รางจืด สรรพคุณไทย มีประโยชน์มากมายโด่งดังไปทั่วโลก
อย่างที่รู้กันว่าสมุนไพรไทยมีประโยชน์มากมายโด่งดังไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นของสด แคปซุล สรรพคุณก็มากมายเป็นที่ยอมรับ ส่งออกกันให้วุ่นวายไปหมด ลักษณะเด่น ๆ ก็คือ สรรพคุณทางยาที่แพทย์ทางเลือกนำมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคต่าง ๆ อย่างเช่น รางจืด ที่จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ “สมุนไพรรางจืด” ราชาแห่งการถอนพิษ เป็นสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปเลือกใช้เพื่อใช้แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ สารตะกั่ว ฯลฯ
สมุนไพรรางจืด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า รางเย็น คาย (ยะลา) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์) น้ำนอง (สระบุรี) เป็นต้น ลักษณะของ รางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนอาศัยลำต้นพันรัดขึ้นไป เป็นพืชเขตร้อนจึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้น เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ
รากของรางจืดจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าใบถึง 4-7 เท่า การเลือกใช้รากถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด รางจืด แก้แพ้วัคซีน รางจืดที่จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ รางจืดชนิดเถาดอกสีม่วง ที่สำคัญดินที่นำมาใช้ในการปลูกรางจืดผสมขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น ก็จะช่วยทำให้ต้น รางจืด นั้นมีสรรพคุณทางยาที่มากขึ้น
Table of Contents
ลักษณะของรางจืด
1.ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ
2.ดอกรางจืด ออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกมีสีม่วงอมฟ้า เป็นรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อัน
3.ผลรางจืด เป็นฝักกลม ปลายงอย เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก
สรรพคุณของรางจืด
สมุนไพร รางจืด สมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเราสามารถกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผักได้ โดยจะใช้ลวกกิน แกงกิน ก็ทำได้เหมือนกับผักพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บ้านได้อีกด้วย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ
1.รากและเถาของรางจืดสามารถใช้รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน
2.รางจืดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เถา)
3.ใบและรากของรางจืดมีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ได้
4.ใบรางจืดมีสรรพคุณใช้เป็นยาพอกบาดแผล ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ, ราก)
5.ว่านรางจืดมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้ต่าง ๆ (ใบ, ราก)
6.ช่วยทำลายพิษจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ซึ่งจัดเป็นสารพิษที่ร้ายกาจที่สุดชนิดหนึ่ง ต้องใช้ยารางจืดให้เร็วที่สุดจะได้ผลดี เพราะถ้ายาซึมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากหรือทิ้งไว้ข้ามคืนรางจืดก็จะได้ผลน้อยลง
7.ช่วยแก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชที่เป็นพิษ เช่น แก้พิษจากแมงดาทะเล ปลาปักเป้า โดยสารพิษที่ว่านี้คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสารแก้พิษนี้โดยเฉพาะ การรักษาต้องรักษาแบบประคับประคองอาการ แต่การใช้รางจืดเพื่อรักษาพบว่าเมื่อผ่านไปประมาณ 40 นาทีผู้ป่วยกลับมีอาการดีขึ้นจนน่าประหลาดใจ
8.รางจืดช่วยต่อต้านพิษจากสารตะกั่วต่อสมอง ซึ่งสารตะกั่วนี้ก็มาจากมลพิษจากเครื่องยนต์ โดยพิษจากสารตะกั่วนี้ก็มีผลต่อระบบสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ รางจืดจะไม่ได้ช่วยลดระดับของสารตะกั่วในเลือด แต่มันก็สามารถช่วยลดพิษของสารตะกั่วต่อระบบความจำและการเรียนรู้ได้ สรุปก็คือมันทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลง
9.ช่วยถอนพิษจากยาเบื่อชนิดต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม (เช่น พิษจากผลไม้ที่ติดอยู่ในฝักที่รับประทาน เป็นต้น) รวมไปถึงพิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง ผงจากรากรางจืดสามารถช่วยดูดซับสารพิษชนิดนี้ไว้ได้
