อาการปวดเมื่อย รบกวนการใช้ชีวิตของคนหลายคน
อาการปวดเมื่อย เป็นอาการที่รบกวนการใช้ชีวิตของคนหลายคน สาเหตุอาจเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก หรือเอ็นกล้ามเนื้อมากเกินไป และใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนั้นซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน ได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ การใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือการที่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน เช่น เวลาใส่เฝือก เป็นต้น ทำให้เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อหดตัว อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีไข้ สามารถบรรเทาโดยการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนและการบริหารร่างกายแบบยึดกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วมีประสิทธิภาพ การฝึกสมาธิบำบัด ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้จิตใจเกิดความสงบ ผ่อนคลาย ลดอาการตึงเครียด กล้ามเนื้อผ่อนคลาย แต่สำหรับคนที่ไม่มีเวลาหรือออกกำลังกายก็มีตัวช่วยที่นิยมกันอย่างมากในตอนนี้ ก็คือ การใช้สมุนไพรช่วย อาการปวดเมื่อย
สำหรับสมุนไพรที่สามารถรักษาการปวดได้มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น สมุนไพรในกลุ่มเครื่องเทศที่มีฤทธิ์ร้อน จะช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี สามารถบรรเทาอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการการบีบตัวของลำไส้ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้เป็นปกติ และยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ร่างกายแข็งแรง
Table of Contents
สาเหตุของอาการปวดเมื่อย
สาเหตุของอาการปวดเมื่อยนั้น สามารถแยกสาเหตุของอาการปวดเมื่อย ได้ 5 สาเหตุ คือ สาเหตุจากกล้ามเนื้อ สาเหตุจากเส้นเอ็น สาเหตุจากเส้นประสาทกดทับ สาเหตุจากข้อกระดูกและสาเหตุจากเส้นเลือด ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุการปวดเมื่อยมี ดังนี้
การปวดเมื่อยสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ หากกล้ามเนื้อของมนุษย์ทำงานหนักมาก ทำให้เกิดอาการล้า และกล้ามเนื้อเกิดการหด เกร็ง ในการปวดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ ที่มีอาการหนักก็จะเป็นกล้ามเนื้อบริเวณหลังศอกและเอว เกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน การยกของหนักในท่ายกที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งและเกิดการอักเสบ หรือฉีกได้
การปวด การเมื่อย ที่มีสาเหตุมาจากเส้นเอ็น อาการปวดจากเส้นเอ็นจะเกิดกับส่วนที่มีการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบ่อย เช่น หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เป็นต้น สาเหตุของการปวดเอ็น คือ อาการอักเสบของเส้นเอ็น
การปวด การเมื่อย จากสาเหตุของเส้นประสาทถูกกดทับ อาการปวดที่มาจากเส้นประสาทจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้าว อาการที่พบบ่อย คือ บริเวณกระดูกคอ สันหลัง นอกจากคอ หลังและเอวแล้ว หากเกิดอาการเส้นประสาททับหมอนรองกระดูก จะเกิดอาการปวดหลังมาก อาการปวดจะร้าวไปถึงขา ต้องพักผ่อนมากๆ
การปวด สาเหตุจากข้อกระดูก ข้อกระดูกที่ทำให้ปวดมากที่สุด คือ ข้อเข้า เนื่องจากอาการข้อเข่ามีเสื่อมได้ง่าย เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีการรับแรงกระแทกมากที่สุด การปวดข้อ นั้นอาจะเกิดได้หลายสาเหตุนอกจากการเสื่อมของข้อกระดูก เช่น โรคเก๊าท์ การติดเชื้อที่ข้อกระดูก โรคอื่น เช่น โรครูมาตอยด์ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การควบคุมอาหาร ช่วยลดอาหารปวดข้อได้มาก
