครอบครัวและชุมชน โดยดูจากความชุกของโรคคุดทะราดในชุมชน

-สำรวจปีละครั้ง นาน 1 – 3 ปี โดยเป็นกิจกรรมสาธารณสุขในท้องที่ชนบทของประเทศ

 

ปัจจุบันในเมืองไทย โรคคุดทะราดเป็นโรคที่หายสาบสูญไปแล้ว กว่า 20 ปีได้แล้ว ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่คล้าย ๆ กับ โรคซิฟิลิส เพียงแต่ต่างกันตรงที่มันไม่ได้ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่มันติดจากการสัมผัสแผลและน้ำเหลือง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก…
1. https://th.wikipedia.org/wiki/ โรคคุดทะราด
2. http://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay.php?id=202