10.ช่วยในการลดเลิกยาบ้า รางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้าย ๆ กับฤทธิ์ของแอมเฟตามีนและโคเคน มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนโดพามีนเป็นสารสื่อประสาท หากนำไปใช้ในการรักษาจะทำให้ไม่ต้องทุรนทุรายมากนัก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยลดและเลิกการใช้เสพติดได้
11.รางจืด แก้เมา สรรพคุณช่วยแก้อาการเมาค้าง แก้พิษจากแอลกอฮอล์ สารสกัดด้วยน้ำของรางจืดนั้นสามารถช่วยป้องกันการตายของเซลล์ตับซึ่งเกิดจากพิษของแอลกอฮอล์และช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้
12.รางจืดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวานและความดัน การให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้น และทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว
13.รางจืดมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง สารสกัดน้ำจากใบรางจืดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
14.ช่วยต่อต้านและแก้อาการอักเสบต่าง ๆ เช่น อาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด อีสุกอีใส สารสกัดจากรางจืดในรูปแบบครีมสามารถช่วยลดอาการอักเสบได้ดีเทียบเท่ากับครีมสเตียรอยด์
15.ป้องกันภาวะเป็นพิษต่อตับ เชื่อกันว่ารางจืดช่วยถอนพิษหรือบรรเทาอาการเมาค้างจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้ สรรพคุณในการป้องกันภาวะเป็นพิษต่อตับระหว่างสารสกัดจากรางจืดกับสารไซลิมาริน (Silymarin) ซึ่งเป็นสารพฤกษาเคมีที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและป้องกันพิษต่อตับ
16.สมานแผล ใช้กับผิวหนังช่วยบรรเทาอาการผื่นคันหรือรักษาโรคเริมได้ สารสกัดจากใบรางจืดอาจมีสรรพคุณช่วยเร่งการสมานตัวของแผลบริเวณผิวหนัง ด้วยการลดระยะการอักเสบของแผล และเสริมการสร้างคอลลาเจนและเนื้อเยื่ออ่อนในชั้นผิวหนังเพื่อทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป
วิธีรับประทานรางจืด
ปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพร รางจืด มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แคปซูลรางจืดหรือรางจืดแคปซูล เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการใช้ประโยชน์ ซึ่งมีวิธีบริโภคหลากหลายวิธี เช่น
1.แบบสด ๆ วิธีใช้ประโยชน์จากใบสดรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 10-12 นำมาตำจนละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวประมาณครึ่งแก้ว
2.ว่านรางจืด เพียงนำมาคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และดื่มซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงถัดมา
3.ชารางจืด ใบรางจืดสามารถนำมาหั่นเป็นฝอย ตากลมให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแทนชาได้ ส่วนรสชาติที่ได้ก็ดีไม่แพ้กับใบชาเลยและยังมีกลิ่นหอม ช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย
4.รากรางจืด ใช้ในการรักษาพิษ ใช้ประมาณ 1-2 องคุลี นำรากมาฝนหรือนำมาตำเข้ากับน้ำซาวข้าว แล้วนำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องใช้ซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงเช่นเดียวกับการใช้ใบรางจืด
ทุกวันนี้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองน่าเป็นห่วงมาก มีมลพิษมากมาย รางจืด อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับช่วยขับสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เป็นสมุนไพรไทยที่นิยมนำมาชงดื่มบำรุงสุขภาพ โดยเชื่อกันว่ามีสรรพคุณช่วยขับพิษ บำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ป้องกันภาวะเป็นพิษต่อตับจากสุรา ต้านมะเร็ง ทาสมานแผล บรรเทาอาการจากโรคผิวหนังอย่างเริมหรือผื่นคัน บรรเทาอาการปวดท้องหรือท้องเสียจากการรับประทานอาหารผิดสำแดง และขับสารพิษอันตรายต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในร่างกายเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้
แม้ว่า รางจืด จะมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายในการช่วยขับล้างสารพิษ แต่การนำมาใช้หรือนำมารับประทานก็ควรใช้อย่างพอดีและสมเหตุสมผลคำนึงถึงความเหมาะสมและแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโประจำตัวโรค รางจืด แก้แพ้วัคซีน เพราะการบริโภคน้ำรางจืดติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อตับ ไต และระบบเลือดได้ ดังนั้น healthdoo ควรใช้เป็นครั้งคราวในยามที่จำเป็นหรือเมื่อต้องการที่จะรักษาโรค เมื่อได้ผลหรือหายดีแล้วก็ควรจะหยุดใช้