การปวด การเมื่อย สาเหตุจากเส้นเลือด ความผิดปรกติของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง ทำให้ปวดตัว ลักษณะของการปวดจะแตกต่างกันออกไป ต้อเส้นเลือดตีบ ทำให้เลือดเดินทางไปกล้ามเนื้อลำบาก อาการปวด อาการเมื่อย จะเกิดที่กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ ถ้าเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ แต่เลือดไปเลี้ยงขาไม่ได้ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานต่อไปไม่ไหว เกิดอาการปวด และอาการปวดจะค่อยๆลดลงเมื่อเลือดเดินทางได้สะดวก
สมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้ปวกเมื่อย
สมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณแก้ปวด แก้เมื่อย จะเป็นพืชที่มีสรรพคุณด้านการกระตุ้นไหลเวียนของเลือด และ ช่วยผ่อนคลาย มักจะมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยเพิ่มความร้อนให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ ได้ดี เช่น
1.เถาเอ็นอ่อน ถือเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออันดับต้น ๆ ใบนำมาทำเป็นลูกประคบ ด้วยโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาห่อกับผ้าทำเป็นลูกประคบแก้เมื่อยขบ แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น ช่วยคลายเส้นเอ็น และบรรเทาอาการปวดเมื่อย หากนำมาต้มดื่มก็ช่วยบำรุงเส้นเอ็นได้ดีมาก พร้อมทั้งแก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้อาการปวดบวม ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง แก้ขัดยอก
2.โคคลาน เถาเป็นยาเย็นปรุงเป็นยา มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามข้อ บรรเทาอาการเส้นตึง ครั่นตัว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ รวมทั้งยังช่วยบำรุงเลือด แก้กระษัย แก้โรคผิวหนัง
3.ผลแก่ดีปลี ผลแก่จัดใช้ปรุงเป็นยาทาภายนอก แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้ร้อนแดงและช่วยให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ยังมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต ใบดีปลีก็ยังนำมาต้มดื่ม ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย คลายเส้นได้อีกด้วย
4.โด่ไม่รู้ล้ม ใช้รากต้มกับน้ำดื่ม หรือ ใช้ดองเหล้าดื่ม ช่วยแก้อาการปวดบวม คลายเส้น บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือแก้อาหารปวดหลัง ปวดเอวได้เป็นอย่างดี
5.หญ้าหนวดแมว มีสรรพคุณบรรเทาอาการความดันโลหิตและโรคเบาหวาน และยังเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย หรือรักษาโรคปวดข้อ ไขข้ออักเสบได้อีกด้วย
6.ทองพันชั่ง สามารถใช้รักษาไขข้ออักเสบ ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด มือเคล็ด และแก้อาการอักเสบ บำรุงร่างกาย
7.ไพล หัวไพล นำมาฝนแล้วทาบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวม หรือเคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง ช่วยลดอาการอักเสบ ปวดบวม เส้นตึง เมื่อยขบ และแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกายด้วย
8.กลิ้งกลางดง หรือเรียกว่าสบู่เลือด หรือกระท่อมเลือดก็ได้ นอกจากเป็นสมุนไพรช่วยบำรุงกำลังแล้ว ยังเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ด้วยการใช้หัวสบู่เลือดฝานบาง ๆ ประมาณ 2 กำมือ นำมาดองกับเหล้าขาว 1 ขวด แล้วเติมน้ำผึ้งพอประมาณ ดองทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้วเป๊ก ก่อนอาหาร 3 มื้อและช่วงก่อนนอน
9.กวาวเครือแดง ช่วยทั้งบำรุงกระดูกและฟัน ลดอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
10.เถาเมื่อย ตามตำรายาไทยเป็นสมุนไพรที่ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทำให้เส้นเอ็นหย่อน และหากนำมาผสมกับเถาเอ็นอ่อนต้มน้ำใช้ดื่มจะใช้เป็นยาแก้เมื่อยที่ดียิ่งขึ้น
11.เสม็ดแดง จัดเป็นสมุนไพรที่คนมักนิยมใช้ใบสดมาตำแล้วพอกบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ และอาการปวดบวมได้ดีมาก หรือใช้ทำน้ำมันเขียวใช้เป็นยาทาแก้ปวดเมื่อย บวม ทาแก้เคล็ด รักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคปวดข้อรูมาติซั่ม
12.สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ขิง ลูกยอ หอม กระเทียม ตะไคร้ มีสรรพคุณที่กระตุ้นการไหลเวียนทำให้ช่วยคลายปวดเมื่อยและลดการอักเสบได้อย่างปลอดภัย และเมื่อนำใบยอพอกแก้ปวด แก้เคล็ดขัดยอก แก้อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อและโรคปวดในข้อได้ดี
13.ใบบัวบก มาคั้นเป็นน้ำ ก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดอาการร้อนใน และเติมน้ำให้ร่างกายได้อีกด้วย ส่งผลให้ลดอาการปวดเมื่อยด้วย
14.กระดูกไก่ดำ ออกฤทธิ์มีผลแก้ปวด ลดอักเสบ ทำให้หายปวดหลัง สารสำคัญในกลุ่ม Flavonoids (Vitexin และ Apigenin) ออกฤทธิ์ผ่านกลไกเดียวกันกับยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยไปยับยั้งการหลั่งสารที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบหลายชนิด และออกฤทธิ์ที่ Opioid receptor ซึ่งเป็นกลไกเดียวกับมอร์ฟีน แต่มีฤทธิ์ลดปวดน้อยกว่ามอร์ฟีนประมาณ 2 – 5 เท่า
15.การบูร นำมาผสมขี้ผึ้งแล้วทาเป็นยาฤทธิ์ร้อนทาแก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก บวม ข้อเท้าแพลง แก้ปวดไขข้อ แก้ปวดเส้นประสาท สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น ปวดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
16.กานพลู มีสารยูจีนอล มีฤทธิ์เป็นยาชา ช่วยลดอาการอักเสบ และลดการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากโรคข้ออักเสบและโรคไขข้อต่าง ๆ
17.น้ำมันยูคาลิปตัส ใช้ทานวด แก้ปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อ และลดอาการอักเสบ
18.ลาเวนเดอร์ สกัดน้ำมันมาใช้ทานวด มีฤทธิ์ในการแก้อาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยแก้อักเสบ และคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี
19.พิมเสน นำมาทานวด แก้ปวดบวม อักเสบ เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ แก้ปวดเมื่อยและคลายเส้นได้เป็นอย่างดี
20.เพชรสังฆาต ใช้เถาตำละเอียดพอกปริเวณที่ปวด ช่วยแก้อาการปวด อักเสบ จากกล้ามเนื้อและกระดูก และยังช่วยบำรุงกระดูกอีกด้วย
21.งา ใช้เป็นน้ำมันนวดเพื่อแก้ปวดเมื่อยร่างกายและข้อต่อ พร้อมทั้งช่วยบำรุงกระดูกได้เป็นอย่างดี
22.เถาวัลย์เปรียง เถาใช้ต้มกิน ช่วยให้เอ็นผ่อนคลาย คลายเส้น ช่วยรักษาเส้นเอ็นขอด เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวด ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ข้ออักเสบ ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แก้อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และสามารถหั่นตากแห้งแล้วนำมาต้มดื่มเป็นน้ำชาช่วยคลายเส้น แก้อาการเมื่อยขบตามร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อย แก้เหน็บชา
เมื่อมีอาการปวดเมื่อยก็จะทำให้รู้สึกทรมาน ดังนั้นการบรรเทาอาการปวดสามารถทำได้หลายวิธี หนึ่งในหลาย ๆ วิธีนั้นก็มีการใช้สมุนไพรร่วมอยู่ด้วย ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งแบบ ทา พอก รับประทาน ดื่ม หาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย ที่นิยมมากคือการนำมาเป็นยานวด และบางชนิดแค่เอาไว้ทาหรือพอกเอาไว้ก็สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้แล้ว
อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย มักเกิดมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น นั่งนาน เดินนาน ยืนนาน เมื่อเลือดลมไหลเวียนไม่ดี ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามแขน ขา สมุนไพรสามารถแก้ปวดเมื่อยได้ด้วยการช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของระบบเลือด อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีไข้ และ ช่วยผ่อนคลาย ซึ่งในปัจจุบัน healthdoo.today ยิ่งสะดวกมากขึ้น เพราะมีการนำสมุนไพรที่แปรรูปมากมายหลายรูปแบบให้เลือกใช้